ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แร้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบแร้งทั้งหมด 5 [[สปีชีส์|ชนิด]] โดยแบ่งเป็นแร้งอพยพ 2 ชนิด คือ [[แร้งดำหิมาลัย]] (''Aegypius monachus'') และ [[แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย]] (''Gyps himalayensis'') แร้งประจำถิ่น 3 ชนิด คือ [[พญาแร้ง]] (''Sarcogyps calvus''), [[Gyps indicus|แร้งสีน้ำตาล]] (''Gyps itenuirostris'') และ[[แร้งเทาหลังขาว]] (''G. bengalensis'') ซึ่งทุกชนิดเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด
 
แร้งชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุด คือ [[Gymnogyps californianus|แร้งแคลิฟอร์เนีย]] (''Gymnogyps californianus'') หรือ แร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นแร้งในวงศ์แร้งโลกใหม่ โดยที่แร้งชนิดนี้เคยเกือบสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ ในปี [[ค.ศ. 1986]] มีแร้งชนิดนี้เหลืออยู่เพียงแค่ 5 ตัว ในธรรมชาติเท่านั้น ส่วนแร้งประจำถิ่นไทยในปัจจุบันนี้ มีโครงการเพาะพันธุ์พญาแร้งเพื่อฟื้นฟูประชากรในถิ่นอาศัยที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การ[[สวนสัตว์|สวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์]] และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<ref name=":0">ช่วยแร้งเชิงรุก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1442482</ref> อีกทั้งยังมีการจัดทำแหล่งอาหารโดยจัดหาซากสัตว์ที่ปลอดจากยาต้านอักเสบไดโคลฟีแนค ให้แร้งสีน้ำตาลหิมาลัยกินเป็นอาหารในฤดูหนาว เรียกว่า "ร้านอาหารแร้ง" (Vulture restaurant หรือ feeding station) ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครนายก โดยกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย<ref>Thai Raptor Group www.facebook.com/ThaiRaptorGroup.TRG</ref> และงานวิจัยนกนักล่าและอายุรศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และกองทุนวิจัยนกนักล่าเพื่อการอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร ์ ร่วมกับชมรมอนุรักษ์นกเหยี่ยวปากพลี และกลุ่มถ่ายภาพนกและธรรมชาติ Bird Home <ref>ร้านอาหารแร้ง https://adaymagazine.com/condor-restuarant/</ref> <ref>Feeding stations for near-threatened HImalayan Vultures http://www.birdsofthailand.org/content/feeding-stations-near-threatened-himalayan-vultures</ref><ref name=":0" />
 
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แร้ง"