ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตร ภูมิศักดิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8242231 สร้างโดย 1.2.149.21 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 16:
|signature=ChitPhumisakSignature.png}}
 
'''จิตร ภูมิศักดิ์''' ([[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2473]] - [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2509]]) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรก ๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบ[[เผด็จการ]]และการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด<ref name="จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์">[http://www.reocities.com/thaifreeman/jit/jit.html], จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์</ref>
 
จิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมต่อต้านการปกครองของเผด็จการทหาร โดยถูกตัวแทนเผด็จการทหารคือกำนันแหลมและพวกอาสาสมัครฝั่งตรงข้ามและเหล่าทหารตำรวจล้อมยิง
บรรทัด 23:
จิตรเป็นบุตรของศิริ ภูมิศักดิ์ กับแสงเงิน ฉายาวงศ์<ref>{{Cite web |url= http://www.oocities.org/thaifreeman/jit/pumisak5.html |title= บิดาและมารดาของจิตร ภูมิศักดิ์|work= สามัญชนบนถนนประชาธิปไตย |date=|accessdate= 16 กุมภาพันธ์ 2558}}</ref> มีชื่อเดิมว่า ''สมจิตร ภูมิศักดิ์'' แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น ''จิตร'' เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]
 
[[พ.ศ. 2479]] จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยัง[[จังหวัดกาญจนบุรี]] และเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปี [[พ.ศ. 2482]] จิตรย้ายมาอยู่ที่[[จังหวัดสมุทรปราการ|สมุทรปราการ]] อีก 7 เดือนบิดาก็ได้รับคำสั่งย้ายไปรับราชการในเมือง[[พระตะบอง]] ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของ[[ประเทศกัมพูชา|กัมพูชา]]) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น
 
[[พ.ศ. 2490]] ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่[[จังหวัดลพบุรี]] ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อใน[[กรุงเทพมหานคร]] โดยจิตรเข้าเรียนที่[[โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร|โรงเรียนเบญจมบพิตร]]หรือ ([[โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร]]ในปัจจุบัน) และสอบเข้า[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] และ[[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ในที่สุด
 
บิดาและมารดาของ จิตร ภูมิศักดิ์ แยกทางกัน หลังจากนั้นหลายปีต่อมาบิดาของ จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้แต่งงานใหม่กับ นางสงวน สร้างครอบครัวใหม่ที่จังหวัดสระบุรี โดยมีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็น หญิง 4 คน และ ชาย 1 คน(คนกลาง)
 
พ่อของจิตร (นายศิริ) เป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าและถือว่าหัวสมัยใหม่มากสำหรับคนในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามาเสมอ เช่น กล้องถ่ายรูป ทรานซิสเตอร์ ฯลฯ และไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก้าวไปพร้อมกับโลกที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว วิศัยทัศน์ที่กว้างไกลของบิดาส่วนหนึ่งเป็นผลทำให้ความคิดของผู้เป็นบุตรมีความก้าวหน้าและเปิดกว้างมากกว่าเด็กในสมัยนั้น
 
== แนวคิดและการต่อสู้ ==
ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี '''[[โยนบก]]''' เมื่อครั้งที่เขาเป็น[[สาราณียากร]] ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี [[พ.ศ. 2496]] ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนาย[[สีหเดช บุนนาค]] [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะวิศวกรรมศาสตร์]]ตั้ง[[ศาลเตี้ย]]จับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี [[พ.ศ. 2497]]
 
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับ[[หนังสือพิมพ์ไทยใหม่]] ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"
 
ปี [[พ.ศ. 2498]] เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่[[วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์]]และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่[[วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร]] จนกระทั่งถูกจับในข้อหา "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์" เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ
 
เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม [[พ.ศ. 2508]] จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับการปกครองด้วยระบบทหาร ในนาม ''สหายปรีชา'' ต่อมาด้วยต่อต้านการคุกคามจากชาวบ้านที่โดนผกคปล้นอำนาจรัฐ จิตรถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ ใน[[บ้านหนองกุง]] [[ตำบลคำบ่อ]] [[อำเภอวาริชภูมิ]] [[จังหวัดสกลนคร]] เมื่อวันที่ [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2509]]<ref name="sarakadee">[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=828 วันนี้ในอดีต: 5 พฤษภาคม], เว็บไซต์นิตยสารสารคดี</ref>
 
== ผลงาน ==
บรรทัด 65:
 
== แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม ==
 
*[http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/2578/2592 ธิกานต์ ศรีนารา. “การกีดกันความเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ ออกจากจิตร ภูมิศักดิ์ หลัง-พคท.” '''วารสารประวัติศาสตร์''' ฉบับพิเศษ 50 ปี เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยลัยศรีนครินทรทรวิโรฒ (2553-2554), น. 76-102.]
*เรย์โนลดส์, เคร็ก เจ. '''ความคิดแหวกแนวของไทย: จิตรภูมิศักดิ์ และโฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน'''. แปลโดย อัญชลี สุสายัณห์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการคำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2561.
เส้น 82 ⟶ 81:
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{อายุขัย|2473|2509}}
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักภาษาศาสตร์ชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักภาษาเขมรชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักโบราณคดีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักปรัชญา]]