ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระแสงขรรค์ชัยศรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขบางส่วน
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Bkkryregaliasv0609.jpg|thumb|250px|ซุ้มเฉลิมพระเกียรติใน[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549]] แสดงภาพจำลองพระแสงขรรค์ชัยศรี]]
 
'''พระแสงขรรค์ชัยศรี''' เป็นพระแสงศาสตราวุธประจำองค์[[พระมหากษัตริย์]] และเป็นหนึ่งในห้าของ[[เบญจราชกกุธภัณฑ์]] [[พระขรรค์]]หมายถึง พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นราชสมบัติจากเขมรเมืองพระนครตั้งแต่ยุคนครวัดถึงยุคนครธม มีหลักฐานสำคัญอยู่ใน[[หลักศิลาจารึก]] [[วัดศรีชุม]] สมัย[[อาณาจักรอยุธยา​|อาณาสุโขทัย]] ว่า[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7|พระเจ้าแผ่นดินเขมร]][[นครธม]]สมัยนั้น พระราชทาน "พระขรรค์ชัยศรี" ให้[[พ่อขุนผาเมือง]]แห่งกรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย พร้อมด้วยธิดานามว่า[[พระนางสิงขรเทวี|สุขรมหาเทวี]] ให้เป็นชายา พระแสงขรรค์ชัยศรีจึงตกเป็นพระราชสมบัติของ[[พ่อขุนผาเมือง]]นี้เอง เป็นพยานสำคัญแสดงว่า[[พ่อขุนผาเมือง]]ก็คือพระเจ้าอู่ทองที่ครองกรุงศรี[[อโยธยาศรีรามเทพนคร]] (หรือต่อมาเป็น[[กรุงศรีอยุธยา]]) เพราะมีในพงศาวดารเหนือยืนยันสอดรับ ว่าท้าวอู่ทองเสด็จลงมาจาก[[เมืองสวรรคโลก]] ([[ศรีสัชนาลัย]]สุโขทัย) แล้วสถาปนา[[กรุงศรีอยุธยา]] โดยพระแสงขรรค์ชัยศรีก็เป็นสมบัติ[[กรุงศรีอยุธยา]]เรื่อยมา สุดท้ายจวบจนสมัย[[พระเจ้าเอกทัศ]] [[เบญจราชกกุธภัณฑ์]]ก็ได้หายสาบสูญไป รวมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรีซึ่งท้ายสุดไปตกจมอยู่ใน[[ทะเลสาบเขมร]]ที่เมือง[[เสียมราฐ]] [[ประเทศกัมพูชา]] ต่อมา ในปี [[พ.ศ. 2327|พ.ศ. ๒๓๒๗]] ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นพระขรรค์องค์นี้ ชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวาย[[เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)]] เจ้าเมืองเสียมราฐ และเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวาย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]
 
เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึง[[กรุงเทพมหานคร]] ได้เกิดฟ้าผ่าในพระนครถึง ๗ แห่ง เช่นที่[[ประตูวิเศษไชยศรี]]ในพระราชฐานชั้นนอก [[ประตูพิมานไชยศรี]]ในพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญพระแสงองค์นี้เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง
 
พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุดในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ [[พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]]และ[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกกก|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]
 
== ขนาด ==
ทั้งด้ามและฝักมีความยาว ๑๑๕ ซม. ฝักกว้าง ๕.๕ ซม. ใบพระขรรค์ทำด้วยเหล็กมีคมทั้งสองด้าน ส่วนด้ามทำด้วยแก้วผลึกรูป ๘ เหลี่ยม มีทองคาดตามแนวปลายด้ามทำเป็นหัวเม็ดรูป ๖ เหลี่ยมประดับ[[พลอย]] ตัวฝักทำด้วยทองคำประดับด้วยลายรักร้อย ขอบฝักทำเป็นลาย[[กระหนก]] ประดับ[[อัญมณี]]สีต่างๆต่าง ๆ
 
ทั้งด้ามและฝักมีความยาว ๑๑๕ ซม. ฝักกว้าง ๕.๕ ซม. ใบพระขรรค์ทำด้วยเหล็กมีคมทั้งสองด้าน ส่วนด้ามทำด้วยแก้วผลึกรูป ๘ เหลี่ยม มีทองคาดตามแนวปลายด้ามทำเป็นหัวเม็ดรูป ๖ เหลี่ยมประดับ[[พลอย]] ตัวฝักทำด้วยทองคำประดับด้วยลายรักร้อย ขอบฝักทำเป็นลาย[[กระหนก]] ประดับ[[อัญมณี]]สีต่างๆ
== วัสดุที่ใช้ทำ ==
สมัยโบราณกาล การจัดสร้างพระแสงนั้น ผู้สร้างจะเลือกโลหะหรือแร่ต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพื่อสร้างเป็นพระแสงที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เกรงขามของศัตรู โดย [[ช่างตีดาบหลวง]] จะนำเนื้อโลหะต่างชนิดนำมาถลุงหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวเพื่อตีขึ้นรูปดาบ จึงเกิดเป็นสูตรของโลหะ ๓ ประเภท๖ คือ เบญจโลหะ คือ เนื้อโลหะที่หลอมรวมจากเหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑
[[สัตโลหะ]] คือ เนื้อโลหะที่หลอมรวมจากเหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ ทองคำ ๑ เจ้าน้ำเงิน ๑ (ปกติเรียก “เจ้า” เป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเหลือบน้ำเงิน) และสังกะสี ๑
[[นวโลหะ]] คือ เนื้อโลหะถึง ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ ทองคำ ๑ เจ้าน้ำเงิน ๑ สังกะสี ๑ ชิน ๑ (โลหะผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่ว มีสีเงาวาวมาก และมีน้ำหนักมากเช่นกัน) และทองแดงบริสุทธิ์ ๑
 
ต่อมามีการค้นพบโลหะอีกประเภทหลังจากได้มีการคิดค้นสูตรโลหะทั้ง ๓ แล้ว กล่าวกันว่าเป็นโลหะที่ดีมีคุณสมบัติสำหรับการทำอาวุธที่สุด คือ “[[เหล็กน้ำพี้]]” เพราะ [[เหล็กน้ำพี้]] เป็นโลหะที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม เมื่อนำมาหลอมตีเป็นดาบจะมีสีเขียวเหลือบดังปีกแมลงทับ มีความคมและยืดหยุ่นได้ในตัวเอง เมื่อนำมาฟันกระทบกับของแข็ง ทำให้ไม่บิ่น ไม่งอ ไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศ และไม่ก่อให้เกิดสนิม และเสื่อมคม แหล่งที่มาของแร่โลหะนี้ คือ [[บ่อน้ำพี้]]
 
[[น้ำพี้]] ” เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งของ[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] ที่มีแหล่งแร่เหล็กกล้าที่มีความบริสุทธิ์ของเนื้อเหล็กโดยธรรมชาติสูง จึงนิยมนำมาทำเครื่องใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว มีการสันนิษฐานกันว่า ดาบรบที่สร้างขึ้นในปลายสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]มีการตีดาบเหล็กน้ำพี้ใช้สำหรับทำอาวุธใช้ในสงคราม ต่อมามีการสงวนไว้สำหรับใช้ทำพระแสงดาบสำหรับ[[พระมหากษัตริย์]] ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยบ่อที่นำมาทำพระแสงดาบเรียกว่า “[[บ่อพระแสง]]” และบ่อที่นำมาทำพระขรรค์เรียกว่า “[[บ่อพระขรรค์]]”นอกจากการเลือกโลหะสำหรับนำมาทำดาบแล้ว กรรมวิธีในการตีดาบยังเป็นเรื่องที่คนสมัยโบราณให้ความสำคัญ หากเป็นดาบเพื่อใช้ในการศึกสงครามแล้วจะใช้พิธีทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับพระแสงดาบของ[[พระมหากษัตริย์]] จะมีการตกแต่งประดับประดาพระแสงดาบด้วยโลหะ อัญมณีที่มีค่า การสร้างลวดลายต่าง ๆ และการลงสีให้มีความวิจิตรงดงาม เพื่อการใช้เป็นเครื่องประกอบยศ และพระราชทานให้แก่[[พระบรมวงศานุวงศ์]] ขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
 
นอกจากการเลือกโลหะสำหรับนำมาทำดาบแล้ว กรรมวิธีในการตีดาบยังเป็นเรื่องที่คนสมัยโบราณให้ความสำคัญ หากเป็นดาบเพื่อใช้ในการศึกสงครามแล้วจะใช้พิธีทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับพระแสงดาบของ[[พระมหากษัตริย์]] จะมีการตกแต่งประดับประดาพระแสงดาบด้วยโลหะ อัญมณีที่มีค่า การสร้างลวดลายต่าง ๆ และการลงสีให้มีความวิจิตรงดงาม เพื่อการใช้เป็นเครื่องประกอบยศ และพระราชทานให้แก่[[พระบรมวงศานุวงศ์]] ขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
 
กล่าวได้ว่า ในอดีต [[พระแสงดาบ]]มีความสำคัญในฐานะที่เป็นราชศัสตราวุธคู่กายของ[[พระมหากษัตริย์]] และเป็นอาวุธที่ใช้ในยามศึกสงคราม ต่อมาได้มีการพัฒนาอาวุธที่มีความทันสมัยขึ้น ทำให้พระแสงดาบจึงค่อย ๆ ลดบทบาทลง ในปัจจุบันพระแสงดาบจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์และเครื่องหมายของ[[พระมหากษัตริย์]] ที่ใช้ประกอบยศและใช้ประกอบใน [[พระราชพิธี]]สำคัญ ๆ