ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
55
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2403:6200:8862:7F72:8457:1B1F:D655:9600 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Geonuch
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล กฎหมาย
| ชื่อเต็ม =
| ภาพ = ทรงลงพระปรมาภิไธยรธน60.png
| ขนาดภาพ = 350px
| บรรยายภาพ = สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]
| ผู้ตรา = [[รัฐบาลไทย]]
|ผู้ลงนาม =[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]]
|ผู้ลงนามรับรอง =พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<br>(นายกรัฐมนตรี)
|ชื่อร่าง = ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|ผู้ยกร่าง = คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
|วันลงนาม =6 เมษายน 2560
|วันลงนามรับรอง =6 เมษายน 2560
|วันประกาศ=6 เมษายน 2560 <br> <small>([[ราชกิจจานุเบกษา]] [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF เล่ม ๑๓๔/ตอน ๔๐ ก/หน้า ๑/๖ เมษายน ๒๕๖๐])</small>
|วันเริ่มใช้ =6 เมษายน 2560
|ท้องที่ใช้ ={{flag|ประเทศไทย}}
| กฎหมายที่เกี่ยวข้อง =[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม
}}
 
'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' เป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557–2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] [[พระราชวังดุสิต]] กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ
 
สืบเนื่องจาก[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] และการยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านมา]] ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดแรก จำนวน 36 คน ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด มี[[บวรศักดิ์ อุวรรณโณ]] เป็นประธาน<ref name="Laws14"/> แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯ<ref name="LawsCancel"/> ทำให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และมี[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] เป็นประธาน<ref name="Laws15"/> โดยนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจาก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] โดยได้รับเสียงเห็นชอบท่วมท้นถึง 16.8 ล้านเสียง ต่อเสียงคัดค้าน 10.5 ล้านเสียง<ref>[http://www.bbc.com/thai/39491973 กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20]</ref>
 
== ประวัติ ==
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]กระทำ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557|รัฐประหาร]] และยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] ต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557]] ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน สรรหามาจาก[[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] [[คณะรัฐมนตรีไทย|คณะรัฐมนตรี]] และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ และกำหนดให้คณะกรรมมาธิการฯ ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [[เทียนฉาย กีระนันทน์]] ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการฯ ซึ่งมี[[บวรศักดิ์ อุวรรณโณ]] เป็นประธาน<ref name="Laws14">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/222/1.PDF ประกาศสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 30 มกราคม 2559</ref>