ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรพชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manjai25 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
'''บรรพชา''' (อ่านว่า บันพะชา, บับพะชา) ({{lang-pi|ปพฺพชฺช}}; {{lang-sa|ปฺรวฺรชฺย}}) แปลว่า การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็น[[ภิกษุ]] เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็น[[สามเณร]] ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
 
==เณรหน้าไฟ==
'''การบวชสามเณรหน้าไฟ''' คือการ[[บรรพชา]][[สามเณร]]ที่นิยม[[บวช]]เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย โดยปรกติการบวชหน้าไฟมักจะบวชกันในวันเผาศพ โดยเมื่อทำพิธีฌาปนกิจเสร็จก็มักจะสึก
 
เรียกตามภาษาชาวบ้านคือ "บวชเช้าสึกเย็น" ที่เรียกว่าหน้าไฟจึงน่าจะมีสาเหตุมาจากบวชเพียงเพื่อเป็นเณรอยู่หน้าไฟเท่านั้น บางท่านว่าเป็นการ ''บวชหลอกคนตาย'' คือพอประกอบพิธีฌาปนกิจเสร็จก็สึก
 
การบวชสามเณรหน้าไฟเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาเป็น[[ประเพณี]]นิยม โดยผู้บวชและญาติพี่น้องเชื่อว่าการบวชเณรหน้าไฟ จะทำให้ผู้วายชมน์ได้[[บุญ]]มาก ดังนั้นเราจึงมักเห็นการบวชลักษณะนี้ได้ทั่วไปในงานพิธีศพ
 
อีกประการหนึ่งการบวชเณรกระทำง่าย เพียงแค่โกนศีรษะและเตรียม[[จีวร]]เข้าไปหา[[อุปัชฌาย์]]ก็สามารถทำการบวชได้แล้ว ดังนั้นการบวชเณรจึงไม่ยุ่งยากเหมือนการ[[อุปสมบท|บวช]][[พระภิกษุ]]ซึ่งมีขั้นตอนในการรับรอง ในทาง[[พระวินัยปิฎก|พระวินัย]]มากมาย คนทั่วไปจึงนิยมบวชเณรหน้าไฟมากกว่า[[อุปสมบท|บวช]][[พระ]]หน้าไฟ
 
== อ้างอิง ==
* [[พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)]], พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ , หน้า 173-174
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ| ชื่อหนังสือ = เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา| URL = | จังหวัด = อุตรดิตถ์| พิมพ์ที่ = วัดคุ้งตะเภา| ปี = ๒๕๔๙.| ISBN = | จำนวนหน้า = | หน้า = }}
 
[[หมวดหมู่:พิธีกรรมในศาสนาพุทธ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/บรรพชา"