ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโทที่ 1 มหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ดยุค" → "ดยุก" ด้วยสจห.
บรรทัด 49:
== ประวัติศาสตร์ก่อนหน้า ==
 
หลังจักรพรรดิชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 814 จักรวรรดิของพระองค์ถูกแบ่งออก จักรพรรดิคนท้ายๆ ของราชวงศ์การอแล็งเฌียงมีอำนาจเพียงแค่ในอิตาลีเหนือและอิตาลีกลาง เบเรงการ์แห่งฟรีอูลี จักรพรรดิคนสุดท้ายของราชวงศ์การอแล็งเฌียงถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 924 ตำแหน่งจึงตกเป็นของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ตะวันออกที่ต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี ในปี ค.ศ. 919 ดยุคของบรรดาดยุกในเยอรมนีได้เลือกไฮน์ริชพรานล่านก ดยุคดยุกแห่งซัคเซินได้รับเลือกเป็นกษัตริย์และสกัดกั้น[[ชาวฮังการี|ชาวแมกยาร์]], [[ชาวสลาฟ]] และ[[ชนเดนส์|ชาวเดน]]ไว้ได้
 
== ก่อนครองบัลลังก์ ==
อ็อทโทเป็นพระโอรสของ[[พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1]] แห่งลิวดอลฟิงหรือราชวงศ์ซัคเซิน (ขณะนั้นยังไม่เป็นกษัตริย์) กับ[[แมธิล์เดอแห่งริงเงินเฮล์ม|แมธิล์เดอ]] พระมเหสีคนที่สอง ข้อมูลชีวิตช่วงวัยเด็กของพระองค์มีไม่มาก แต่เชื่อกันว่าพระองค์น่าจะเคยร่วมทำศึกกับพระเจ้าไฮน์ริชอยู่หลายครั้งในช่วงปลายวัยรุ่น ในปี ค.ศ. 930 อ็อทโทสมรสกับ[[อีดจิธแห่งเวสเซ็กซ์ สมเด็จพระราชินีแห่งเยอรมนี|อีดจิธ]] พระธิดาของ[[เอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสแห่งอังกฤษ]] อีดิธให้กำเนิดพระโอรสหนึ่งคนกับพระธิดาหนึ่งคน คือ
 
* ลิวดอล์ฟ (ประสูติ ค.ศ. 930) ดยุคดยุกแห่งชวาเบิน สิ้นพระชนม์ก่อนพระบิดา
* ลิวต์การ์ด (ประสูติ ค.ศ. 932<ref>Schutz, Herbert (2010). ''The Medieval Empire in Central Europe: Dynastic Continuity in the Post-Carolingian Frankish Realm, 900–1300''. Cambridge Scholars Publishing. pp. 41–70, p. 41.</ref>) สมรสกับค็อนราท เคานต์แห่งลอแรน
 
บรรทัด 60:
[[ไฟล์:Aachener Dom BW 2016-07-09 13-53-18.jpg|thumb|ภาพมุมข้างของบัลลังก์ชาร์เลอมาญใน[[อาสนวิหารอาเคิน]]ที่พระเจ้าอ็อทโทเข้ารับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 936]]
 
พระเจ้าไฮน์ริชประกาศให้อ็อทโทเป็นผู้สืบบัลลังก์ของพระองค์ หนึ่งเดือนต่อมาพระเจ้าไฮน์ริชสิ้นพระชนม์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 936 ดยุคดยุกของเยอรมนีได้เลือกอ็อทโทเป็นกษัตริย์ พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากอาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์และอาร์ชบิชอปแห่งโคโลญที่[[อาเคิน]] นครซึ่งเคยเป็นที่พำนักโปรดของ[[ชาร์เลอมาญ|จักรพรรดิชาร์เลอมาญ]] พระองค์มีพระชนมายุ 23 พรรษาขณะขึ้นเป็นกษัตริย์
 
== กษัตริย์แห่งเยอรมนี ==
[[ไฟล์:Central Europe, 919-1125.jpg|left|thumb|[[ยุโรปกลาง]]ในช่วงปี ค.ศ. 919–1125 [[ราชอาณาจักรเยอรมนี]]ประกอบด้วย[[ดัชชีซัคเซิน]] (เหลือง), [[ดัชชีฟรังโกเนีย]] (ฟ้า), [[ดัชชีบาวาเรีย]] (เขียว), [[ดัชชีชวาเบิน]] (ส้ม), [[ดัชชีลอแรน]] (ชมพูที่เหลือ)]]
 
กษัตริย์หนุ่มต้องการที่จะขึ้นมามีอำนาจเหนือเหล่าดยุคดยุกซึ่งพระบิดาของพระองค์ไม่เคยทำได้ นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในทันที เอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังโกเนีย, เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรีย และกลุ่มชาวซัคเซินผู้ไม่พอใจที่มีแธงค์มาร์ พระเชษฐาต่างมารดาของพระเจ้าอ็อทโทเป็นผู้นำเริ่มกระด้างกระเดื่องในปี ค.ศ. 937 แต่ถูกพระเจ้าอ็อทโทกำราบเรียบอย่างรวดเร็ว แธงค์มาร์ถูกสังหาร เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรียถูกปลดจากตำแหน่ง ส่วนเอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังโกเนียยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์
 
แต่การสวามิภักดิ์ของเอเบอร์ฮาร์ดเป็นเพียงการแสดงตบตา ในปี ค.ศ. 939 เขาได้ร่วมกับกิเซลแบร์ตแห่งโลธาริงเกียและ[[ไฮน์ริชที่ 1 ดยุคดยุกแห่งบาวาเรีย|ไฮน์ริช]] พระอนุชาของพระเจ้าอ็อทโทก่อกบฎต่อพระเจ้าอ็อทโทโดยมี[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส]]ให้การสนับสนุน ครั้งนี้เอเบอร์ฮาร์ดถูกสังหารในสมรภูมิ ส่วนกิเซลแบร์ตจมน้ำเสียชีวิตขณะกำลังหนี ไฮน์ริชยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์และพระเจ้าอ็อทโทเองก็ให้อภัย ไฮน์ริชที่ยังคงคิดว่าตนเองคือคนที่พระบิดาอยากให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สมคบคิดวางแผนฆาตกรรมพระเจ้าอ็อทโทในปี ค.ศ. 941 แผนการถูกเปิดโปงและทุกคนที่ร่วมกันสมคบคิดถูกลงโทษยกเว้นไฮน์ริชที่ได้รับการให้อภัยอีกครั้ง ความเมตตาของพระเจ้าอ็อทโททำให้ไฮน์ริชภักดีต่อพระเชษฐานับตั้งแต่นั้นมาและในปี ค.ศ. 947 พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่งดยุคดยุกแห่งบาวาเรีย ตำแหน่งดยุคดยุกของเยอรมนีตำแหน่งอื่นๆ ตกเป็นของเหล่าพระญาติของพระเจ้าอ็อทโท
 
ในช่วงที่การแก่งแย่งชิงดีภายในดำเนินอยู่นั้น พระเจ้าอ็อทโทได้เสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันและได้ขยายขอบเขตอาณาจักรของพระองค์ ทรงปราบ[[ชาวสลาฟ]]ทางฝั่งตะวันออกและได้พื้นที่ส่วนหนึ่งของเดนมาร์กมาอยู่ใต้การปกครอง ทรงตั้งตำแหน่งบิชอปในดินแดนดังกล่าวเพื่อผนึกความเป็นเจ้าประเทศราชของเยอรมนีในดินแดนนั้น โบฮีเมียสร้างปัญหาให้แก่พระเจ้าอ็อทโท แต่พระองค์ก็บีบเจ้าชายโบลสวัฟที่ 1 ให้ยอมจำนนได้ในปี ค.ศ. 950 และบังคับให้จ่ายบรรณาการให้แก่พระองค์ เมื่อฐานในบ้านเกิดแข็งแกร่ง พระเจ้าอ็อทโทไม่เพียงกำจัดการอ้างสิทธิ์ในโลธาริงเกียของฝรั่งเศสได้ แต่พระองค์ยังเข้าไปเป็นตัวลางไกล่เกลี่ยปัญหาภายในของฝรั่งเศสด้วย