ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิอานันทมหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kripitch (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมลิงค์ข้อมูล
Chachawan Krungsanthia (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
* แผนกอักษรศาสตร์
* แผนกทันตแพทยศาสตร์
* แผนกสัตวแพทยศาสตร์มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิอานันทมหิดล
* แผนกสัตวแพทยศาสตร์
 
 
ความเป็นมา
 
มูลนิธิอานันทมหิดล เป็นมูลนิธิที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งขึ้น ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยในสวัสดิภาพ และความเป็นอยู่ของพสกนิกร ทรงตระหนักว่าราชอาณาจักรต้องมีผู้เชี่ยวชาญในวิชาการชั้นสูง จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่ใผ่ใจในการศึกษา ที่ได้แสดงความสามารถอย่างยอดเยี่ยมให้ได้มีโอกาสไปศึกษาวิชาการชั้นสูงบางวิชา ณ ต่างประเทศ โดยทรงหวังในพระราชหฤทัยว่า เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว จะได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาการที่ศึกษามา ด้วยพระราชดำริตามนัยที่กล่าวนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทดลองดำเนินการไปก่อนด้วย “ทุนอานันทมหิดล” เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘
 
ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยให้เปลี่ยนสภาพจาก “ทุน” เป็น “มูลนิธิ” ชื่อว่า มูลนิธิอานันทมหิดล โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรก จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เป็นการจัดตั้งมูลนิธิฯ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช ได้พระราชทานแก่พระองค์ตลอดมา อนึ่ง โดยที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ เพื่อทรงนำวิชาการนั้นกลับมาทำประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติ อีกทั้งได้ทรงจัดและพระราชทานทุนแก่นักศึกษาแพทย์ ให้ได้ศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ กอปรกับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ก็ทรงสนพระราชหฤทัยส่งเสริมกิจการแพทย์ของไทย และได้พระราชทานพระราชปรารภในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร และอนุปริญญาบัตรแก่ผู้จบหลักสูตรแพทย์พยาบาล ณ ศิริราชพยาบาล เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ว่าต้องพระราชประสงค์ให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน อันเป็นผลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ขึ้น ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังนั้น เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้ง “ทุนอานันทมหิดล” ขึ้นแล้ว ก็ได้พระราชทานทุนแก่นักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์เป็นประเดิม และต่อมาได้เพิ่มสาขาวิชาอื่น ๆ ขึ้นอีก
 
สาขาวิชาที่พระราชทานทุน
 
ในปัจจุบันการพระราชทานทุนสนับสนุนการศึกษาในแผนกวิชาต่างๆ แบ่งเป็น ๘ แผนก คือ
แผนกแพทยศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒
แผนกวิทยาศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒
แผนกเกษตรศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
แผนกธรรมศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖
แผนกอักษรศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
แผนกทันตแพทยศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕
แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
* ๒๕ กันยายน ๒๕๐๒ แผนกวิทยาศาสตร์ (รวมสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้วย)
 
* ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๔ แผนกวิทยาศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
 
* ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ แยกสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จากแผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยจัดตั้งแผนกวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นแผนกที่ ๘
 
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
 
ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาชั้นสูง ด้วยการพระราชทานทุน ให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย ผู้มีคุณสมบัติดีเด่นทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ แล้วนำกลับมาถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง เป็นการรับใช้ชาติบ้านเมือง ตลอดจนช่วยในการพัฒนาประเทศ
พระราชทานทุนช่วยเหลือในการประกอบวิชาชีพ หรือเพื่อค้นคว้าแก่ผู้ได้รับพระราชทานทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วกลับมาทำงานในประเทศไทย และได้แสดงความสามารถดีเยี่ยม มีคุณธรรมและความประพฤติดีเป็นกรณีๆ ไป
จัดตั้งสถาบันค้นคว้าทางวิชาการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับพระราชทานทุนที่สำเร็จการศึกษาและกลับมาทำงานในประเทศไทย ได้ค้นคว้าทางวิชาการต่อไป
ร่วมมือกับสถาบันอื่นที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน เพื่อให้การสนับสนุนทางวิชาการเป็นไปอย่างกว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น
มูลนิธิอานันทมหิดล | อะต้อม/อะตรอม (A'TROM/atom) 00:23, 8 เมษายน 2562 (+07)
 
== อ้างอิง ==