ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความยากจน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Jakarta slumlife31.JPG|thumb|right|300px]]
'''ความยากจน''' เป็นสภาพซึ่งบุคคลขาดการครอบครองทรัพยากรหรือเงิน<ref name=britannica>{{cite encyclopedia|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/473136/poverty|title=Poverty (sociology)|publisher=britannica.com|accessdate=2010-10-24}}</ref> ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) หรือความยากจนข้นแค้น (destitution) หมายถึง บุคคลที่ขาดความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ น้ำจืดและอาหารที่สะอาด โภชนาการ สาธารณสุข การศึกษา เครื่องนุ่งห่มและที่พักอาศัย มีการประเมินว่า ปัจจุบันมีประชากรราว 1,700 ล้านคนอาศัยอยู่ในความยากจนสัมบูรณ์ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) หมายถึง การขาดระดับทรัพยากรหรือรายได้ตามปกติหรือระดับที่สังคมยอมรับเมื่อเทียบกับบุคคลอื่นในสังคมหรือประเทศ ในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ความยากจนถูกมองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกับวิธีการผลิตดั้งเดิมไม่เพียงพอจะให้ประชากรทั้งหมดมีมาตรฐานการครองชีพที่สะดวกสบายได้<ref name=britannica/><ref name="macroeconomics1">Krugman, Paul, and Robin Wells. Macroeconomics. 2. New York City: Worth Publishers, 2009. Print.</ref> หลัง[[การปฏิวัติอุตสาหกรรม]] การผลิตขนานใหญ่ (mass production) ในโรงงานทำให้ความมั่งคั่งราคาถูกลงและเข้าถึงได้มากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้น คือ การทำให้เกษตรกรรมทันสมัย เช่น [[ปุ๋ย]] เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอที่จะเลี้ยงประชากร<ref name=Obama>{{cite news|url=http://www.nytimes.com/2009/07/09/world/europe/09food.html|title=Obama enlists major powers to aid poor farmers with $15 billion|publisher=nytimes.com|accessdate=2011-05-27}}</ref>