ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีพี ออลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22:
ปี พ.ศ. 2545 ได้ร่วมมือกับ บริษัท [[ปตท.]] จำกัด ในการเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จนปี 2550 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ในระบบการซื้อขาย จาก CP7-11 มาเป็น CPALL ต่อมาปี 2556 เข้าซื้อกิจการ บริษัท [[สยามแม็คโคร]] จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง<ref name="รายงานประจำปี 2560"/> การซื้อกิจการสยามแม็คโครเพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) และสินค้าผลิตผลทางการเกษตร อาหารแช่แข็งและอาหารสดของไทย ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/501847 ซีพีออลล์ทุ่ม 1.8 แสนล้านซื้อแม็คโครรับ AEC] กรุงเทพธุรกิจ</ref> ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทมีสาขาทั้งสิ้น 10902 สาขา<ref>https://brandinside.asia/cpall-financial-report-q3-2018/</ref>
 
==ประเภทของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น==
===ประเภท===
[[Image:7-Eleven by the side of route 340 south of Suphan Buri.jpg|thumb|เซเว่น อีเลฟเว่นที่จังหวัดสุพรรณบุรี]]
เซเว่น อีเลฟเว่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะความเป็นเจ้าของ คือ<ref name="รายงานประจำปี 2560"/>
เส้น 28 ⟶ 29:
* ร้าน Store Business Partner (SBP) เป็นร้านที่ทางบริษัทช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุน โดยเลือกจากเซเว่น อีเลฟเว่นของทางบริษัทที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว หรืออาจทำธุรกิจในทำเลของตัวเอง โดยระยะเวลาอนุญาตให้ดำเนินการร้านและผลประโยชน์ตอบแทน ขึ้นอยู่กับประเภทของ SBP
* ผู้ประกอบการรับสิทธิ์ช่วงในอาณาเขต เป็นร้านที่บริษัททำสัญญาอนุญาตให้สิทธิ์ช่วงแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น เฉพาะใน 4 จังหวัดได้แก่ [[ภูเก็ต]] [[ยะลา]] [[เชียงใหม่]] และ[[อุบลราชธานี]] โดยผู้รับสิทธิ์ช่วงจะรับผิดชอบการเปิดสาขาและบริหารร้าน
===การตลาด===
เซเว่น อีเลฟเว่น ในยุคแรกมีรูปแบบเป็น[[มินิมาร์ต]] คือเน้นขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารมากกว่า ในช่วง 20 สาขาแรก ได้มีการลงทุนเองโดยการซื้อตึกมาเปิดสาขาเอง แต่หลังจากนั้นหันมาใช้วิธีการเช่าแทนจึงทำให้สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว หลังจากปี พ.ศ. 2533 ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การใช้ระบบแฟรนไชส์ และซับแอเรียไลเซนซ์ ถือเป็นที่แรกในโลกที่ใช้ระบบซับแอเรียไลเซนซ์<ref name="brandage">[http://www.brandage.com/article/9336/7-Eleven 5 จุดเปลี่ยนเซเว่น อีเลฟเว่น ก่อนที่จะเป็นเบอร์ 1 แบบแกร่งทั่วแผ่น]</ref> เมื่อขยายได้เกิน 400 สาขา ทำให้บริษัทผ่านจุดคุ้มทุน จึงมีเงินเหลือในการลงทุนด้านต่าง ๆ เพื่อเข้ามาสนับสนุนการทำตลาด เช่น เปิดสถาบันปัญญาภิวัฒน์ เพื่อพัฒนาทีมงานด้านค้าปลีกโดยเฉพาะ<ref name="brandage"/>
 
สัดส่วนสินค้าแบ่งเป็นสินค้ากลุ่มอาหารและของสดเป็นร้อยละ 70 และสัดส่วนสินค้าทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 30 สินค้าที่วางขายในร้าน จัดเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้อยละ 50 หรือราว 2 พันราย จากจำนวนผู้จัดหาสินค้า 4 พันราย และมีจำนวนสินค้าจากผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีมากกว่า 25,000 รายการ ดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ขายดี คือ สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรต่าง ๆ<ref>[https://www.brandbuffet.in.th/2017/08/seven-eleven-sme-management/ “แล็บการตลาดของ SME” ทำความรู้จักอีกหนึ่งบทบาท ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น]</ref>
 
==นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้น==