ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราโมทย์ นาครทรรพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ครอบครัว ==
ศาสตราจารย์ ปราโมทย์ นาครทรรพ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นบุตรชายของ[[อ้วน นาครทรรพ]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี]] 2 สมัย และสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย]] น้องชายของนาวาตรี [[ฐิติ นาครทรรพ]] เลขาธิการ[[พรรคสามัคคีธรรม]] กับนางประดู่ นาครทรรพ และเป็นพี่ชายของ[[นิตินัย นาครทรรพ]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย]] 3 สมัย มีศักดิ์เป็นอาของนาวาเอก [[อนุดิษฐ์ นาครทรรพ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ และ[[ชมพูนุท นาครทรรพ]] ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย พรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2550 และ 2554<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=150824 สานฝัน 'ชมพูนุท นาครทรรพ' "นามสกุล..การันตีแล้ว 50%" จากโอเคเนชั่น]</ref> <ref>[http://ericsirote.blogspot.com/2011/08/ict.html ประวัติ ที่มาของ "นาครทรรพ" ตระกูลสังคมนิยมประชาธิปไตย ของ อนุดิษฐ์ รมว. ICT]</ref>
 
== บทบาททางการเมือง ==
ศ.ดร.ปราโมทย์ เป็นนักวิชาการรัฐศาสตร์ และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] ได้รับแต่งตั้งเป็น[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/A/171/1.PDF พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]</ref> เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และเคยร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง คือ [[พรรคพลังใหม่]] โดยรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค
 
ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอ[[นายกรัฐมนตรี]]พระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]]<ref>[http://www.sereechai.com/demo/news.php?no=840 นายกรัฐมนตรีพระราชทาน]</ref>
{{wikisource|ฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน}}
 
== กรณีแผนฟินแลนด์ ==
{{ดูเพิ่มที่|แผนฟินแลนด์}}
ในปี พ.ศ. 2549 ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นผู้อ้างในงานสัมมนาที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ว่า พันตำรวจโท [[ทักษิณ ชินวัตร]] เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนฟินแลนด์ หรือปฏิญญาฟินแลนด์ ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับธนา เบญจาธิกุล ทนายความจากพรรคไทยรักไทย ได้ยื่นฟ้อง[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] บรรณาธิการ, ขุนทอง ลอเสรีวานิช คอลัมนิสต์, ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้บริหาร, เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรงค์ และเว็บมาสเตอร์ ปัญจภัทร อังคสุวรรณ ในข้อหาหมิ่นประมาท การฟ้องร้องมีเนื้อหากล่าวหาว่าบทความดังกล่าวมีเจตนาทำลายพรรคไทยรักไทยและอนาคตทางการเมืองของทักษิณโดยการทำให้สาธารณชนเชื่อว่าพรรคมีแผนการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การฟ้องร้องดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และอ้างว่า ทักษิณพยายาม[[การตรวจพิจารณาในประเทศไทย|เซ็นเซอร์สื่อ]]{{อ้างอิง}}
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.1747/2549 ที่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องสนธิและพวกเป็นจำเลยรวม 11 คน โดยมีความเห็นว่า แม้จะมีการกล่าวถึงปฏิญญาฟินแลนด์ แต่ไม่มีการยืนยันว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะมีจริงหรือไม่ ซึ่งแม้การกล่าวเสวนาของจำเลยจะใช้ถ้อยคำที่เกินเลยไปบ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะของการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต และโจทก์เป็นบุคคลสาธารณะ ตัดสินยกฟ้องจำเลยทั้ง 11 ราย<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20090325/27783/%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87.html "ยกฟ้อง สนธิหมิ่นทักษิณเปลี่ยนการปกครอง"]</ref>