ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
หลังจากพระองค์สวรรคตในค.ศ. 936 พระราชโอรสองค์ที่สองของพระองค์ก็ได้ขึ้นครองบัลลังก์สืบต่อเป็น [[จักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|พระเจ้าออทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี]] ซึ่งต่อมาพระราชโอรสองค์นี้ได้ขึ้นเป็น[[จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในค.ศ. 962
 
<br />
 
== วัยเยาว์และการสมรส ==
<br />
[[ไฟล์:StammtafelOttonen0002.jpg|left|thumb|ภาพผังเครือญาติของ[[ราชวงศ์อ็อทโท|ราชวงศ์ออทโท]]แสดงให้เห็นถึงลูกหลานของพระเจ้าไฮน์ริชกับมาทิลดา]]
ไฮน์ริชเป็นบุตรชายของออทโทผู้ลือเลื่อง ดยุคแห่ง[[ดัชชีซัคเซิน|ซัคเซิน]]และเป็นพระปนัดดาของของ[[จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา|จักรพรรดิลุดวิจผู้ศรัทธา]] ทรงได้รับการศึกษาและได้รับการฝึกฝนเพื่อสืบทอดตำแหน่งเป็นดยุคแห่งซัคเซินต่อจากบิดา พระองค์สมรสครั้งแรกกับแฮเธอบวร์ค ธิดาของเอร์วิน เคานต์แห่ง[[เมร์เซบวร์ค]] แต่การสมรสถูกประกาศให้เป็นโมฆะเนื่องจากเฮร์เธอบวร์คได้บวชเป็นชีหลังจากสามีคนแรกเสียชีวิต แฮเธอบวร์คกับไฮน์ริชมีบุตรด้วยกัน คือ
 
* แธงค์มาร์ (เกิด ค.ศ. 908) ต่อมาได้ก่อกบฏต่อ[[อ็อทโทที่ 1 มหาราช|ออทโท]] น้องชายต่างมารดาและถูกสังหารในปี ค.ศ. 938 ในสมรภูมิ
 
 
ในปี ค.ศ. 909 ไฮน์ริชสมรสกับมาทิลดา ธิดาของเคานต์ดีทริคผู้ครอบครองเวสต์ฟาเลีย ซึ่งช่วยให้ดยุคแห่งซัคเซินมีอำนาจในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น ไฮน์ริชกับมาทิลดามีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ
 
* [[เฮดวิจแห่งซัคเซิน ดัชเชสของชาวแฟรงก์|เฮดวิจ]] (ประสูติ ค.ศ. 910) สมรสกับ[[อูกมหาราช]] ดยุคแห่ง[[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก|ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก]] ทรงเป็นมารดาของ[[พระเจ้าอูก กาแป]]แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส)
* [[อ็อทโทที่ 1 มหาราช|ออทโทมหาราช]] (ประสูติ ค.ศ. 912) ดยุคแห่งซัคเซิน, กษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก|ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก]] และจักรพรรดิแห่ง[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]
* [[เกร์เบร์กาแห่งซัคเซิน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|เกร์เบร์กา]] (ประสูติ ค.ศ. 913) สมรสครั้งแรกกับกีเซลเบิร์ต ดยุคแห่ง[[ดัชชีลอแรน|ลอแรน]] ต่อมาสมรสครั้งที่สองกับ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส]]
* [[ไฮน์ริชที่ 1 ดยุคแห่งบาวาเรีย|ไฮน์ริช]] (ประสูติ ค.ศ. 919) ดยุคแห่งบาวาเรีย
* [[บรูโนมหาราช|บรูโน]] (ประสูติ ค.ศ. 925) อาร์ชบิชอปแห่ง[[โคโลญ]], ดยุคแห่งลอแรน และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
 
<br />
 
== ดยุคแห่งซัคเซินและกษัตริย์แห่งเยอรมนี ==
<br />
[[ไฟล์:BildHeinrich.jpg|thumb|ภาพพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ในพงศาวดารของ[[จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 5]] โดยนักพงศาวดารนิรนาม ปี ค.ศ. 1112/14]]
ปี ค.ศ. 912 หลังบิดาถึงแก่กรรม ไฮน์ริชขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นดยุคแห่งซัคเซิน พระองค์กับ[[พระเจ้าค็อนราทที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าค็อนราทที่ 1]] มีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนัก พระเจ้าค็อนราทพยายามปราบกบฏไฮน์ริชแต่ก็ไม่เป็นผล การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเหนือ[[รัฐทือริงเงิน|ทือริงเงิน]] อาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ติดกับซัคเซินและ[[ฟรังโกเนีย]] (ดัชชีของค็อนราท) สงบลงด้วยสนธิสัญญาโกรนา ปี ค.ศ. 915
 
 
อย่างไรก็ดีก่อนหน้าที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นาน ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้าค็อนราทได้กำหนดให้ไฮน์ริชเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ ไฮน์ริชได้รับการสดุดีเป็นกษัตริย์ที่ฟริตซลาร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 919 พระองค์ไม่ยอมรับการสวมมงกุฎจากคณะบิชอปเพราะต้องการรักษาความเป็นเอกราชจากคริสตจักร ทรงปกครองสหพันธ์ดัชชีที่ต่างก็มีเอกราชเป็นของตัวเองซึ่งประกอบด้วยสี่ดัชชีสำคัญ คือ ซัคเซิน, ฟรังโกเนีย, [[รัฐบาวาเรีย|บาวาเรีย]] และ[[ชวาเบิน]] พระองค์มีอำนาจเหนือซัคเซินและฟรังโกเนีย แต่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์จากบาวาเรียและชวาเบิน
 
 
พระเจ้าไฮน์ริชมองเยอรมนีเป็นสหพันธ์ดัชชีมากกว่าประประเทศชาติ แม้พระองค์จะต้องการกอบกู้พระราชอำนาจที่ถูกดยุคของดัชชีต่างๆ ลิดรอนไป แต่ก็ทรงยินยอมให้ดยุคเหล่านั้นปกครองดัชชีของตนเอง ในปี ค.ศ. 919 ทรงบีบจนเบอร์ชาร์ด ดยุคแห่งชวาเบินยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจ แต่ก็ยินยอมให้เบอร์ชาร์ดบริหารปกครองดัชชีของตนต่อไป ในปีเดียวกันขุนนางของบาวาเรียและราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกได้เลือกอาร์นูล์ฟ ดยุคแห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี พระเจ้าไฮน์ริชได้ทำการสู้รบกับดินแดนทั้งสองและบีบจนอาร์นูล์ฟยอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจในปี ค.ศ. 921 แต่ก็ยินยอมให้อาร์นูล์ฟบริหารปกครองดัชชีบาวาเรียของตนต่อไปเช่นกัน
<br />
 
== การขยายอำนาจ ==
<br />
[[ไฟล์:Central Europe, 919-1125.jpg|left|thumb|ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกในปี ค.ศ. 919–1125 ประกอบด้วย ดัชชีซัคเซิน (สีเหลือง), ดัชชีฟรังโกเนีย (สีฟ้า), ดัชชีบาวาเรีย (สีเขียว), ดัชชีชวาเบิน (สีล้มอ่อน) และดัชชีลอแรน (สีชมพู)]]
พระเจ้าไฮน์ริชมุ่งมั่นกับการสร้างอำนาจในซัคเซินและขยายขอบเขตอำนาจของพระองค์เข้าสู่ลอแรน (โลธาริงเกีย) ทรงล้มเหลวในการพยายามที่จะปลดดยุคกีเซลเบิร์ตแห่งลอแรนที่มี[[พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาร์ลส์ผู้เรียบง่าย]] กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกคอยให้ความช่วยเหลือ แต่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกตามสนธิสัญญาโบนน์ ปี ค.ศ. 921 ในปี ค.ศ. 923 พระเจ้าไฮน์ริชพยายามเข้าสู่ลอแรนอีกครั้งแต่ก็ถูกรูดอล์ฟ ดยุคแห่งบูรกอญขับไล่จนต้องล่าถอยไป ในปี ค.ศ. 925 พระองค์พยายามเป็นครั้งที่สามด้วยการปิดล้อมกีเซลเบิร์ตที่ซูปิช บีบจนเขายอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจแต่ก็ยินยอมให้กีเซลเบิร์ตบริหารปกครองดัชชีของตนต่อไป ในปี ค.ศ. 928 กีเซลเบิร์ตได้สมรสกับเกร์เบร์กา พระธิดาของพระเจ้าไฮน์ริช
<br />
[[ไฟล์:Heinrich I. kämpft gegen die Ungarn.jpg|thumb|ภาพพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ต่อสู้กับชาวแมกยาร์ในพงศาวดารโลกของซัคเซิน ปี ค.ศ. 1270]]
พระเจ้าไฮน์ริชได้คุ้มกันซัคเซินและทือริงเงินจากการรุกรานของ[[ชนเดนส์|ชาวเดน]], [[ชาวเวนด์]] และ[[ชาวฮังการี|ชาวแมกยาร์]] ในปี ค.ศ. 924 กลุ่มคนเถื่อนชาวแมกยาร์ได้รุกรานเยอรมนี พระเจ้าไฮน์ริชยอมจ่ายบรรณาการและคืนตัวผู้นำแมกยาร์ที่ถูกจับมาเป็นตัวประกันเพื่อแลกกับการให้ชาวแมกยาร์เลิกรุกรานดินแดนเยอรมันเป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 924 ถึง ค.ศ. 933 ในช่วงเวลาดังกล่าวพระองค์ได้ปฏิรูปการทหารในซัคเซินและทือริงเงิน ทหารซัคเซินถูกฝึกให้สู้รบบนหลังม้า กองทัพที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทำให้พระองค์สามารถยึด[[รัฐบรันเดินบวร์ค|บรันเดินบวร์ค]]มาจากมาจากชาวเวนด์ พระองค์ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางอำนาจในซัคเซินด้วยการสร้างป้อมปราการล้อมนครสำคัญอย่างเมร์เซอบวร์ค, [[เฮร์สเฟล์ด]], [[กอสลาร์]], [[กันเดร์ไซม์]], [[เควดลินบวร์ค]] และ[[พืลเดอ]] ที่กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า, ตุลาการ, สังคม และการทหาร ดินแดนที่แย่งชิงมาจากชาวเวนด์ถูกแจกจ่ายเป็นที่ดินศักดินาให้แก่ผู้ติดตามและข้ารับใช้
 
 
ในช่วงปี ค.ศ. 928 ถึง ค.ศ. 932 พระไฮน์ริชขยายอำนาจออกไปทางตะวันออกสู่ดินแดนของ[[ชาวสลาฟ]]และได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารราชการที่บรันเดินบวร์คและ[[ไมเซิน]] ในปี ค.ศ. 929 ทรงเข้าสู่โบฮีเมียและบีบจน[[วาสลัฟที่ 1 ดยุกแห่งโบฮีเมีย|พระเจ้าวาสลัฟ]]ยอมอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์เยอรมันและยอมจ่ายบรรณาการรายปีให้ หลังการพักรบ 9 ปีกับชาวแมกยาร์สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 933 พระเจ้าไฮน์ริชไม่ยอมจ่ายบรรณาการต่อ การรุกรานของชาวแมกยาร์จึงเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้พระเจ้าไฮน์ริชสามารถบดขยี้ผู้รุกรานได้ที่เรียเดอในเดือนมีนาคม ค.ศ. 933 นับแต่นั้นการคุกคามเยอรมนีของชาวแมกยาร์ก็เป็นอันสิ้นสุดลง
 
 
สงครามสุดท้ายของพระเจ้าไฮน์ริชคือการรุกรานอาณาเขต[[รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์|ชเลสวิช]]ของเดนมาร์กจนได้ดินแดนดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี
<br />
 
== การสิ้นพระชนม์ ==
 
 
หลังล้มป่วยด้วยโรคอัมพาตพระเจ้าไฮน์ริชได้กำหนดให้ออทโท พระโอรสคนโตเป็นกษัตริย์คนต่อไปและเรียกขุนนางที่ที่[[แอร์ฟวร์ท]]ในช่วงต้นปี ค.ศ. 936 เพื่อให้เลือกเขาเป็นกษัตริย์ วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 936 พระเจ้าไฮน์ริชสิ้นพระชนม์ที่เมมเลเบิน ร่างของพระองค์ถูกฝังที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในเควดลินบวร์คที่พระองค์เป็นผู้ก่อตั้ง
<br />
==อ้างอิง==
 
* [https://www.encyclopedia.com/people/history/german-history-biographies/henry-i-germany Henry I: Encyclopedia.com]
* [https://www.thoughtco.com/henry-i-of-germany-1788988 Henry I of Germany: Henry the Fowler: ThoughtCo.]
* [https://www.britannica.com/biography/Henry-I-king-of-Germany Henry I KING OF GERMANY: Britannica]
 
* Bachrach. David S. "Restructuring the Eastern Frontier: Henry I of Germany, 924-936," ''Journal of Military History'' (Jan 2014) 78#1 pp 9–36
* Gwatkin, H. M., Whitney, J. P. (ed) et al. The Cambridge Medieval History: Volume III. Cambridge: Cambridge University Press, 1926.