ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอง ณ บางช้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
 
==ประวัติ==
พระชนกทอง ณ บางช้าง หรือ ทอง เกิดที่[[บ้านบางช้าง]] [[ตำบลอัมพวา]] [[อำเภอเมืองสมุทรสงคราม]] ในสมัยแผ่นดิน[[สมเด็จพระเพทราชา]] เป็นบุตรของท่านตาเจ้าพรกับท่านยายเจ้าชี ซึ่งเป็นธิดาคนโตของท่านตาเจ้าปะขาวพลาย<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = เทพ สุนทรศารทูล| ชื่อหนังสือ = ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม| URL = | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์พระนารายณ์| ปี = พ.ศ. 2541| ISBN = | จำนวนหน้า = 192| หน้า = 34}}</ref> ต่อมาท่านทองได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง และได้สมรสกับท่านสั้น (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี]]) ทั้งสองก็มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 11 พระองค์ ซึ่งทั้ง 11 พระองค์นั้นทรงบัญญัติให้เรียกว่า'''เจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ 1''' ทั้งสิ้น ได้แก่<ref name="ราชสกุล">{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ
| ชื่อหนังสือ = ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บรรทัด 62:
* เจ้าคุณชายพู
* เจ้าคุณหญิงเสม
*เจ้าจอมมารดามา ใน สมเด็จพระปฐมบรมหาชนก
* [[เจ้าคุณพระราชพันธ์นวล|เจ้าคุณหญิงนวล]] ต่อมาสมรสกับ[[เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)]] ต้นสกุล [[บุนนาค]]<ref>[http://www.bunnag.in.th/history3.html ชมรมสายสกุลบุนนาค]</ref>
* เจ้าคุณหญิงแก้ว ต้นสกุล ณ บางช้าง
 
ภริยาอื่น มีธิดาชื่อ [[เจ้าจอมมารดามา]] สมรสกับใน [[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]]
 
เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มหาดเล็กคอยสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวาย มหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่า มีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีบางช้าง จึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไปสู่ขอต่อบิดา-มารดา ด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองตรีขึ้นต่อเมืองราชบุรีส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโท นายทองและภรรยา ได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อน แล้วนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี (เสม) เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติก่อน ธิดาของนายทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง นายทองสงสารธิดา จึงพร้อมด้วยเจ้าเมือง[[สมุทรสงคราม]] นำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย หลวงพินิจอักษรก็ได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียน แล้วยังไม่มีคู่ครอง หากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่ง เพราะเป็นหญิงอุดมด้วยทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติ ฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนัก ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวัง เมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นดีด้วย จึงได้ทำฎีกากราบทูลว่าธิดาท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรชายของตนเสียเถิด พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาก แต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตา จึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาตให้วิวาห์ได้ตามความประสงค์ ธิดาท่านเศรษฐีทองจึงได้วิวาห์มงคลกับนายทองด้วงมหาดเล็ก ซึ่งต่อมาได้ตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์ หลวงยกบัตรราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม รับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจซ้าย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญ[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ธิดาของนายทองจึงได้เป็นอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์