ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีพี ออลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20:
เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด ได้รับสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า[[เซเว่น อีเลฟเว่น]]จาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา จึงเริ่มดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จากนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด และได้เปิดสาขาแรกที่ซอย[[พัฒน์พงษ์]] ต่อมาปี 2537 จัดตั้งบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ปี 2539 จัดตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี ในปี 2541 จัดตั้ง Lotus Distribution Investment Limited และในปีนี้เองที่ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในชื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)<ref name="รายงานประจำปี 2560"/>
 
ปี พ.ศ. 2545 ได้ร่วมมือกับ บริษัท [[ปตท.]] จำกัด ในการเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จนปี 2550 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ในระบบการซื้อขาย จาก CP7-11 มาเป็น CPALL ต่อมาปี 2556 เข้าซื้อกิจการ บริษัท [[สยามแม็คโคร]] จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง<ref name="รายงานประจำปี 2560"/> การซื้อกิจการสยามแม็คโครเพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) และสินค้าผลิตผลทางการเกษตร อาหารแช่แข็งและอาหารสดของไทย ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/501847 ซีพีออลล์ทุ่ม 1.8 แสนล้านซื้อแม็คโครรับ AEC] กรุงเทพธุรกิจ</ref> ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทมีสาขาทั้งสิ้น 10902 สาขา<ref>[https://brandinside.asia/cpall-financial-report-q3-2018/ CPALL ไตรมาส 3/18 ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมเติบโต 1.8% แต่รายได้รวมยังเติบโตดี]</ref>
 
==เซเว่น อีเลฟเว่น==