ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับสัตว์ฟันแทะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24:
}}
 
'''อันดับสัตว์ฟันแทะ''' ({{lang-en|Rodent}}, [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: Rodentia) เป็นหนึ่งใน[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]ของ[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] ซึ่งเป็นประมาณร้อยละ 40 ของ[[สปีชีส์]]สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะมีถิ่นอาศัยอยู่ในทุกบนหลายทวีปยกเว้น[[ทวีปแอนตาร์กติกา]]
 
วิธีการอยู่อาศัยของสัตว์ฟันแทะสามารถแบ่งมีความหลากหลาย เช่น พวกที่การอาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่อาศัยใต้ดินหรือบนดินอาศัยครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งชนิดของสัตว์ฟันแทะที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ [[หนู]] [[กระรอก]] [[แพรรีด็อก]] [[เม่น]] [[ชิปมังก์]] [[เม่น]] [[บีเวอร์]] [[หนูตะเภา]] [[แฮมสเตอร์]] [[Gerbil|เจอร์บิล]] [[แคพิบารา]] เป็นต้น ในขณะที่[[กระต่าย]] [[กระต่ายแจ็ก]] [[กระแต]] [[ไพกา]] [[อันดับตุ่น|ตุ่น]] และ[[ชูการ์ไกลเดอร์]]ไม่ถูกนับว่าเป็นสัตว์ฟันแทะถึงแม้จะมีรูปลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน และกระต่าย กระต่ายแจ็ก และไพกามีฟันดัดหน้าที่สามารถเติบโตได้เรื่อย ๆ แต่มีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน และมีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ต่างจากสัตว์ฟันแทะ อีกทั้งสัตว์เหล่านี้มีประวัติการวิวัฒนาการที่แตกต่างจากสัตว์ฟันแทะที่แท้จริง จึงได้ถูกจัดให้อยู่ใน[[อันดับกระต่าย]] โดยอันดับกระต่ายและอันดับสัตว์ฟันแทะเป็น "พี่น้อง" ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐานและสร้าง[[เคลด]]ที่มีชื่อ[[กลิเรส]] (Glires)
 
สัตว์ฟันแทะส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ร่างกายที่แข็งแรง ขาสั้น และหางยาว มีฟันตัดหน้าที่คมซึ่งเหมาะสมสำหรับการแทะอาหาร ขุด และป้องกันตัวเอง โดยส่วนมากจะกินเมล็ดหรือวัสดุอื่น ๆ จากพืช ในขณะที่สมาชิกอื่นอาจจะมีความหลากหลายทางอาหาร สัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์สังคมซึ่งอยู่เป็นกลุ่มและมีวิธีการสื่อสารที่ซับซ้อน นอกจากนี้แล้วการผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์ในอันดับนี้มีตั้งแต่แบบ[[ผัวเดียวเมียเดียว]] [[ผัวเดียวหลายเมีย]] และ[[ความสำส่อน|สำส่อน]] ตัวเมียจะออกลูกได้เป็นครอก โดยลูกที่ออกมานั้นได้เติบโตเต็มอาจจะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด
 
ซากฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์ฟันแทะมีอายุตั้งแต่[[สมัยพาลีโอซีน]]บน[[มหาทวีปลอเรเชีย]] สัตว์ฟันแทะมีความหลากหลายของทางชนิดพันธุ์มากของสัตว์ฟันแทะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง[[สมัยอีโอซีน]] โดยมีสาเหตุมาจากการแพร่กระจายไปยังทวีปต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการแพร่กระจายข้ามมหาสมุทร สัตว์ฟันแทะที่มาจาก[[ทวีปแอฟริกา]]เดินทางถึง[[ทวีปอเมริกาใต้]]และ[[มาดากัสการ์]] นอกจากนี้แล้วสัตว์ฟันแทะยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มี[[รก|สายรก]]และอาศัยอยู่บนบกกลุ่มแรกที่มาถึงและแพร่กระจายใน[[ทวีปออสเตรเลีย]]
 
สัตว์ฟันแทะถูกนำมาใช้งานโดยมนุษย์ในหลายด้าน เช่น เสื้อผ้า อาหาร [[สัตว์เลี้ยง]] และ[[สัตว์ทดลอง]] สัตว์ฟันแทะบางชนิด เช่น [[หนูบ้าน]] [[หนูท้องขาว]] [[หนูหริ่งบ้าน]]เป็น[[สัตว์ก่อความรำคาญ]]ที่กัดกินอาหารของมนุษย์หรือแพร่เชื้อโรค เมื่อสัตว์เหล่านี้ถูกนำเข้ามาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น มักจะรุกรานสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นและอาจก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ของ[[สัตว์ท้องถิ่น]]ได้