ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิเดกิ โทโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 72:
ในปี ค.ศ. 1934 ฮิเดกิได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น [[พลตรี]] และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกบุคคลภายในกระทรวงว่าการสงครามแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น{{sfn|Fredrikson|p=507}} โตโจได้เขียนบทความหนึ่งในหนังสือ ''ฮิโจจิ โคะคุมิน เซ็นชู'' (''บทความในเวลาฉุกเฉินแห่งชาติ''), หนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1934 โดยมีเนื้อหาเสนอและเรียกร้องให้กระทรวงทหารเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศ[[เผด็จการทหาร]]และมีแนวความคิด[[ลัทธิฟาสซิสต์]]แพร่ในหนังสือ{{sfn|Bix|p=277}} นอกจากนี้โตโจยังได้มีแนวคิดที่ชื่นชมแสนยานุภาพของ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ที่มีชัยชนะเหนือรัสเซียในสงครามปี 1904–05 หรือ [[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]] เนื่องจากญี่ปุ่นนับถือลัทธิ[[บูชิโด]]ซึ่งมอบเกียรติยศและศักดิ์ศรีที่เหนือกว่าของญี่ปุ่นในขณะที่ญี่ปุ่นไม่กลัวความตายเหมือนชาวรัสเซียที่ขี้ขลาดและต้องการมีชีวิตอยู่ โตโจเห็นว่าญี่ปุ่นยังคงต้องทำสงครามอีกต่อไปที่ ซึ่งจะต้องระดมกำลังพลทั้งประเทศเพื่อทำสงคราม{{sfn|Bix|p=277}}
 
โตโจได้กล่าวหาโจมตีเหล่าชาติ[[ตะวันตก]] ได้แก่ประเทศ[[อังกฤษ]], [[ฝรั่งเศส]]และ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่เป็นคู่แข่งกับญี่ปุ่นและแอบทำ "สงครามอุดมการณ์" กับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919{{sfn|Bix|p=278}}
โตโจได้เขียนสนับสนุนจบการเขียนบทความของเขาโดยระบุว่าญี่ปุ่นจะต้องยืนสูง ด้วยวิธีการขยายอำนาจอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นไปทั่วโลก{{sfn|Bix|p=277}} ความคิดของเขายังทะเยอทะยานไปถึงการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นต้องส่งทหารเข้าไปขับไล่เหล่าประเทศอาณานิคมของยุโรปตะวันตกออกไปและปลดปล่อยประเทศอาณานิคมในเอเชียให้เป็นอิสระ โดยแทรกอิทธิพลความเป็น[[จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น]]ในเอเชียเข้าแทนที่ชาติตะวันตก มีการริเริ่มความคิดการก่อตั้ง[[วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา]]โดยให้ชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำชาวเอเชียปกครองชาวเอเชียด้วยกัน
==== ทำการรบในจีน====
โตโจได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 24 ของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1934{{sfn|Lamont-Brown|p=65}}
 
เมื่อเกิด[[กรณีมุกเดน]]ซึ่งทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าไปแทรกแซงกิจการในภายในประเทศจีนและ[[การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น|เข้ารุกรานยึดดินแดนแมนจูเรีย]]มาได้สำเร็จ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1935 โตโจเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยตำรวจลับ "[[เค็นเปไต]]" สังกัด[[กองทัพคันโต]]ของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ในทางการเมืองเขาเป็นฟาสซิสต์ชาตินิยมและนิยมทหารจนได้รับฉายาว่า ({{nihongo|"ใบมีดโกน"|カミソリ|คะมิโซะริ}}) สำหรับชื่อเสียงของเขาที่มีจิตใจที่ดุดันโหดร้ายและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเฉียบคม
=== การบริหารประเทศในภาวะสงคราม ===
ฮิเดกิ โทโจ เป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัติดีเด่น เป็นคนดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐาน ของ[[ซามูไร]] เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงทหารบกในรัฐบาลของเจ้าชายโคโนเอะ เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาลโน้มเอียงไปในทางการทำสงคราม เจ้าชายโคโนเอะได้กราบถวายบังคมลาออกจากนายกรัฐมนตรี และ โทโจ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสืบต่อมา อันเป็นการเริ่มต้นของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ด้วยการถล่ม[[เพิร์ลฮาเบอร์]] พร้อม ๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในเวลาต่อ ๆ มา ด้วยชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็นฝ่ายรับหลังยุทธนาวีที่มิดเวย์ ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ ให้ปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้อง เพราะในระหว่างสงครามยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบ แต่เมื่อชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงครามหลังจากยุทธการโอะกินะวะ อันเป็นผลจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่ม[[ฮิโระชิมะ]]และ[[นะงะซะกิ]]<ref>Toland, ibid, p. 873</ref> และการประกาศสงครามต่อ[[ญี่ปุ่น]]ของ[[สหภาพโซเวียต]] เมื่อ[[สหรัฐอเมริกา]]ประกาศให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข โทโจ จึงลาออกและ[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต]]ทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]อย่างไม่มีเงื่อนไข โดยหวังว่าทาง[[สหรัฐอเมริกา]]จะใจกว้างกว่า[[สหภาพโซเวียต]] ช่วง 1 วันก่อนจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข มีความพยายามจากนายทหารฝ่ายขวาจัดบางกลุ่มพยายามก่อการรัฐประหาร เพื่อให้กองทัพสู้ตายและไม่ยอมแพ้แต่ศัตรู ทหารกบฏบางส่วนก็ฆ่าตัวตายหนีความผิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากจักรพรรดิทรงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมแล้ว <ref>[http://www.siamintelligence.com/letters-from-iwo-jima จดหมายจากอิโวจิมา : เสียงกระซิบจากอีกด้านของเหตุการณ์]</ref>