ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟรีดริช นีทเชอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
}}
'''ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ''' ({{lang-de|Friedrich Wilhelm Nietzsche}}) เป็น[[นักปรัชญา]], นักวิจารณ์วัฒนธรรม, [[คีตกวี]], นักกวี, ปราชญ์ภาษากรีกและละติน และนัก[[นิรุกติศาสตร์]]ชาวเยอรมัน ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อ[[ปรัชญาตะวันตก]]และองค์ปัญญายุคใหม่อย่างล้นหลาม เขาเริ่มทำงานเป็นนักนิรุกติศาสตร์คลาสสิกก่อนจะผันตัวมาเป็นนักปรัชญา นีทเชอเป็นอาจารย์นิรุกติศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดของ[[มหาวิทยาลัยบาเซิล]]ในปีค.ศ. 1869 ด้วยวัยเพียง 24 ปี<ref name=SEP>{{cite web|url=https://plato.stanford.edu/entries/nietzsche/|title=Friedrich Nietzsche|website=Stanford Encyclopedia of Philosophy|first= R. Lanier|last=Anderson|date=17 March 2017|publisher=Metaphysics Research Lab, Stanford University}}</ref> เขาลาออกในปีค.ศ. 1879 ด้วยปัญหาสุขภาพเรื้อรัง<ref>Brobjer, Thomas. ''Nietzsche's philosophical context: an intellectual biography'', p. 42. University of Illinois Press, 2008.</ref> ต่อมาในปีค.ศ. 1889 นีทเซอในวัย 44 ทุกข์ทรมานจากอาการป่วยจนสภาพจิตใจย่ำแย่ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ใช้ชีวิตภายใต้การดูแลของมารดาและพี่สาวจนเขาเสียชีวิตในปีค.ศ. 1900<ref name=matthews>Robert Matthews (4 May 2003), [https://www.telegraph.co.uk/education/3313279/Madness-of-Nietzsche-was-cancer-not-syphilis.html "'Madness' of Nietzsche was cancer not syphilis"], ''[[The Daily Telegraph]]''.</ref>
 
เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 ในหมู่บ้านเริคเคิน (Röcken) ใกล้กับเมือง[[ไลพ์ซิช]] ในมณฑลซัคเซิน [[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]] เป็นบุตรคนโตของคาร์ล ลูทวิช นีทเซอ (Carl Ludwig Nietzsche) บาทหลวงนิกาย[[ลูเทอแรน]] กับนางฟรันซิสคา เออเลอร์ (Franziska Oehler) บิดามารดาตั้งชื่อเขาตามพระนามของ[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย]] ซึ่งมีวันคล้ายวันประสูติตรงกับวันที่เด็กชายนีทเชอเกิด{{Sfn |Kaufmann |1974 |p=22}} เขายังมีน้องอีกสองคนชื่อเอลีซาเบ็ท (Elisabeth) และลูทวิช โยเซฟ (Ludwig Joseph) บิดาของเขาเสียชีวิตในปี 1849 ส่วนน้องชายคนเล็กเสียชีวิตในอีกหกเดือนให้หลังบิดา<ref name="Wicks">{{cite book |url=http://plato.stanford.edu/archives/win2014/entries/nietzsche/ |title=Friedrich Nietzsche |last=Wicks |first=Robert |year=2014 |editor-last=Zalta |editor-first=Edward N. |edition=Winter 2014}}</ref> สมาชิกที่เหลืออยู่จึงย้ายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายแม่ที่เมืองนามบวร์ค (Naumburg)
 
ผลงานของนีทเซอครอบคลุมอยู่ในหลายศาสตร์วิชา ทั้งศิลปศาสตร์, ปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ศาสนา, [[โศกนาฏกรรม]], วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ งานเขียนของเขามีทั้งบทโจมตีเชิงปรัชญา, บทกวี และบทวิจารณ์วัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยคำคมและคำเสียดสี บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของนีทเชอในช่วงแรกคือเหล่านักปรัชญาแถวหน้าทั้งหลายของยุคนั้น เช่น[[อาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์]], [[ริชชาร์ท วากเนอร์]] และ[[โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ]] เป็นต้น<ref name=IEP>Dale Wilkerson. [https://www.iep.utm.edu/nietzsch/ "Friedrich Nietzsche"]. ''[[Internet Encyclopedia of Philosophy]]''. {{ISSN|2161-0002}}. Retrieved 9 April 2018.</ref> งานด้านปรัชญาชิ้นเด่นของนีทเชอมีทั้งบทวิจารณ์สุดโต่งของความเที่ยงแท้ในแบบ[[มุมมองนิยม]] (Perspectivism), บทวิจารณ์เชิงวงศ์ตระกูลของศาสนาและศีลธรรมชาวคริสต์ (Christian morality) ตลอดจนทฤษฎีศีลธรรมของนาย–บ่าว (Master–slave morality)<ref name="iep.utm.edu">"Friedrich Nietzsche," by Dale Wilkerson, ''The Internet Encyclopedia of Philosophy'', {{ISSN|2161-0002}}, http://www.iep.utm.edu/nietzch/{{dead link|date=January 2017|bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}. 14 October 2015.</ref> นีทเชอยังเป็นเจ้าของวลีสุดคมคายที่ว่า '''"พระเจ้าตายแล้ว"''' (''"Gott ist tot"'') เขามองว่าสังคมยุคใหม่ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยหลักธรรมคำสอนอีกแล้ว แต่เป็นวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม แม้แต่ศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น