ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วชิรพยาบาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
[[ไฟล์:วชิรพยาบาล อาคารวชิรนุสรณ์ 1910s.jpg|thumb|left|อาคารวชิรนุสรณ์]]
 
วชิรพยาบาลเดิมเป็นเดิมเป็นบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย สรรพการ) โดยประกอบด้วย หลังใหญ่เป็นตึก 3 ชั้น (ปัจจุบันคือ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล) และ หลังเล็กเป็นตึก 2 ชั้น ทั้ง 2 หลังเป็นตึกแบบโบราณพื้นไม้สัก บริเวณทั่วไปมีทั้งที่ราบเนินดินสูง อุโมงค์ ภูเขาจำลอง โขดหิน ต้นไม้ใหญ่น้อยประดับประดาเป็นจำนวนมาก และมีทั้งทางคดเคี้ยวไปมาแบบเดินในสวนสาธารณโบราณ สถานที่นี้ปรากฏในเอกสารบางฉบับ เรียกชื่อว่า “หิมพานต์ปาร์ค” ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิของ[[ธนาคารไทยพาณิชย์|แบงค์สยามกันกัมมาจลทุนจำกัด]]<ref>[http://www.vajira.ac.th/b/index.php/vjr-info?id=28 ประวัติคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล]</ref>
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จขึ้นครองสมบัติ พระองค์ทรงคำนึงถึงโบราณราชประเพณีที่[[พระมหากษัตริย์]]จะทรงสร้างพระอารามไว้เป็นเครื่องเฉลิมพระราชศรัทธาและเพื่อให้เป็นสถานที่สถิตย์แห่งภิกษุสงฆ์เป็นผู้ค้ำจุนพระบวรพุทธศาสนาให้ถาวรอยู่เพื่อประโยชน์แห่งผสกนิกร แต่เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์นั้นมีพระอารามภายในพระนครอยู่มาก ครั้นจะสร้างเพิ่มอีกก็จะเกินความจำเป็นในการทะนุบำรุงพระศาสนา ดังนั้น พระองค์ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อพระราชทานให้เป็นสาธารณสถานดังพระกระแสรับสั่งตอนหนึ่งว่า
 
{{คำพูด|''" บัดนี้โรงพยาบาลอันนี้ ก็ได้ตกแต่งขึ้นพร้อมแล้ว เราขอให้นามว่า '''วชิรพยาบาล''' และขอมอบที่นี้ไว้เป็นสาธารณสถาน เป็นสมบัติสิทธิ์ขาดแก่ประชาชนชาวไทย ”''}}
บรรทัด 28:
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 โดยให้กรมสุขาภิบาล [[กระทรวงนครบาล]] (พัฒนาเป็น[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ในเวลาต่อมา) เป็นผู้ปกปักรักษา พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "วชิรพยาบาล"
 
ในขั้นต้นที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการวชิรพยาบาลนั้น ตามหลักฐานปรากฏว่าผู้ที่มาเป็นแพทย์ประจำคนแรกคือ หมอติลลิกี (Dr. Tilleke) ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสามเสน สังกัดกรมศุขาภิบาลสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ตั้งอยู่เชิงสพานแดงสะพานแดง (ตรงถนนสุโขทัยด้านแม่น้ำเจ้าพระยามีสพานสะพานแดงต่อจากถนนยื่นลงแม่น้ำ) โรงพยาบาลสามเสนนี้ จากหลักฐานที่ปรากฏ ได้ช่วยเหลือวชิรพยาบาลในคราวตั้งตัวอยู่มาก ทั้งตัวแพทย์และเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เมื่อหมอติลลิกีมาเป็นผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ได้สละเครื่องมือแพทย์ ยาต่าง ๆ ครุภัณฑ์ เครื่องแก้ว เครื่องมือตรวจเชื้อ เช่น กล้องจุลทรรศน์ เครื่องปั่นโลหิตและปัสสาวะตลอดจน เตียงตรวจ เตียงผ่าตัดและของใช้เบ็ดเตล็ด เพื่อเป็นสาธารณกุศลใช้ในวชิรพยาบาลในวันพิธีเปิดป้ายโรงพยาบาล ส่วนเตียงผู้ป่วยภายในนั้นยืมเตียงนายทหารชั้นนายพันจากกรมยกกระบัตรกระทรวงกลาโหมมาสมทบชั่วคราวจำนวน 20 - 30 เตียงเพื่อให้ทันกำหนดเปิดโรงพยาบาล
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยมี[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นองค์ประธานการวางระเบียบการโรงพยาบาลเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชดำริ<ref>https://mahidol.ac.th/temp/document/prabida/missive.pdf</ref> โดยในปี พ.ศ. 2472 ทรงวางโครงการให้วชิรพยาบาลเป็นศูนย์กลางการศึกษาของกรมสาธารณสุข และได้ทรงวางแบบแปลนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมในการขยายวชิรพยาบาล<ref>https://www.slideshare.net/ssriboonsong/20-51189071</ref>
 
วชิรพยาบาลได้เจริญสืบมาเป็นลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี [[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เป็นแหล่งศึกษาชั้นคลินิกของนิสิตแพทย์ [[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] และ ในปี พ.ศ. 2536 [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ได้จัดตั้ง '''วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร''' ขึ้นโดยให้วชิรพยาบาลเป็นแหล่งศึกษาชั้นคลินิกนักศึกษาแพทย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันในชื่อ "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล"