ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47:
การเข้าร่วมสงครามเกาหลีของทหารจีนจำนวน 1,350,000 คนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกาหลีเหนือยึดกรุง[[เปียงยาง]]คืนมาได้และขับไล่กองทัพสหประชาชาติลงไปที่เส้นขนานที่ 38 ได้สำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 อย่างไรก็ตาม จุดยืนที่แตกต่างกันระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือก็ปรากฏขึ้นในระหว่างสงครามเมื่อเหมาเจ๋อตงเห็นว่าเป็นการยากที่จะขับไล่กองทัพสหประชาชาติออกไปจากคาบสมุทรเกาหลีได้ทั้งหมด และการที่จีนสามารถขับไล่กองทัพสหประชาชาติลงไปที่เส้นขนานที่ 38 ได้สำเร็จก็นับว่าเป็นชัยชนะแล้ว หากแต่คิมอิลซุงผู้ก่อสงครามนั้นถือว่าชัยชนะสำหรับเขาจะต้องหมายถึงการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากคิมมีกำลังทหารน้อยกว่าจึงต้องยอมตามที่เหมาต้องการ โดยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 มีการทำข้อตกลงสงบศึกระหว่างกองทัพจีนและกองทัพเกาหลีเหนือฝ่ายหนึ่งกับกองทัพสหประชาชาติอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าเกาหลียังคงแบ่งเป็นเหนือกับใต้ตามเดิม เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนเล็กน้อยเท่านั้น
 
ความล้มเหลวในการใช้กำลังรวมประเทศของคิมอิลซุงทำให้กลุ่มของโชชางอิก (Choe Chang Ik) ลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของเขาในพรรค กลุ่มดังกล่าวมีชื่อเรียกว่ากลุ่มเอี๋ยนอัน (The Yan’an Group) เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มจำนวนมากเคยทำงานร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ยังตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเอี๋ยนอันในมณฑลส่านซี พวกเขาจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำของจีนมากกว่าที่คิมอิลซุงมี แต่แล้วความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ใน ค.ศ. 1956 ก็ล้มเหลวและมีสมาชิกบางส่วนลี้ภัยไปยังจีน เหมาเจ๋อตงจึงส่งจอมพลเผิงเต๋อหวยและจอมพลเนี่ยหรงเจิน (Nie Rongzhen) เดินทางไปเกาหลีเหนือเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1957 เพื่อเจรจาขอให้คิมอิลซุงรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้กลับเป็นสมาชิกพรรคตามเดิม ซึ่งก็สำเร็จเพียงชั่วเวลาสั้นๆสั้น ๆ เท่านั้น เพราะการแทรกแซงจากจีนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเอี๋ยนอันรวมถึงการที่จีนยังคงทหารเกือบ 500,000 คนเอาไว้ในเกาหลีเหนือหลังสงครามเกาหลีทำให้คิมอิลซุงเกรงว่าจีนอาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนอำนาจทางการเมืองของเขา ดังนั้นในปลายปีนั้นเองเขาได้ทำการกวาดล้างกลุ่มเอี๋ยนอันอีกครั้งและเรียกร้องให้จีนเคารพอำนาจอธิปไตยของเกาหลีเหนือด้วยการถอนทหารออกไป จีนจึงยอมถอนทหารทั้งหมดใน ค.ศ. 1958 เหตุการณ์นี้ทำให้สถานะความเป็นผู้นำของคิมอิลซุงนั้นโดดเด่นและดูเป็นอิสระจากจีนมากยิ่งขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม ทหารจีนที่คงอยู่ในเกาหลีเหนือจนถึง ค.ศ. 1958 มีบทบาทสำคัญในการเป็นแรงงานช่วยฟื้นฟูบูรณะเกาหลีเหนือหลังสงคราม และจีนยังให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกาหลีเหนืออีกด้วย เมื่อคิมอิลซุงเดินทางไปเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1953 จีนได้ตกลงให้เงินกู้เป็นจำนวน 800,000,000 หยวน และเงินช่วยเหลือที่จีนให้แก่เกาหลีเหนือใน ค.ศ. 1954 คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของงบประมาณของจีนในปีนั้น ต่อมาใน ค.ศ. 1958 จีนยังให้เงินกู้แก่เกาหลีเหนืออีก 25,000,000 เหรียญสหรัฐ และช่วยสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำอึนบอง (Unbong) 400,000 กิโลวัตต์บนแม่น้ำยาลู่อีกด้วย ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีความขัดแย้งกันในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม หากแต่โดยรวมแล้วจีนยังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเกาหลีเหนือเอาไว้และเกาหลีเหนือก็เล็งเห็นถึงคงามสำคัญที่ต้องพึ่งพาจีนอย่างมาก
 
== เติ้ง เสี่ยวผิง (ค.ศ. 1976–1989) ==
บรรทัด 55:
 
== การเติบโตทางเศรษฐกิจภาคใต้ของจีน (ค.ศ. 1989–2002) ==
นำโดย[[เจียง เจ๋อหมิน]] เป็นเศรษฐกิจที่เติบโตทั้งๆทั้ง ๆ ที่การห้ามนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยในปี [[ค.ศ. 1990]] [[เจียง เจ๋อหมิน]] ทำให้วิสัยทัศน์ของ[[เติ้ง เสี่ยวผิง]] ที่ไกลกว่าสำหรับระบบสังคมนิยมกับคนจีนในเวลาเดียวกัน เจียง เจ๋อหมินปรับระยะเวลาที่ดำเนินต่อไปขี้นในการรับสินบนทางสังคมผลกำไรเป็นได้ถูกปิดเพื่อทำวิธีสำหรับแข่งขันกันมากขึ้นการลงทุนอย่างภายในและต่างประเทศที่จัดเตรียมไว้พร้อมระบบความผาสุกทางสังคมถูกใส่ในการทดสอบจริงจัง [[เจียง เจ๋อหมิน]] ยังเน้นหนักวางบนความก้าวหน้าแบบ[[วิทยาศาสตร์และทางเทคโนโลยีในพื้นที่]] เช่น การค้นหาช่องว่างเพื่อทนรับการบริโภคมนุษย์กว้างใหญ่การดึงดูดการสนับสนุนและคำวิจารณ์แพร่หลายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาจริงจังมากเป็นที่[[ปักกิ่ง]]บ่อย
 
== สาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 2002–ปัจจุบัน) ==