ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41:
| footnotes =
}}
'''ท่าอากาศยานเบตงหรือสนามบินเบตง (Betong International Airport)''' ตั้งอยู่ในตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากเมืองเบตง ประมาณ 12 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ในวงเงิน 1,900 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (2559 – 2562) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ ลำดับที่ 29 สังกัดกรมท่าอากาศยาน และนับเป็นท่าอากาศยานของประเทศไทย แห่งที่ 39 ซึ่งจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิดท่าอากาศยานเบตงนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันไม่สะดวกต่อการเดินทาง และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การเมือง ตามนโยบายสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยสามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ 300 คนต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้ 876,000 คนต่อปี ซึ่งมีรายละเอียดโครงการฯกำหนดเปิดให้บริการในปี 2563 จะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากปีละ 600,000 คน เป็น 1,000,000 คนต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ดังนี้
 
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 อนุมัติให้ขยายทางวิ่งท่าอากาศยานเบตงเพิ่มอีก 300 เมตรจากเดิม 1,800 เมตร เพิ่มเป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ อย่างแอร์บัส เอ-319 , เอ-320 และโบอิ้ง 737 ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ การบินไทยสมายล์ และสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ได้อีกด้วย
1.จัดซื้อที่ดิน จำนวน 920 ไร่ พร้อมจ่ายค่าชดเชยพืชผลและสิ่งก่อสร้าง ในตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
 
2.ก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน และอื่น ๆ โดยก่อสร้างทางวิ่งขนาด 30X1,800 เมตร รองรับอากาศยานขนาด 80 ที่นั่ง (ATR-72/Q-400) ทางขับ (Taxi Way) ประกอบด้วยทางขับ A ขนาด 18X587 เมตร ทางขับ B ขนาด 18X115 เมตร ลานจอดเครื่องบินขนาด 94X180 เมตร สามารถจอดอากาศยานได้จำนวน 3 ลำ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562
 
3. ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารขาเข้า - ขาออก และสายพานรับสัมภาระ รวมมีพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารขาออกได้จำนวน 300 คน/ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ 500,000 คน/ปี ขณะนี้มีความคืบหน้าการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย และไม่มีอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง
 
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 ณ ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา
ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตงแล้วเสร็จ จะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากปีละ 600,000 คน เป็น 1,000,000 คนต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2563 เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชนพี่น้องชาวไทย
 
โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งวันที่ 10 พ.ย. มีพิธีวางศิลาฤกษ์ “สนามบินเบตง” ปลุก ศก.-ท่องเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการเสนอราคาในเฟสแรก คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
 
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 อนุมัติให้ขยายทางวิ่งท่าอากาศยานเบตงเพิ่มอีก 300 เมตรจากเดิม 1,800 เมตร เพิ่มเป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ อย่างแอร์บัส เอ-319 , เอ-320 และโบอิ้ง 737 ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ การบินไทยสมายล์ และสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ได้อีกด้วย
 
ข้อมูลจากฝ่ายอาคารและงานก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2560 ความคืบหน้าด้านการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดเครื่องบิน มีความคืบหน้าได้ผลงานสะสม 32.22 % ส่วนด้านของที่ดินเพิ่มเติมเพื่อขยายรันเวย์เพื่อรองรับอากาศยานขนาด 2 เครื่องยนต์ ได้จัดซื้อเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 164 แปลง และยังจัดซื้อไม่เสร็จสิ้นอีกประมาณ 10 ไร่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ด้วยวงเงินงบประมาณประจำปี 2561 จำนวน 1,316 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 990 วัน ซึ่งการควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารของท่าอากาศยานเบตง มีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท วี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซันแตนท์ จำกัด และบริษัท กรุงเทพ เอ็นจิเนียริ่งคอนซันแตนท์ จำกัด เป็นผู้ชนะการเสนอราคา ด้วยวงเงินประมูล 5,057,890 บาท ซึ่งทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้ควบคุมและดูแลการก่อสร้างโครงการท่าอากาศยานเบตงจนแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ตามกำหนด ภายในต้นปี 2563
 
การก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีความคืบหน้าด้านการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดเครื่องบิน มีความคืบหน้าได้ผลงานสะสม 39.93 % ส่วนด้านอาคารและระบบสาธารณูปโภค ได้ผลงานสะสมร้อยละ 17.033 %
ซึ่งหลังเทศกาลสงกรานต์นี้บริษัทผู้รับเหมาสัมปทานก่อสร้างจะดำเนินการติดตั้งหลังคาเมทัลชีท (Metal sheet ) ที่อาคารผู้โดยสาร หลังจากที่งานโครงสร้างภายในแล้วเสร็จ รวมถึงสร้างอาคารหอบังคับการบินท่าอากาศยานเบตง ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับระบบสั่นสะเทือนด้วยวงเงิน 129.66 ล้านบาทอีกด้วย
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอื่นๆ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 ได้ผลงานร้อยละ 46.58
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอื่นๆ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 49.90
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอื่นๆ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 ได้ผลงานร้อยละ 52.76
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอื่นๆ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 55.68
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอื่นๆ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 64.36
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบอื่นๆ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 ได้ผลงานร้อยละ 19.36
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบอื่นๆ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 20.61
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบอื่นๆ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 ได้ผลงานร้อยละ 24.01
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบอื่นๆ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 25.35
 
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบอื่นๆ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2561 ได้ผลงานร้อยละ 34.04
 
นางอัมพวัน วรรณโก อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง จ.ยะลา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ล่าสุดของ ทย. ลำดับที่ 29 ว่า ขณะนี้ในภาพรวมมีความคืบหน้าการก่อสร้างประมาณ 65% โดยงานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบ มีความคืบหน้าประมาณ 60% ส่วนงานก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ทางขับ(แท็กซี่เวย์) และลานจอดเครื่องบิน มีความคืบหน้าประมาณ 69% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือน ก.ค.62 จากนั้นจะติดตั้งระบบการทำงานต่างๆ และทดสอบระบบ ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย.2563 และยังกล่าวอีกว่า สำหรับสายการบินที่จะมาเปิดให้บริการที่ท่าอากาศยานเบตงนั้น ในระยะแรกด้วยข้อจำกัดที่ท่าอากาศยานเบตง มีความยาวรันเวย์ 1,800 เมตร จึงทำให้เครื่องบินที่จะมาลงที่สนามบินแห่งนี้ ต้องเป็นเครื่องบินขนาดเล็กก่อน เช่น เครื่องบินแบบใบพัด ATR 72 หรือ Q-400 ประมาณ 80 ที่นั่ง โดยขณะนี้เริ่มหารือกับ 3 สายการบินแล้ว ได้แก่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส, สายการบินนกแอร์ และสายการบินมาลินโดแอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเบื้องต้นแต่ละสายการบินให้ความสนใจ โดยเฉพาะสายการบินมาลินโดแอร์ สนใจเปิดเส้นทางมาเลเซีย-เบตง คาดว่าภายในเดือน มี.ค.62 จะทราบผลชัดเจนว่าจะมีสายการบินใดมาเปิดทำการบิน และให้บริการในเส้นทางใดบ้าง
 
ท่าอากาศยานเบตง มีความพร้อมเปิดให้บริการทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสายการบินด้วย ซึ่งเวลานี้ทั้ง 3 สายการบินขอไปจัดทำแผนการบินก่อน ทั้งนี้ท่าอากาศยานเบตง สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ 300 คนต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้ 876,000 คนต่อปี คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จะมีประชาชน และนักท่องเที่ยวเดินทางทางอากาศมาเที่ยวเมืองเบตงไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนต่อปี
 
''' สายการบินที่คาดว่าอาจเปิดทำการบิน '''