ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มดาวนายพราน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กลุ่มดาวมีหลายดวง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
<br />
 
== รายชื่อดาวในกลุ่ม ==
กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์สว่างเป็นสมาชิกอยู่มาก มีดาวฤกษ์ในตำแหน่งหลักทั้งสิ้น 8 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
* [[ดาวเมสสา|λ Ori]] (ดาวเมสสา) เป็นดาวส่วนหัวของนายพราน มีความส่องสว่างปรากฏ 3.54
* [[ดาวบีเทลจุส|α Ori]] (ดาวบีเทลจุส) อยู่ที่ไหล่ขวาของนายพราน เป็นดาวยักษ์แดงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าวงโคจรของ[[ดาวอังคาร]] แม้จะได้รหัสว่า อัลฟา (α) แต่ระดับความสว่างก็ยังเป็นรองแก่ดาวไรเจล มีความส่องสว่างปรากฏ 0.42 (แปรแสงได้ระหว่าง 0.3-1.2)
* [[ดาวเบลลาทริกซ์|γ Ori]] (ดาวเบลลาทริกซ์) อยู่ที่ไหล่ซ้ายของนายพราน มีความส่องสว่างปรากฏ 1.64
* [[ดาวอัลนิแทค|ζ Ori]] (ดาวอัลนิแทค), [[ดาวอัลนิลัม|ε Ori]] (ดาวอัลนิลัม) และ [[ดาวมินทาคา|δ Ori]] (ดาวมินทาคา) ประกอบกันเป็นแนวเส้นที่เป็นที่รู้จักว่า "เข็มขัดของนายพราน" (Orion's Belt) ซึ่งเป็นจุดสังเกตค้นหากลุ่มดาวได้อย่างง่ายที่สุด มีความส่องสว่างปรากฏ 2.00 ,1.70 ,2.23 ตามลำดับ
* [[เอต้า โอไรอัน|η Ori]] (เอต้า โอไรอัน) อยู่ระหว่างดาวมินทาคากับไรเจล มีความส่องสว่างปรากฏ 3.42
* [[ดาวไซฟ์|κ Ori]] (ดาวไซฟ์) อยู่ที่เข่าขวาของนายพราน มีความส่องสว่างปรากฏ 2.09
* [[ดาวไรเจล|β Ori]] (ดาวไรเจล) อยู่ที่เข่าซ้ายของนายพราน เป็นดาวสีน้ำเงินขาวขนาดใหญ่ที่สว่างมากที่สุดดวงหนึ่งบนท้องฟ้า มีดาวในระบบดาวสามดวงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีความส่องสว่างปรากฏ 0.12
* [[ดาวฮัตซย|ι Ori]] (ดาวฮัตซยา) อยู่ที่ตำแหน่งยอดดาบของนายพราน มีความส่องสว่างปรากฏ 2.77
เช่นเดียวกับดาวฤกษ์สว่างดวงอื่นๆ ชื่อ บีเทลจุส ไรเจล ไซฟ์ อัลนิแทค มินทาคา อัลนิลัม ฮัตซยา และเมสสา มีต้นกำเนิดมาจากคำใน[[ภาษาอาsiy[]]
 
== การระบุตำแหน่งดาวอื่น ==
[[ไฟล์:Orion-guide dark.svg|thumb|left|200px|การใช้กลุ่มดาวนายพรานเพื่อค้นหาดาวอื่นใกล้เคียง]]
 
กลุ่มดาวนายพรานมีประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ค้นหาตำแหน่งของดาวอื่นๆ เมื่อลากเส้นจากแนวเข็มขัดนายพรานออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จะพบ[[ดาวซิริอุส]]ใน[[กลุ่มดาวสุนัขใหญ่]] ถ้าลากต่อออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ จะพบ[[ดาวอัลดิบาแรน]] เส้นตรงที่ลากผ่านไหล่ทั้งสองข้างของนายพรานออกไปทางตะวันออกจะชี้ไปยังตำแหน่งของ[[ดาวโปรซิออน]]ใน[[กลุ่มดาวสุนัขเล็ก]] ถ้าลากเส้นจากดาวไรเจลผ่านดาวบีเทลจุสต่อออกไปจะพบ[[ดาวคาสเตอร์]]กับ[[ดาวพอลลักซ์]]ใน[[กลุ่มดาวคนคู่]] นอกจากนี้ ดาวไรเจลยังเป็นดาวสมาชิกดวงหนึ่งของ[[วงกลมฤดูหนาว]] ส่วนซิริอุสและโปรซิออนเป็นส่วนหนึ่งของทั้งดาว[[สามเหลี่ยมฤดูหนาว]]และวงกลมฤดูหนาว<ref>[http://www.donnayoung.org/science/stars/orion.htm Orion Constellation]</ref>
 
== วัตถุท้องฟ้าในกลุ่มดาว ==
ใต้ตำแหน่งเข็มขัดของโอไรอันจะเป็นดาบนายพราน บริเวณนี้มีดาวหลายดวงเช่น θ1 โอไรอัน และ θ2 โอไรอัน หรือเรียกชื่อว่า [[กระจุกดาวทราเปเซียม]] และ[[เนบิวลานายพราน]] ([[M42]]) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องสองตาช่วย จะสามารถมองเห็นกลุ่มเมฆหมุนวนอยู่รอบๆ รวมถึงแก๊สเรืองแสงและ[[ฝุ่นคอสมิก|ฝุ่น]]
 
เนบิวลาที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งคือ [[IC 434|IC 424]] หรือ[[เนบิวลาหัวม้า]] ใกล้กับตำแหน่งดาว ζ โอไรอัน (Alnitak)เป็นเมฆฝุ่นมืดๆ ที่เกาะกลุ่มเป็นรูปร่างคล้ายหัวม้าอันเป็นที่มาของชื่อ
 
ถ้าใช้[[กล้องโทรทรรศน์]]ขนาดเล็กส่องสำรวจดูรอบๆ บริเวณกลุ่มดาวนายพราน จะสามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจอีกมากมายในเขตอวกาศลึกในแถบนี้ เช่น เนบิวลา [[M43]] เนบิวลา [[M78]] รวมถึงระบบดาวอีกหลายกลุ่มรวมถึง ไอโอตาโอไรอัน และซิกมาโอไรอันด้วย ถ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ขึ้นก็อาจมองเห็นวัตถุบางอย่างเช่น [[เนบิวลาเพลิง]] ([[NGC 2024]]) ตลอดจนระบบดาวหลายดวงและ[[เนบิวลา]]ขนาดเล็กที่มีแสงจางๆ ได้อีก
 
เนบิวลาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกูลาร์โอไรอัน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,500 [[ปีแสง]] มีความกว้างหลายร้อยปีแสง ถือเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ที่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งใน[[ทางช้างเผือก|ดาราจักรของเรา]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}