ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเลียม เชกสเปียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 122:
[[ไฟล์:Macbeth consulting the Vision of the Armed Head.jpg|thumb|left|200px|ภาพวาด ''Macbeth Consulting the Vision of the Armed Head'' ของอองรี ฟูเซลี (1793-94)]]
 
ผลงานของเชกสเปียร์ได้สร้างให้เกิดความประทับใจอันยาวนานต่อมาในวงการการละครและวรรณกรรม เขาได้ขยายศักยภาพของการละครออกไปทั้งในด้านการสร้างลักษณะและบทบาทของตัวละคร โครงเรื่องที่แปลกใหม่ ภาษา และรูปแบบของการแสดงละคร<ref>อี. เค. แชมเบอร์ส (1944). ''Shakespearean Gleanings''. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, 35. OCLC [http://worldcat.org/oclc/2364570 2364570].</ref> ก่อนจะมีละครเรื่อง ''[[โรมีโอและจูเลียต]]'' ไม่เคยมีการแสดงละครโรมานซ์ที่หยิบยกเอาความรักขึ้นมาเป็นประเด็นทรงคุณค่าสำหรับละครโศกมาก่อนเลย<ref>จิลล์ แอล. ลีเวนสัน (2000) (ed.). บทนำ. ''Romeo and Juliet''. วิลเลียม เชกสเปียร์. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, 49–50. ISBN 0-19-281496-6.</ref> การพูดคนเดียวของตัวละครเคยใช้สำหรับการอธิบายลักษณะของตัวละครหรือช่วยบรรยายเหตุการณ์ในเรื่อง แต่เชกสเปียร์นำมาใช้ในการรำพึงรำพันถึงความในใจของตัวละครตัวนั้น<ref>วูล์ฟกัง คลีเมน (1987). ''Shakespeare's Soliloquies''. ลอนดอน: Routledge, 179. ISBN 0-415-35277-0.</ref> นอกจากนี้ ผลงานของเขายังเป็นแรงบันดาลใจต่อกวีในยุคหลังอย่างมาก กวี[[ยุคโรแมนติก]]พยายามจะฟื้นฟูลักษณะการประพันธ์แบบเชกสเปียร์ขึ้นมาใหม่ แม้จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก จอร์จ สเตนเนอร์ นักวิจารณ์ กล่าวว่า บทกวีอังกฤษในยุคระหว่าง[[แซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์|คอเลริดจ์]]จนถึง[[อัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่หนึ่ง|เทนนีสัน]] เป็นได้แค่ "งานดัดแปลงห่วยๆห่วย ๆ ที่เลียนแบบเชกสเปียร์" เท่านั้น<ref>Dotterer, Ronald L (ed.) (1989). ''Shakespeare: Text, Subtext, and Context''. Selinsgrove, Penn.: Susquehanna University Press, 108. ISBN 0-941664-92-9.</ref>
 
เชกสเปียร์ยังมีอิทธิพลต่อนักเขียนนวนิยายเช่น [[โทมัส ฮาร์ดี]]<ref>ไมเคิล มิลเกต และ คีธ วิลสัน (2006). ''Thomas Hardy Reappraised: Essays in Honour of Michael Millgate'' โตรอนโต: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแห่งโตรอนโต, 38. ISBN 0-8020-3955-3.</ref> [[วิลเลียม ฟอลค์เนอร์]]<ref>ฟิลิป ซี. คอลิน (1985). ''Shakespeare and Southern Writers: A Study in Influence''. แจ็กสัน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแห่งมิสซิสซิปปี, 124.</ref> และ [[ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์]] ดิคเก้นส์นี้มักอ้างถึงงานประพันธ์ของเชกสเปียร์ และวาดภาพจากงานของเชกสเปียร์ถึง 25 ภาพ<ref>วาเลรี แอล เกเกอร์ (1996). ''Shakespeare and Dickens: The Dynamics of Influence''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 163, 186, 251. ISBN 0-521-45526-X.</ref> นวนิยายที่มีตัวละครคนเดียวของนักประพันธ์ชาวอเมริกัน ชื่อ [[เฮอร์แมน เมลวิลล์]] ถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากเชกสเปียร์อย่างมาก กัปตัน อาฮับ ในเรื่อง [[โมบิดิก]] (Moby-Dick) ซึ่งเป็นวีรบุรุษรันทดที่คลาสสิกมาก ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากเรื่อง ''King Lear''<ref>จอห์น ไบรแอนท์ (1998). "Moby Dick as Revolution". ใน ''The Cambridge Companion to Herman Melville''. Robert Steven Levine (ed.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 82. ISBN 0-521-55571-X.</ref> นักวิชาการยังสามารถระบุงานดนตรีมากกว่า 20,000 ชิ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับผลงานของเชกสเปียร์ ในจำนวนนี้รวมถึงละคร[[โอเปรา]]สองเรื่องของ[[จูเซปเป แวร์ดี]] เรื่อง Otello และ Falstaff ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับบทละครต้นฉบับอย่างเห็นได้ชัด<ref>จอห์น กรอสส์ (2003). "Shakespeare's Influence". ใน ''Shakespeare: An Oxford Guide''. สแตนลีย์ เวลส์ และ ลีนา โคเวน ออร์ลิน (eds.). ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, 641–2. ISBN 0-19-924522-3.</ref> เชกสเปียร์ยังส่งแรงบันดาลใจต่อศิลปินนักวาดภาพจำนวนมาก รวมถึงศิลปินใน[[ยุคโรแมนติก]]และ[[กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล]]<ref>รอย พอตเตอร์ และ ทีค มิคูลาส (1988). ''Romanticism in National Context''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 48. ISBN 0-521-33913-8.</ref><ref>ไลโอเนล แลมเบอร์น (1999). ''Victorian Painting''. ลอนดอน: ไฟดอน, 193–8. ISBN 0-7148-3776-8.</ref> ศิลปินยุคโรแมนติก[[ชาวสวิส]]คนหนึ่งชื่อ [[อองรี ฟูเซลี]] ซึ่งเป็นสหายของ[[วิลเลียม เบลก]] ถึงกับลงมือแปลเรื่อง ''[[แมคเบธ]]'' ไปเป็น[[ภาษาเยอรมัน]]ทีเดียว<ref>จูเลีย พาไรส์ (2006). "The Nature of a Romantic Edition". ใน ''Shakespeare Survey 59''. Peter Holland (ed.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 130. ISBN 0-521-86838-6.</ref> [[นักจิตวิทยา]] [[ซีคมุนท์ ฟร็อยท์]] ยังใช้ตัวอย่างงานของเชกสเปียร์โดยเฉพาะเรื่อง ''[[แฮมเล็ต]]'' ไปเป็นทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์<ref>นิโคลัส รอยล์ (2000). "To Be Announced". ใน ''The Limits of Death: Between Philosophy and Psychoanalysis''. โจแอน มอร์รา, มาร์ค รอบสัน, มาร์ควาร์ด สมิธ (eds.). แมนเชสเตอร์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์. ISBN 0-7190-5751-5.</ref>
 
ในยุคของเชกสเปียร์ รูปแบบไวยากรณ์และการสะกดคำในภาษาอังกฤษยังไม่สู้จะเป็นมาตรฐานดังเช่นปัจจุบัน การใช้ภาษาของเชกสเปียร์มีบทบาทสำคัญที่ช่วยจัดรูปแบบให้ภาษาอังกฤษใหม่<ref>เดวิด คริสตัล (2001). ''The Cambridge Encyclopedia of the English Language''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 55–65, 74. ISBN 0-521-40179-8.</ref> ในหนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (A Dictionary of the English Language) ของ [[ซามูเอล จอห์นสัน]] ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกในตระกูลพจนานุกรมทั้งหมด อ้างอิงถึงเชกสเปียร์มากกว่านักเขียนคนอื่นๆอื่น ๆ มาก<ref>จอห์น เวน (1975). ''Samuel Johnson''. นิวยอร์ก: ไวกิง, 194. ISBN 0-670-61671-0.</ref> สำนวนบางอย่างเช่น "with bated breath" (จาก ''เวนิสวาณิช'') และ "a foregone conclusion" (จาก ''โอเธลโล'') ก็กลายเป็นที่ใช้อยู่ทั่วไปในคำพูดภาษาอังกฤษในปัจจุบัน<ref>แจ็ค ลิงก์ (2002). ''Samuel Johnson's Dictionary: Selections from the 1755 Work that Defined the English Language''. เดลเรย์บีช ฟลอริด้า: สำนักพิมพ์เลเวนเจอร์, 12. ISBN 1-84354-296-X.</ref>
 
== ชื่อเสียงและคำวิจารณ์ ==