ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับสัตว์ฟันแทะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35:
 
== ลักษณะทั่วไป ==
[[ไฟล์:Gnagarnas tandsystem, Nordisk familjebok.png|thumb|left|upright|ภาพวาดโครงสร้างฟันของสัตว์ฟันแทะ โดยด้านหน้าของฟันตัดหน้า (incisors) มีชั้นเคลือบฟันที่หนามาก ในขณะที่ด้านหลังมีเนื้อฟันที่นุ่มกว่า ซึ่งทำให้เกิดการซึกกร่องสึกกร่อนของเนื้อฟันตัดหน้าด้านหลังและทำให้ฟันตัดหน้ามีลักษณะคล้ายสิ่ว]]
ลักษณะสำคัญที่จำแนกสัตว์ฟันแทะจากสัตว์อื่นนั้น คือ[[ฟัน|ฟันตัดหน้า]] (incisors) ที่คมและเติบโตเรื่อย ๆ<ref name="MacDonald"/> ตัวอย่างเช่นฟันตัดหน้าของ[[หนูตะเภา]]ซึ่งมีระยะการเจริญเติบโตของฟันตัดหน้า[[ขากรรไกร]]ล่างอยู่ระหว่าง 1.34-1.74 มิลลิเมตรต่ออาทิตย์ ในขณะที่ของฟันตัดหน้าขากรรไกรล่างอยู่ระหว่าง 1.89-2.21 มิลลิเมตรต่ออาทิตย์<ref name=MüllerCodron>{{cite journal|last1=Müller|first1=J. |last2=Clauss|first2=M. |last3=Codron |first3=D. |last4=Schulz |first4=E. |last5=Hummel |first5=J. |last6=Kircher |first6=P. |last7=Hatt |first7=J. M.|title=Tooth length and incisal wear and growth in guinea pigs (''Cavia porcellus'') fed diets of different abrasiveness |journal=Animal Physiology and Animal Nutrition |date=2014 |volume= |pages= |url=https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/jpn.12226 |doi=10.1111/jpn.12226}}</ref> เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา สัตว์อันดับนี้จึงต้องใช้ฟันแทะอย่างสม่ำเสมอเพราะไม่งั้นจะทำให้ฟันนั้นยาวเกินไปและสามารถเจาะผ่าน[[กะโหลก]]ได้ โดยด้านหน้าของฟันตัดหน้าจะมี[[ชั้นเคลือบฟัน]]ที่หนามาก ในขณะที่ด้านหลังมีชั้นเคลือบฟันที่บาง<ref name=UCMP2000>{{cite web |url=http://www.ucmp.berkeley.edu/mammal/rodentia/rodentia.html |title=Introduction to the Rodentia |author=Waggoner, Ben |date=15 August 2000 |publisher=University of California Museum of Paleontology |accessdate=4 July 2014}}</ref> เมื่อฟันตัดหน้าจากขากรรไกรบนและล่างเสียดสีกัน ฟันที่มีชั้นเคลือบฟันที่บางกว่าจะสึกกร่อน ก่อให้เกิดขอบฟันดัดหน้าที่คมและมีลักษณะคล้าย[[สิ่ว]]<ref name="Walker 2003"/> โดยในกรณีฟันตัดหน้าของหนูตะเภา ระยะการสึกกร่อนของฟันตัดหน้าขากรรไกรบนอยู่ระหว่าง 1.09-2.04 มิลลิเมตรต่ออาทิตย์ ในขณะที่ของฟันตัดหน้าขากรรไกรล่างจะอยู่ระหว่าง 1.71-2.08 มิลลิเมตรต่ออาทิตย์<ref name="MüllerCodron"/> สัตว์ฟันแทะส่วนใหญ่มีฟันมากถึง 22 ซี่โดยไม่มีฟันเขี้ยวหรือฟันกรามน้อยที่อยู่ด้านหน้า และจะมีช่องว่าง ([[diastema]]) ระหว่างฟันตัดหน้าและฟันแก้มซึ่งทำให้สัตว์ในอันดับนี้สามารถดูดแก้มหรือริมฝีปากเพื่อที่กำจัดและป้องกันไม่ให้เศษไม้และวัสดุที่กินไม่ได้บาดปากหรือลำคอได้<ref name="Rodents5920">{{cite web|url=http://science.jrank.org/pages/5920/Rodents.html |author=Blashfield, Jean F. |title=Rodents |work=Science Encyclopedia |accessdate=14 July 2014}}</ref> ฟันกรามของ[[ชินชิลลา]]และหนูตะเภาไม่มีรากฟันซึ่งทำให้ฟันนั้นเติบโตเรื่อย ๆ เหมือนกับฟันตัดหน้า เหมาะสมกับอาหารที่เส้นใยอาหารเป็นจำนวนมาก<ref>{{cite book|author=Niemiec, Brook A.|title=Small Animal Dental, Oral and Maxillofacial Disease: A Colour Handbook |url=https://books.google.com/books?id=OsL3UmJk3roC&pg=PA13 |date=15 October 2011| publisher=CRC Press |isbn=978-1-84076-630-1 |page=13}}</ref>
 
สัตว์ฟันแทะส่วนมากมี[[ฟันกราม]]ที่ใหญ่ โครงสร้างที่ประณีต และ[[ปุ่มฟัน]]ที่สูง ซึ่งสามารถเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็กได้<ref name="MacDonald"/> นอกจากนี้แล้วยังมีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรง โดยที่ขากรรไกรล่างจะผลักไปข้างหน้าเมื่อแทะ และดึงไปด้านหลังเมื่อเคี้ยว<ref name=UCMP2000/> กลุ่มของสัตว์ฟันแทะมีความแตกต่างกันในการจัดโครงสร้างของกล้ามเนื้อขากรรไกรและกะโหลก สมาชิกในอันดับย่อย [[Sciuromorpha]] เช่น [[Eastern gray squirrel]] มี[[กล้ามเนื้อแมสซีเตอร์]] (masseter muscle) ที่ใหญ่และลึก ซึ่งเหมาะสำหรับการแทะด้วยฟันตัดหน้า สมาชิกในอันดับย่อย [[Myomorpha]] เช่น หนูบ้าน มี[[กล้ามเนื้อเทมโพราลิส]] (temporal muscle) ที่ใหญ่ เหมาะสำหรับการเคี้ยวด้วยฟันกราม สมาชิกใน[[อันดับย่อยเม่น]]เช่น หนูตะเภา มีกล้ามเนื้อแมซีเทอร์ชั้นนอก (superficial masseter muscle) ที่ใหญ่กว่าและกันมีกล้ามเนื้อแมซีเทอร์ชั้นใน (deep masseter muscle) ที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับหนูหรือกระรอก ซึ่งส่งผลให้การกัดด้วยฟันตัดหน้ามีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน[[กล้ามเนื้อเทอรีกอยด์]]มัดใน (internal pterygoid) ที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถการขยับขากรรไกรทางด้านข้างได้มากขึ้นในขณะเคี้ยว<ref name=CoxJeffery>{{cite journal|last1=Cox|first1=Philip G. |last2=Jeffery|first2=Nathan |title=Reviewing the Morphology of the Jaw-Closing Musculature in Squirrels, Rats, and Guinea Pigs with Contrast-Enhanced MicroCT |journal=The Anatomical Record |date=2011 |volume=294 |pages=915–928 |url=http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/ar.21381/pdf |doi=10.1002/ar.21381}}</ref> กลุ่มย่อยของสัตว์ฟันแทะ เช่น [[หนูจิงโจ้]] [[แฮมสเตอร์]] [[ชิปมังก์]] และ[[โกเฟอร์]] มีกระพุ้งแก้มสองข้างสำหรับสะสมอาหาร<ref name="Duckett1853">{{cite book|first1=W.|last1=Duckett|title=English conversation and reading|publisher=Ed Michel Levi|year=1853|page=3|section=cheek pouch|url=https://books.google.com/books?id=3r8FAAAAQAAJ&pg=PA3&lpg=PA3&dq=espagnol+abajoue&source=web&ots=l_OSTC4rGI&sig=6WfhPYIGCX08erHyf2NAuvNPgSc&hl=fr#PPA3,M1}}</ref> ถึงแม้ว่าสัตว์ฟันแทะใน[[วงศ์ย่อยหนู]]จะไม่มีโครงสร้างนี้แต่ กระพุ้งแก้มยังมีความยืดหยุ่นมากเนื่องจากการถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก<ref name=":0">{{Cite journal|last=Mustapha|first=O.|date=2015|title=Morphology of the Oral Cavity of the African Giant Rat|url=|journal=Bulgarian Journal of Veterinary Medicine|volume=18|issue=1|pages=19–30|doi=10.15547/bjvm.793}}</ref>
 
[[ไฟล์:VolRenderShearWarp.gif|thumb|right|ภาพจำลองหัวกะโหลกของสัตว์ฟันแทะ ([[การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์|CT]])]]
สัตว์ฟันแทะที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ[[หนูเจอร์บัว]] (''MusSalpingotulus minutoidesmichaelis'') โดยที่ตัวโตเต็มวัยจะมีความยาวจากหัวจรดตัวเฉลี่ย 4.4 เซนติเมตรและน้ำหนักของตัวเมียเต็มวัยอยู่ที่ 3.75 กรัม สัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ[[แคพิบารา]] (''Hydrochoerus hydrochaeris'') พบใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] ซึ่งมีน้ำหนักได้มากถึง 66 กิโลกรัมและมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม ในขณะที่น้ำหนักเฉลี่ยของสัตว์ฟันแทะส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 100 กรัมแต่ สัตว์ฟันแทะส่วนมากมีรูปร่างที่อ้วนท้วนและขาที่สั้น<ref name="MacDonald"/> โดยแต่ล่ะขาหน้าจะมี 5 นิ้ว ซึ่งรวมถึงหัวแม่มือที่สามารถจับสิ่งของได้ ในขณะที่แต่ล่ะขาหลังจะมี 3-5 นิ้ว นอกจากนี้แล้วยังมีข้อศอกที่ช่วยให้ขาแต่ล่ะข้างมีความยืดหยุ่นสูง<ref name="Walker 2003">{{cite book |author=Nowak, R. M. |year=1999 |title=Walker's Mammals of the World |publisher=[[Johns Hopkins University Press|Johns Hopkins University Press]] |page=1244 |isbn=0-8018-5789-9}}</ref><ref name="order">{{cite book | title=The Rodent Order | last=Stefoff | first= Rebecca | year=2008 | publisher=Marshall Cavendish | isbn=978-0-7614-3073-5 | pages=62–63, 71–73 | url=https://books.google.com/books?id=7Gle7-L46TYC&pg=PA63 }}</ref> สัตว์ฟันแทะส่วนใหญ่มีลักษณะการเดินด้วยเต็มเท้า ([[plantigrade locomotion]]) และมีกรงเล็บ โดยที่สมาชิกที่ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดินจะมีกรงเล็บที่ยาวและแข็งแรง ในขณะที่กรงเล็บของสมาชิกที่อาศัยอยู่บนต้นไม้จะมีลักษณะสั้นและคม<ref name=" order"/> วิธีการเคลื่อนที่ของสัตว์ในอันดับนี้มีความหลากหลายมาก เช่น [[การเดินด้วยสี่ขา]] วิ่ง ขุดรู ปีน การใช้สองขาเพื่อกระโดด (เช่น [[หนูจิงโจ้]] และ [[Hopping mouse]] ) ว่ายน้ำ และร่อน<ref name="Walker 2003"/> [[Anomalure]] และ[[กระรอกบิน]]สามารถร่อนลงมาจากต้นไม้ได้โดยใช้[[พังผืดสำหรับการร่อน|พังผืด]]ที่ขยายออกมาจากด้านข้างลำตัวที่ติดต่อระหว่างขาหน้าและขาหลัง ([[patagium]])<ref name=aerodynamic>{{cite journal |last=Thorington |first=R. W Jr.|author2=Darrow, K. |author3=Anderson, C. G. |year=1998 |title=Wing tip anatomy and aerodynamics in flying squirrels |journal=Journal of Mammalogy |volume=79 |issue=1 |pages=245–250 |url=http://entomology.si.edu/StaffPages/Darrow/1997WingTipAnatomy.pdf |doi=10.2307/1382860|jstor=1382860}}</ref> สมาชิกใน[[สกุลอะกูติ]] (''Agouti'') สามารถเคลื่อนไหวด้วยนิ้วเท้าได้อย่างรวดเร็วและมีกีบเล็บ หางของสัตว์ฟันแทะส่วนใหญ่มีความหลากหลายทางลักษณะมาก บางชนิดสามารถใช้เพื่อจับหรือหยิบสิ่งของได้เช่น [[Eurasian harvest mouse]] บางชนิดมีขนมากอยู่บนหาง ในขณะที่หางของบางชนิดไม่มีขน หางสามารถใช้เพื่อสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นได้เช่น การที่[[บีเวอร์]]ใช้หางเพื่อตีน้ำหรือการที่หนูสั่นหางตัวเองเพื่อที่จะให้สัญญาณเตือน สัตว์ฟันแทะบางชนิดอาจจะมีโครงสร้างที่หลงเหลือของหางหรือไม่มีหาง<ref name="MacDonald">{{Cite book|author1=Single, G. |author2=Dickman, C. R. |author3=MacDonald, D. W. |contribution=Rodents|year=2001|title=The Encyclopedia of Mammals|edition= 2nd|editor=MacDonald, D. W.|publisher=Oxford University Press|pages=578–587|isbn=978-0-7607-1969-5}}</ref> หางของสัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถโตใหม่ได้ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจจะขาดหายไป<ref name="Walker 2003"/>
 
[[ไฟล์:Chinchilla lanigera 11.jpg|thumb|left|upright|[[ชินชิลลา]]ที่มีหนวดยาว]]
สัตว์ฟันแทะมีประสาทการรับรู้ที่ดี เช่น การมองเห็น การรับฟัง และสายตา สมาชิกส่วนมากที่ออกหากินในเวลากลางคืนจะมีตาที่ใหญ่ และในบางสมาชิกมีตาที่ไวต่อ[[แสงอัลตราไวโอเลต]] สัตว์ฟันแทะส่วนมากมีหนวดที่ยาวและไวต่อการจับต้องหรือตรวจสอบสิ่งรอบข้าง บางสมาชิกมีกระพุ้งแก้มที่อาจจะปกคลุมไปด้วยขน เนื่องจากลิ้นไม่สามารถยื่นถึงฟันตัดหน้าได้ การทำความสะอาดกระพุ้งแก้มสามารถทำได้โดยการขยับให้กระพุ้งแก้มข้างในนั้นออกมาและกลับเข้าไปใหม่ สัตว์ฟันแทะมี[[ระบบย่อยอาหาร|ระบบการย่อยอาหาร]]ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถย่อยและดูดซึมพลังงานได้ถึงร้อยละ 80 จากพลังงานในอาหารทั้งหมด [[เซลลูโลส]]จะถูกกระเพาะอาหารย่อยให้นุ่มลงและส่งต่อไปยังกระเปาะลำไส้ใหญ่ซึ่งมีแบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสต่อ หลังจากนั้นสัตว์ฟันแทะนี้จะ[[กินมูล]] (coprophagy) ของตัวเองเพื่อให้ลำไส้ได้ดูดซึมอาหาร เพราะฉะนั้นมูลของสัตว์ในอันดับนี้จะมีลักษณะแข็งและแห้ง<ref name="MacDonald"/> ในสัตว์ฟันแทะหลายชนิด องคชาติของตัวผู้จะมีกระดูก ([[Baculum]]) ส่วนอัณฑะจะอยู่บริเวณท้องหรือหน้าขา<ref name="Walker 2003"/>
 
[[ความแตกต่างระหว่างเพศนอกเหนือจากอวัยวะเพศ]] (sexual dimorphism) ของสัตว์ฟันแทะสายพันธ์เดียวกันเกิดขึ้นอยู่มากในบางกลุ่มเช่น [[กระรอกดิน]] [[Kangaroo rat|หนูจิงโจ้]] [[Mole rat|หนูตุ่น]] และ[[โกเฟอร์]] ตัวผู้จะมีขนาดร่างกายที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าตัวเมียซึ่งอาจจะเกิดมากจาก[[การคัดเลือกทางเพศ]] (sexual selection) และการต่อสู้เพื่อคู่ผสมพันธุ์ในหมู่สัตว์เพศผู้ ในขณะที่สิ่งตรงข้ามเกิดขึ้นกลับสัตว์ฟันแทะบางชนิด เช่น [[ชิปมังก์]] และ [[Jumping mice]] โดยที่ตัวเมียจะมีขนาดร่างกายที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าตัวผู้ ซึ่งเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์นี้ยังไม่ทราบเป็นแน่ชัด แต่ในกรณีของ[[Yellow-pine chipmunk|ชิปมังก์ Yellow-pine]] ตัวผู้เลือกตัวเมียที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าเพราะว่ามีโอกาสในการสืบพันธุ์ที่สูงกว่า นอกจากนี้แล้วความแตกต่างระหว่างเพศอาจจะมีไม่เหมือนกันในแต่ละประชากรในสัตว์ฟันแทะบางชนิดเดียวกัน เช่น [[หนูนาในกลุ่มโวล]] (Vole) เช่นในกรณีของ[[หนูนาแบงค์]] (Bank vole) โดยทั่วไปตัวเมียจะมีร่างกายที่ใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ทว่าในประชากร ณ เขตภูเขาสูง ตัวผู้มีร่างกายที่ใหญ่มากกว่าตัวเมีย ซึ่งอาจจะมีผลมาจากจำนวนผู้ล่าที่น้อยและการต่อสู้เพื่อคู่ผสมพันธุ์ในหมู่สัตว์เพศผู้ที่น้อยกว่า<ref>{{cite book|author=Schulte-Hostedde, A. I.|year=2008|contribution=Chapter 10: Sexual Size Dimorphism in Rodents|editor1=Wolff, Jerry O. |editor2=Sherman, Paul W. |title=Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective|publisher=University of Chicago Press|pages=117–119|isbn=978-0-226-90538-9}}</ref>
 
== ถิ่นที่อยู่และการแพร่กระจาย ==