ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== การเมืองการปกครอง ==
ไรช์ยกย่องฮิตเลอร์ว่าเป็น ''[[ฟือเรอร์]]'' ที่รวมศูนย์อำนาจทั้งหมดไว้ในมือ การโฆษณาชวนเชื่อนาซีมีศูนย์กลางอยู่ที่ฮิตเลอร์และสร้างสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "เรื่องปรัมปราฮิตเลอร์" คือ ฮิตเลอร์เป็นผู้รู้แจ้งและความผิดพลาดหรือความล้มเหลวใด ๆ ของผู้อื่นจะถูกแก้ไขให้ถูกต้องหากเขาให้ความสนใจ แต่ในความเป็นจริง ฮิตเลอร์มีความสนใจแคบ และการวินิจฉัยสั่งการกระจายกันระหว่างศูนย์อำนาจที่ซ้ำซ้อนและขัดแย้งกัน ฮิตเลอร์ไม่มีปฏิกิริยาในบางประเด็น เพียงแต่เห็นพ้องกับแรงกดดันจากผู้ใดก็ตามที่เขารับฟัง ข้าราชการระดับสูงรายงานตรงต่อฮิตเลอร์และปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐาน แต่ยังมีความเป็นอิสระในงานประจำวันพอสมควร ผ่านการบรรจุสมาชิกพรรคนาซีในตำแหน่งหน้าที่รัฐบาลส่วนใหญ่ จนถึงปี 1935 รัฐบาลแห่งชาติเยอรมันและพรรคนาซีก็แทบจะเป็นหนึ่งเดียวกัน จนถึงปี 1938 ผ่านนโยบาย[[ไกลช์ชัลทุง]] รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐสูญเสียอำนาจนิติบัญญัติทั้งหมดและสนองตอบผู้นำพรรคนาซีในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า "[[เกาไลเทอร์]]"
 
=== การแบ่งเขตการปกครองในไรช์ ===
[[ไฟล์:NS administrative Gliederung 1944.png|thumb|250px|การแบ่งเขตการปกครองในไรช์มหาเยอรมัน ค.ศ. 1944]]
เพื่อให้การควบคุมเยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นไปโดยรัดกุมยิ่งขึ้น ในปี 1935 ระบอบนาซีแทนที่การปกครองลันเดอร์ ({{lang-de|länder}}) ด้วย "[[เกา]]" ({{lang-de|gau}}) ซึ่งนำโดยผู้ว่าการที่ตอบสนองต่อรัฐบาลกลางในกรุงเบอร์ลิน การจัดระเบียบใหม่นี้ทำให้[[ปรัสเซีย]]อ่อนแอลงในทางการเมือง ซึ่งในอดีตปรัสเซียเคยครอบงำการเมืองเยอรมนี เริ่มแรกนั้น เยอรมนีแบ่งออกเป็น 32 เกา และระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีสามารถยึดครองดินแดนอื่นได้<ref>[http://www.historisches-lexikon-bayerns.de/artikel/artikel_44497 Gau (NSDAP) - Kontinuität der Gaugliederung nach 1933] Historisches Lexikon Bayerns</ref> จึงได้จัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ เรียกว่า "[[ไรซ์เกา]]" ({{lang-de|reichsgau}}) กระทั่งปี 1945 นาซีเยอรมนีมีเขตการปกครองรวมทั้งสิ้น 42 เกา<ref>[http://www.nizkor.org/hweb/imt/nca/nca-01/nca-01-06-organization.html The Organization of the Nazi Party & State] ''The Nizkor Project''</ref>
 
=== โครงสร้างรัฐบาลไรช์ ===
{{ดูเพิ่มที่|คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์}}
นาซีเยอรมนีประกอบขึ้นจากหลายโครงสร้างอำนาจที่แข่งขันกัน ทั้งหมดล้วนพยายามสร้างความประทับใจแก่ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฉะนั้นกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับจึงได้รับผลกระทบและถูกแทนที่ด้วยการตีความสิ่งที่ฮิตเลอร์ต้องการ ข้าราชการระดับสูงของพรรคหรือรัฐบาลคนใดสามารถนำหนึ่งในความเห็นของฮิตเลอร์และเปลี่ยนให้เป็นกฎหมายใหม่ได้ ซึ่งฮิตเลอร์อาจอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไม่เป็นทางการ จึงกลายมาเป็นที่รู้จักกันว่า "การทำงานมุ่งสู่ฟือเรอร์" เพราะรัฐบาลมิได้เป็นองค์การที่ประสานร่วมมือกัน หากเป็นการรวมปัจเจกบุคคลที่ต่างพยายามสร้างความประทับใจและมีอิทธิพลเหนือฟือเรอร์ บ่อยครั้งจึงทำให้รัฐบาลสับสนยุ่งยากและแตกแยกกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนโยบายที่กำกวมของฮิตเลอร์ในการสร้างตำแหน่งหน้าที่ที่คล้ายกันโดยมีอำนาจทับซ้อนกัน ขบวนการนี้ทำให้นาซีที่ไม่ซื่อสัตย์และทะเยอทะยานกว่าออกไปนำอุดมการณ์ส่วนที่หัวรุนแรงและสุดโต่งกว่าของฮิตเลอร์ เช่น ต่อต้านยิว ทำให้ได้รับความประทับใจทางการเมือง โดยได้รับการปกป้องจากจักรกลโฆษณาชวนเชื่อทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่งของเกิบเบิลส์ ซึ่งพรรณารัฐบาลว่าเป็นชุดที่อุทิศตัว รับผิดชอบต่อหน้าที่และมีประสิทธิภาพ การแข่งขันอย่างรุนแรงและการตรากฎหมายอันยุ่งเหยิงจึงสามารถบานปลายได้ ความคิดเห็นทางประวัติศาสตร์แตกกันระหว่าง "กลุ่มเจตนา" ซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์สร้างระบบนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นวิถีทางเดียวในการประกันทั้งความจงรักภักดีสมบูรณ์และการอุทิศตนของผู้สนับสนุนเขาและการพ้นวิสัยการคบคิด และ "กลุ่มโครงสร้างนิยม" ที่เชื่อว่าระบบนี้พัฒนาขึ้นเอง และเป็นการจำกัดอำนาจที่ควรจะเผด็จการเบ็ดเสร็จของฮิตเลอร์
 
คณะรัฐบาลไรช์ดำรงอยู่เป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 1933 ถึงวันที่ 30 เมษายน 1945 หลังฮิตเลอร์ยิงตัวตายใน[[ฟือเรอร์บุงเคอร์]] เขาส่งต่ออำนาจให้แก่จอมพลเรือ [[คาร์ล เดอนิทซ์]] ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพเรือ ด้วยความปรารถนาที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปอีก
 
โครงสร้างและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในรัฐบาลไรช์ ประกอบด้วย
 
* '''คณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร'''
** [[คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์]]
** [[คณะรัฐมนตรีชเวริน ฟอน โครซิกค]]
* '''สำนักงานแห่งชาติ'''
** ทำเนียบฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี ([[ฟีลิพ โบอูแลร์]])
** สำนักงานที่ทำการพรรค ([[มาร์ทิน บอร์มันน์]])
** สำนักทำเนียบประธานาธิบดี ([[ออทโท ไมส์ซแนร์]])
** สำนัก[[ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์]] ([[ฮันส์ ลัมแมร์ส]])
** สภาคณะรัฐมนตรีลับ ([[คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท]])
* '''กระทรวงไรช์'''
** กระทรวงมหาดไทยไรช์ ([[วิลเฮล์ม ฟริค]], [[ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์]])
** กระทรวงโฆษณาแถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อไรช์ ([[โยเซฟ เกิบเบิลส์]])
** กระทรวงการบินไรช์ ([[แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง]])
** กระทรวงการคลัง ([[ลุทซ์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิจค์]])
** กระทรวงยุติธรรมไรช์ ([[ฟรันซ์ เกือร์ทแนร์]], [[ออทโท ไทรัค]])
** กระทรวงเศรษฐกิจไรช์ ([[อัลเฟรด ฮูเกนแบร์ก]], [[คุร์ท ชมิทท์]], [[ฮยัลมาร์ ชัคท์]], แฮร์มันน์ เกอริง, [[วัลเทอร์ ฟังค์]])
** กระทรวงโภชนาการและการเกษตรไรช์ ([[รีชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร]], [[แฮร์เบิร์ท บาคเคอ]])
** กระทรวงแรงงานไรช์ ([[ฟรันซ์ เชลด์เทอ]])
** กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษาธิการและการสอนสาธารณะไรช์ ([[แบร์นฮาร์ด รุสท์]])
** กระทรวงกิจการสงฆ์ไรช์ ([[ฮันนส์ เคอรรล์]])
** กระทรวงการคมนาคมไรช์ ([[ยูลีอุส ดอร์พมึลเลอร์]])
** กระทรวงไปรษณีย์ไรช์ ([[วิลเฮล์ม โอเนซอร์เกอ]])
** กระทรวงอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และอาวุธยุทธภัณฑ์ ([[ฟริทซ์ ท็อดท์]], [[อัลแบร์ท ชเปียร์]])
** กระทรวงดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง ([[อัลเฟรด โรเซินแบร์ก]])
** รัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ([[คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท]], [[ฮันส์ ฟรังค์]], [[ฮยัลมาร์ ชัคท์]], [[อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท]])
* '''สำนักงานไรช์'''
** สำนักงาน[[แผนการสี่ปี|แผนสี่ปี]] (แฮร์มันน์ เกอริง)
** สำนักงานผู้ตรวจการทางหลวง
** สำนักงานประธานธนาคารไรช์
** สำนักงานความมั่นคงหลักไรช์ ([[ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช]])
** สำนักงานพนักงานป่าไม้ไรช์ (แฮร์มันน์ เกอริง)
** สำนักงานเยาวชนไรช์
** สำนักงานกองคลังไรช์
** ผู้ตรวจการใหญ่เมืองหลวงไรช์
** สำนักงานสมาชิกสภาเมืองหลวงขบวนการ ([[มิวนิก]])
* '''สำนักงานพรรคนาซี'''
** สำนักงานนโยบายเชื้อชาติ
** สำนักงานนโยบายอาณานิคม
** สำนักงานการต่างประเทศ
** อัมท์ โรเซนแบร์ก
 
=== รัฐบาลเฟลนส์บูร์ก (1945) ===
[[ไฟล์:News. V.E. Day BAnQ P48S1P12270.jpg|thumb|''Montreal Daily Star'': "Germany Quit", 8 พฤษภาคม 2488 (ค.ศ. 1945)]]
 
คณะรัฐบาลเฟลนซบูร์กเป็นรัฐบาลชั่วคราวของไรช์หลังวันที่ [[30 เมษายน]] 1945 [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้แต่งตั้งจอมพลเรือ [[คาร์ล เดอนิทซ์]]เป็นประธานาธิบดีไรช์ เดอนิทซ์ย้ายที่ทำการรัฐบาลจากกรุง[[เบอร์ลิน]]ไปยัง[[เฟลนส์บูร์ก]] ใกล้กับชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก เป้าหมายของเขาก็คือ การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกองทัพสัมพันธมิตรที่รุกมาทางตะวันตก มิใช่กับกองทัพโซเวียตผู้รุกรานมาทางทิศตะวันออก คณะรัฐบาลเฟลนซบูร์กสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ [[8 พฤษภาคม]] 1945 และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดถูกจับกุมตัวโดยกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ [[23 พฤษภาคม]] 1945
 
คณะรัฐมนตรีแห่ง[[รัฐบาลเฟลนส์บูร์ก|รัฐบาลเฟลนซบูร์ก]] ประกอบด้วย
 
* ประธานาธิบดี: จอมพลเรือ [[คาร์ล เดอนิทซ์]] (ควบตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดแห่ง[[แวร์มัคท์]])
* [[ลุทซ์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิจค์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นประธานคณะรัฐมนตรี
* [[ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถูกปลดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
* [[อัลเฟรด โรเซินแบร์ก]] (ถูกปลดเมื่อวันที่ [[6 พฤษภาคม]] 1945)
* ดร. [[วิลเฮล์ม สทุคอาร์ท]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทนฮิมม์เลอร์
* [[อัลแบร์ท ชเปียร์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการผลิต
* ดร. [[เฮอร์เบิร์ต บัคเคอ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร กระทรวงเกษตรกรรมและป่าไม้
* ดร. [[ฟรานซ์ เชลตท์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคม
* ดร. [[ยูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และคมนาคม
 
=== อุดมการณ์ของไรช์ ===
{{ดูเพิ่มที่|ระบอบนาซี}}
ชาติสังคมนิยมมีองค์ประกอบอุดมการณ์สำคัญบางอย่างของ[[ลัทธิฟาสซิสต์]]ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นในอิตาลีภายใต้[[เบนิโต มุสโสลินี]] อย่างไรก็ดี นาซีไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าตนเป็นฟาสซิสต์ อุดมการณ์ทั้งสองเกี่ยวข้องกับการใช้[[แสนยนิยม]] ชาตินิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์และกำลังกึ่งทหารในทางการเมือง และทั้งคู่ตั้งใจจะสร้างรัฐ[[เผด็จการ]] แต่นาซีเน้นไปทางเชื้อชาติมากกว่าฟาสซิสต์ในอิตาลี โปรตุเกส และสเปน นาซียังเจตนาสร้างรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างสมบูรณ์ ไม่เหมือนกับฟาสซิสต์อิตาลีที่แม้จะสนับสนุนรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่อนุญาตให้มีเสรีภาพส่วนบุคคลแก่พลเมืองของตนมากกว่า ข้อแตกต่างนี้ทำให้สถาบัน[[พระมหากษัตริย์อิตาลี]]ยังดำรงอยู่ได้และมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการบางอย่าง อย่างไรก็ดี นาซีลอกสัญลักษณ์นิยมของตนจำนวนมากจากฟาสซิสต์ในอิตาลี เช่น การลอก[[การทำความเคารพแบบโรมัน]]มาเป็น[[การทำความเคารพฮิตเลอร์|การทำความเคารพแบบนาซี]] การใช้การชุมนุมมวลชน ทั้งคู่ใช้กำลังกึ่งทหารในเครื่องแบบที่อุทิศตนต่อพรรค (เอสเอในเยอรมนีและเชิ้ตดำในอิตาลี) ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีถูกเรียกว่า "ผู้นำ" ([[ฟือเรอร์]]ในภาษาเยอรมัน ดูเชในภาษาอิตาลี) ทั้งคู่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งคู่ต้องการรัฐที่ขับเคลื่อนทางอุดมการณ์ และทั้งคู่สนับสนุนทางสายกลางระหว่างทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า [[บรรษัทนิยม]] ตัวพรรคเองปฏิเสธการจัดอยู่ในกลุ่มฟาสซิสต์ โดยอ้างว่าชาติสังคมนิยมเป็นอุดมการณ์เอกลักษณ์เฉพาะของเยอรมนี
 
ลักษณะรวบอำนาจเบ็ดเสร็จของพรรคนาซีเป็นหนึ่งในหลักสำคัญของพรรค นาซียืนยันว่าทุกความสำเร็จลุล่วงอันยิ่งใหญ่ในอดีตของชาติและประชาชนชาวเยอรมันล้วนเกี่ยวข้องกับอุดมคติชาติสังคมนิยม ก่อนที่อุดมการณ์นั้นจะมีขึ้นจริง ๆ เสียอีก การโฆษณาชวนเชื่อถือว่าการรวบรวมอุดมคตินาซีและความสำเร็จของระบอบเป็นของฟือเรอร์ของระบอบ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้ถูกพรรณาว่าเป็นอัจฉริยะเบื้องหลังความสำเร็จของพรรคนาซีและผู้ช่วยให้รอดของเยอรมนี
 
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 119-5243, Wien, Arthur Seyß-Inquart, Adolf Hitler.jpg|thumb|left|200px|อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรีย บ้านเกิดของตน เข้ากับไรช์มหาเยอรมัน]]
"[[ปัญหาเยอรมัน]]" ที่มักกล่าวถึงในหมู่นักวิชาการอังกฤษ มุ่งประเด็นการปกครองภูมิภาคเยอรมนีในยุโรปเหนือและยุโรปกลาง ซึ่งเป็นแก่นสำคัญตลอดประวัติศาสตร์เยอรมนี<ref>Bischof, Günter, “The Historical Roots of a Special Relationship: Austro-German Relations Between Hegemony and Equality”. In Unequal Partners, ed. Harald von Riekhoff and Hanspeter Neuhold. San Francisco: Westview Press, 1993</ref> "ตรรกะ" การรักษาให้เยอรมนีมีพื้นที่เล็ก ๆ ได้รับการสนับสนุนจากคู่แข่งเศรษฐกิจรายสำคัญ และเป็นแรงขับในการสร้างรัฐโปแลนด์ขึ้นใหม่ เป้าหมายคือ เพื่อ "ถ่วงดุลอำนาจของเยอรมนี"
 
นาซีสนับสนุนมโนทัศน์กรอสส์ดอยท์ชลันด์ หรือมหาเยอรมนี และเชื่อว่าการรวมชาวเยอรมันอยู่ในชาติเดียวเป็นก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จแห่งชาติของตน การสนับสนุนมโนทัศน์มหาเยอรมนีอย่างหลงใหลของนาซีนี้เองที่นำไปสู่การขยายอาณาเขตของเยอรมนี ที่ให้ความชอบธรรมและการสนับสนุนที่จำเป็นแก่ไรช์ที่สามในการเดินหน้าพิชิตดินแดนที่ประชากรมิใช่ชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ที่เสียไปนานมาแล้ว เช่น อดีตดินแดนที่ปรัสเซียเคยได้ในโปแลนด์และเสียให้แก่รัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือเพื่อเข้ายึดดินแดนที่มีประชากรชาวเยอรมันเช่นออสเตรียบางส่วน มโนทัศน์[[เลเบินส์เราม์]] หรือที่เจาะจงกว่านั้น ความจำเป็นในการขยายประชากรชาวเยอรมัน ก็ถูกระบอบนาซีอ้างเป็นเหตุในการขยายอาณาเขตดินแดน
 
สองประเด็นสำคัญ คือ การบริหารให้[[ฉนวนโปแลนด์]]และ[[ดันท์ซิช]]เข้าสู่ไรช์ ขณะที่นโยบายเชื้อชาติขยายขึ้น โครงการเลเบินส์เราม์ก็เชื่อมโยงกับผลประโยชน์คล้ายกัน นาซีกำหนดว่ายุโรปตะวันออกจะถูกตั้งถิ่นฐานโดยชาติพันธุ์เยอรมัน และประชากร[[ชนสลาฟ|สลาฟ]]ที่เข้ามาตรฐานเชื้อชาติของนาซีจะถูกกลืนเข้าสู่ไรช์ ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะกับมาตรฐานเชื้อชาติจะถูกใช้เป็นแรงงานกรรมกรราคาถูกหรือเนรเทศไปทางตะวันออก
 
เป้าหมายที่สำคัญสำหรับพรรคนาซีได้แก่การยุบรวมเอา[[ฉนวนโปแลนด์]]และ[[เสรีนครดันท์ซิช]]เข้าสู่ไรช์ที่สาม ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของนโยบายการแบ่งแยกเชื้อชาติของนาซี แผนการ ''Lebensraum'' มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันหลายประการ กล่าวคือ พรรคนาซีเชื่อว่า[[ยุโรปตะวันออก]]ควรจะเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมัน และประชาชนชาวสลาฟที่อยู่ในแผ่นดินของนาซีเยอรมนี พวกเขาเหล่านั้นจะถูกใช้เป็นแรงงานราคาถูกหรือถูกเนรเทศไปทางทิศตะวันออกต่อไป<ref>[http://archive.is/20120527021449/http://www.dac.neu.edu/holocaust/Hitlers_Plans.htm Hitler's Plan, Dac.neu.edu]</ref>
 
การเหยียดสีผิวและคตินิยมเชื้อชาติเป็นมุมมองสำคัญของสังคมในไรช์ที่สาม นาซีรวมการต่อต้านยิวเข้ากับอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยพิจารณาขบวนการลัทธิอยู่ร่วมกันระหว่างประเทศฝ่ายซ้าย เช่นเดียวกับทุนนิยมตลาดระหว่างประเทศ ว่าเป็นผลงานของ "ยิวที่สมรู้ร่วมคิด" นาซียังเอ่ยถึงขบวนการเช่นนี้ด้วยคำอย่าง "การปฏิวัติของพวกต่ำกว่ามนุษย์ยิว-บอลเชวิค"<ref>http://www.ess.uwe.ac.uk/genocide/ssnur1.htm ess.uwe.ac.uk</ref> แนวนโยบายดังกล่าวออกมาในรูปการย้ายประชากร การกักกันและการกำจัดประชากร 11–12 ล้านคนอย่างเป็นระบบระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งราวครึ่งหนึ่งเป็นยิวที่ถูกเป้าหมายในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่เรียกว่า [[ฮอโลคอสต์]] ชาติพันธุ์โปแลนด์ 3 ล้านคนเสียชีวิตด้วยผลของการสงคราม พันธุฆาต การตอบโต้ แรงงานเกณฑ์หรือ[[ทุพภิกขภัย]]<ref name="ReferenceA">The Russian Academy of Science Rossiiskaia Akademiia nauk. Liudskie poteri SSSR v period vtoroi mirovoi voiny:sbornik statei. Sankt-Peterburg 1995 ISBN 5-86789-023-6(figure of 13.7 million includes 2.0 million deaths in the annexed territories which are also included with Poland's war dead)</ref> และอีก 100,000–1,000,000 คนเป็น[[ชาวโรมานี]] ที่ถูกฆ่าใน [[Porajmos]] เหยื่ออื่น ๆ ของการเบียดเบียนโดยนาซี รวมถึงพวกคอมมิวนิสต์ คู่แข่งทางการเมืองทั้งหลาย, ผู้ที่ถูกขับออกจากสังคม, [[รักร่วมเพศ]], นักคิดเสรี, ผู้คัดค้านศาสนา เช่น ผู้นับถือ[[พยานพระยะโฮวา]], [[คริสตาเดลเฟียน]], [[คริสตจักรสารภาพ]]และ[[ฟรีเมสัน]]<ref name="britannica">"[http://www.britannica.com/EBchecked/topic/335949/Siege-of-Leningrad Siege of Leningrad (Soviet history)]". Encyclopædia Britannica.</ref>
 
=== กฎหมาย ===
โครงสร้างการศาลและประมวลกฎหมายส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐไวมาร์ยังคงใช้อยู่ระหว่างและหลังไรช์ที่สาม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในประมวลการศาล (judicial code) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญในคำวินิจฉัยของศาล พรรคนาซีเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายพรรคเดียวในเยอรมนี และพรรคการเมืองอื่นทั้งหมดถูกห้าม สิทธิมนุษยชนส่วนมากในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ถูกระงับโดยไรช์ซเกเซทเซอ ("กฎหมายของไรช์") หลายฉบับ ชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก เช่น ยิว นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเชลยศึกถูกเพิกถอนสิทธิและความรับผิดชอบส่วนใหญ่ แผนการเพื่อผ่านโฟล์คซซทรัฟเกเซทซบุค ("ประมวลกระบวนการยุติธรรมทางอาญาประชาชน") มีขึ้นไม่นานหลังปี 1933 แต่ไม่ได้นำปมาใช้จริงกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
 
มีการตั้งศาลประเภทใหม่ [[โฟล์คซดกริชท์ชอฟ]] ("ศาลประชาชน") ขึ้นในปี 1934 เพียงเพื่อจัดการกับคดีที่มีความสำคัญทางการเมืองเท่านั้น ตั้งแต่ปี 1934 – กันยายน 1944 ศาลมีคำสั่งประหารชีวิต 5,375 คน ไม่นับรวมโทษประหารชีวิตตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 1944 – เมษายน 1945 ซึ่งประเมินที่ 2,000 คน ตุลาการคนที่โดดเด่นที่สุด คือ [[โรลันด์ ไฟรซเลอร์]] หัวหน้าศาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1942 – กุมภาพันธ์ 1945
 
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 146-1984-075-18, Reichsautobahnbau, Baracke.jpg|thumb|left|230px|ค่ายก่อสร้าง[[เอาโทบาน]]]]