ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมขุนอินทรพิทักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]อธิบายว่ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระองค์นี้ชะรอยจะเป็นพระญาติวงศ์ฝ่ายพระราชชนกที่ทรงเคารพนับถือมาก<ref name="นิธิ">''การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี'', หน้า 66</ref> สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนแต่มิได้เป็นเจ้าฟ้า พระประวัติของพระองค์ไม่เป็นที่ปรากฏนัก และไม่ทราบพระนามเดิมก่อนการสถาปนา<ref name="วิจารณ์2">''พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์)'', หน้า 80</ref> [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่าเจ้านายพระองค์นี้คงชราภาพ หลังเป็นเจ้าแล้ว กรมขุนอินทรพิทักษ์ทรงดำรงพระชนม์ใน[[กรุงธนบุรี]]อย่างเงียบ ๆ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปีวอกอัฐศก จ.ศ. 1138 หลัง[[กรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)]] ปีหนึ่ง ในพีธีพระราชทานเพลิงพระศพใช้พระเมรุเดียวกับเจ้านราสุริวงษ์แต่เผาก่อน<ref name="วิจารณ์"/> โดยพระราชทานเพลิงในวัน {{จันทรคติ|วัน=๑|ขึ้น=๑๑|เดือน=๓}} ค่ำ หลังเสร็จสิ้นงานพระเมรุแล้ว จึงแห่พระอัฐิกลับ พระอัฐิใส่พระราเชนทร พระอังคารใส่คานหามพระอัฐิขึ้นท่า[[วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร|วัดท้ายตลาด]]<ref name="วิจารณ์2"/> สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงนำอัฐิของกรมขุนอินทรพิทักษ์ไปเก็บไว้ใน[[พระราชวังเดิม|พระราชวัง]]อันแสดงถึงความเคารพและสนิทสนม<ref name="นิธิ"/><ref name="วิจารณ์2"/>
 
หลังจากนั้นเวลาล่วงไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้สถาปนาเจ้าจุ้ยพระราชโอรสขึ้นเป็นเจ้าฟ้า และรับพระนามกรมของกรมขุนอินทรพิทักษ์พระองค์แรกไปเป็นเจ้ากรม มีพระนามว่า[[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์]]<ref name="วิจารณ์2"/>
 
== อ้างอิง ==