ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามธารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 18:
 
== ศาสนสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ==
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีในประเทศไทยมักเรียกศาสนสถานของตนว่าวัด หรือ “[[คุรุทวารา]]” (Guru Dwara) ใน[[ภาษาปัญจาบีปัญจาบ]]ซึ่งหมายถึงประตูสู่หนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า โดยมีสถานที่ตั้งกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีศาสนิกชนอาศัยรวมตัวกัน และถือว่า “คุรุ ทวารา”(Guru Dwara) ทุกแห่งล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
 
สำหรับในประเทศไทยมี “คุรุ ทวารา” ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 127/1 ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ [[เขตวัฒนา]] กรุงเทพฯ 10110 <br>
และที่จังหวัดเชียงใหม่ “คุรุ ทวารา” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 20-24 ถนนช้างม่อย ซอย 1 ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง [[จังหวัดเชียงใหม่]] 50300
 
บุคคลทุกเพศทุกวัยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ความเชื่อทางศาสนา และประเพณี สามารถเข้า “คุรุ ทวารา” ได้ โดยก่อนจะเข้าไปทุกคนต้องถอดรองเท้า (ให้คลุมศีรษะของตนด้วยผ้าขาว ในกรณีที่ไม่ได้โพกผ้า) จากนั้นให้เดินอย่างสำรวมเพื่อไปทำความเคารพสักการะต่ออาสนะขององค์พระศาสดา แล้วเดินมานั่งแยกฝั่งหญิง และชายเพื่อสวดมนต์ทำสมาธิอย่างสงบบนอาสนะของตนที่ปูบนพื้น (หากนำมาด้วย) โดยเท่าเทียมกันทุกคน นอกจากการสวดมนต์แล้วใน “คุรุ ทวารา” จะมีการเทศนา รวมทั้งร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า และอ่านพระคัมภีร์ เมื่อศาสนกิจได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะมีการแจกสิ่งของ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือน้ำนมบรรจุกล่อง) ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวาย และที่สำคัญจะมีการแจกขนมหวานซึ่งถือว่าได้รับการประสาทพรโดยพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เรียกว่า “[[กร้า ปัรชาด”ปัรสัท]]” (Karah Parshad) ซึ่งทำจากแป้งสาลี น้ำตาล และเนยผสมรวมในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยผู้รับขนมหวานดังกล่าวต้องนั่งกับพื้นอย่างสำรวมเรียบร้อย และใช้มือขวาวางประสานทับบนมือซ้ายเพื่อรับ “กร้า ปัรชาด”ปัรสัท”
 
ใน “คุรุ ทวารา” นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับให้ศาสนิกชนประกอบศาสนกิจแล้ว ยังมี “โรงทาน” ([[Langar]]) อยู่ภายในด้วย โดยก่อนเข้าโรงทาน ให้ทุกคนถอดรองเท้า และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ซึ่งในโรงทานจะบริการอาหารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับศาสนิกชนทุกคน รวมไปถึงนักธุดงค์ นักเดินทาง และคณะที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาค และความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ในโรงทานแห่งนี้ไม่ว่าผู้เข้ามาจะมีฐานะสูงหรือต่ำ ยากดีมีจน ทุกคนล้วนรับประทานอาหารโดยใช้ จาน ช้อน แก้วน้ำ เหมือนกัน นั่งบนพี้นเสมอภาคร่วมกันเพื่อลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม และจะมี “อาสาสมัครเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน” (Sewa Dar) คอยบริการเดินตักอาหาร หรือแจกน้ำดื่มให้ทุกคน และผู้มีจิตศรัทธายังสามารถผลัดเวรกันตักอาหาร แจกน้ำดื่มได้ตามความสมัครใจ ตลอดจนสามารถบริจาคทรัพย์ หรืออาหารสำเร็จรูป รวมไปถึงวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารได้ตามแรงศรัทธาด้วย โรงทานนี้ดำเนินการด้วยความร่วมใจ เสียสละของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีโดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนมากไปกว่าการเติมเต็มความต้องการในด้านอาหารให้แก่ร่างกายของทุกคน
 
== พระและนักบวชในศาสนา ==