ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำหนักประถม-นนทบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''ตำหนักประถม-นนทบุรี''' ตั้งอยู่เลขที่ 45/5 ซอยอัคนี (งามวงศ์วาน 2) เป็นตำหนักหนึ่งในวังเพชรบูรณ์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย|สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย]] พระราชโอรสองค์ที่ 72 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 และ[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง|สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ผู้ทรงก่อตั้งโรงเรียนเพาะช่าง ตำหนักนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2462 เดิมอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ ที่ตั้งของเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่าในปัจจุบัน แต่ได้รื้อถอนออกมาเพื่อชะลอมาไว้ที่นนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2527
 
เป็นตำหนักหลังแรกที่สร้างในวังเพชรบูรณ์หลังจากที่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ เสด็จจากประเทศอังกฤษกลับมาประเทศไทย แล้วทรงตั้งชื่อตำหนักตามเพลงไทยว่า "[[โหมโรงปฐมดุสิต]]" ต่อมา[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธิสิริโสภา]] พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯได้ขอพระราชทานรื้อถอนตำหนักบางส่วนเพื่อชะลอมาไว้ที่ซอยอัคนี บนเนื้อที่ 2 ไร่ แถวงามวงศ์วาน แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ในการรื้อนั้นต้องใส่หมายเลขลงไปบนไม้ทุกแผ่นเพื่อความแม่นยำในการนำไปประกอบขึ้นใหม่ ไม้ทุกชิ้นจึงเป็นของเดิมทั้งสิ้นตำหนักประถมนี้สร้างด้วยไม้สักทองทาสีเทาอ่อน ประดับด้วยกระจกสีฟ้าหลังคาใช้กระเบื้องว่าว เป็นอาคารใต้ถุนสูง เป็นแบบพักอาศัยในยุคที่กำลังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในยุคแรกๆ แต่ยังมีหน้าตาแบบไทย มีการวางห้องต่างๆ ให้ติดต่อกันภายใต้หลังคาชัน เพดานสูง มีบานเกล็ดหรือบานกระทุ้งตามหน้าต่างเพื่อระบายความร้อน มีเนื้อที่ใช้สอยอยู่ที่ชั้นสอง ประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขกและห้องน้ำ ยังมีห้องใต้หลังคาชั้นสามซึ่งใช้เป็นที่เก็บของ นอกจากนี้ระหว่างตำหนักใหญ่กับเรือนน้ำหลังเล็กมีซุ้มแปดเหลี่ยมคั่นกลางและสระบัวขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นตำหนักใหม่ใต้ถุนสูงที่ไม่ได้สร้างตามแบบเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์ จุดเด่นของตำหนักใหม่คือ ห้องโถงปิดลายทอง ตำหนักนี้ยังใช้เป็นที่วางฮาร์ฟ(พิณฝรั่ง) ชิ้นประวัติศาสตร์ที่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ทรงนำมาจากอังกฤษอายุกว่าร้อยปี โดยอาจารย์[[สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา]] สถาปนิกอนุรักษ์แห่งมหาวิทยลัยศิลปากร เมื่อเข้าไปสำรวจครั้งแรกได้พบว่าตัวอาคารซึ่งเป็นไม้สักทองนั้น ถึงแม้ภายนอกจะมีลักษณะเก่าคร่ำคร่าเนื่องจากยืนตากแดดตากฝนมากว่า 60 ปี แต่โครงสร้างภายในตลอดจนส่วนประกอบของตัวบ้านยังมีความสมบูรณ์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โครงสร้างที่ต้องซ่อมแซมได้แก่รอยต่อของเสาบางต้นซึ่งชำรุดเพราะความชื้นเท่านั้นเอง
 
{{วังในไทย}}