ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
*[[ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)]]
*มหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช
*พระยาชาติเดชอุดม ( ม.ร.ว.โป๊ะ มาลากุล )
*ม.ร.ว.เปี๊ยะ มาลากุล
*ม.ร.ว.ปึก มาลากุล
ในวัยเยาว์ พระบิดาได้ถวายตัวพร้อมกับพี่น้องทั้งหมดให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ [[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงพระกรุณาฯส่งไปศึกษาในขั้นแรกที่[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]] และต่อมาที่ Higher Technological School ณ [[ประเทศญี่ปุ่น]] โดยส่งไปพร้อมกับบุคคลดังมีรายพระนามและรายนามต่อไปนี้
*ม.จ.พงษ์ภูวนารถ ทวีวงศ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศํกดิ์
*ม.ร.ว.โป้ย มาลากุล
*นายเจริญ สวัสดิ-ชูโต ( ภายหลังเป็น มหาเสวกตรี พระยานรเทพปรีดา )
*นายเสริม ภูมิรัตน ( ภายหลังเป็น หลวงประกาศโกศัยวิทย์ )
*นางสาวขจร ( ท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา )
*นางสาวพิศ ( นางประกาศโกศัยวิทย์ พิศ ภูมิรัตน )
*นางสาวนวล
*นางสาวหลี ( คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์ )
ทั้งหมดนี้นับเป็นนักเรียนญี่ปุ่นรุ่นแรกของประเทศไทย
 
บรรทัด 48:
*พ.ศ. 2496 เป็นประธานกรรมการพิจารณาจัดวางแผนผังดัดแปลงและซ่อมทำพระราชฐาน
 
ในราชการพิเศษที่ได้กล่าวมานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ ในปี พ.ศ. 2493 ได้เป็นผู้อำนวยการ งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ,พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและงานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย รัชกาลที่ 1 สำหรับทรงรับน้ำอภิเษก ( น้ำที่ได้พลีกรรมประกอบการพิธีแล้ว ) ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นด้วย
 
นอกจากหน้าที่ในพระราชสำนักแล้ว ยามว่าง พระยาเทวาธิราช จะเพลิดเพลินอยู่กับการสะสมวัตถุโบราณและหาความรู้ในหนังสือจากห้องสมุดภายในบ้านของท่าน ซึ่งได้รับพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ถนนประแจจีน ( บ้านเลขที่ 408 สี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว)และเขียนบทความสารคดีต่างๆ เกี่ยวกับประเพณีทั้งใน-นอกวัง อาทิ
*พระราชประวัติสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
*ราชาภิสดุดี
บรรทัด 64:
*บทสนทนา เรื่อง "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ฯลฯ
 
ที่สำคัญที่สุด คือได้รับพระเมตตาจาก[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ให้เขียน[[จดหมาย]]ทูลถามความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีโบราณ โต้ตอบกับพระองค์ท่าน ทำนองเป็นจดหมายเวรติดต่อเป็นเวลาหลายปี ซึ่งมีบุคคลเพียงไม่กี่ท่านที่จะได้รับพระเมตตาเช่นนี้
 
นอกจากการแสวงหาความรู้จากหนังสือแล้ว พระยาเทวาธิราช ยังมีความสามารถในการถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ จนถึงได้เป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในบ้านของท่านจะมีห้องสำหรับล้าง[[ฟิล์ม]]โดยเฉพาะ 1 ห้อง รวมถึงห้องฉายภาพยนตร์ด้วย สำหรับภาพยนตร์ที่ท่านสร้างและกำกับมี 2 เรื่องคือ เจ้าหญิงกุณฑลทิพย์และถลางพ่าย
 
ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเนื่อง มาลากุล มีบุตร 1 คนคือ
 
*ม.ล.ปีย์ มาลากุล