ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลสมิติเวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
}}
 
'''บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)''' ดำเนินธุรกิจด้านการรักษาพยาบาลซึ่งเป็น[[โรงพยาบาล]]เอกชน ภายใต้ชื่อ '''โรงพยาบาลสมิติเวช''' เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเครือบริษัท [[กรุงเทพดุสิตเวชการ]] จำกัด (มหาชน) โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง ในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) และมีบริการรักษาพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (Out Patient Clinic)<ref>[https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=SVH&ssoPageId=3&language=th&country=TH บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย</ref> เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2522 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในซอยสุขุมวิท 49 จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 ร้อยละ 40 ของคนไข้เป็นชาวต่างชาติ<ref name=Reismanp177>Reisman, David A. ''Health Tourism: Social Welfare Through International Trade''. [[Edward Elgar Publishing]], January 1, 2010. {{ISBN|1849805539}}, 9781849805537. p. [https://books.google.ca/books?id=P8PwZOoYCtsC&pg=PA177 177].</ref> และจากข้อมูลปี 2560 โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ท้งสองแห่งสร้างรายได้ประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งร้อยละ 46 มาจากลูกค้านานาชาติ และร้อยละ 54 เป็นลูกค้าชาวไทย และเกือบร้อยละ 20 เป็นชาวญี่ปุ่น<ref>[https://mgronline.com/celebonline/detail/9600000039144 สมิติเวชสร้างชื่อให้การแพทย์ไทย คว้ารางวัลติด 1 ใน 10 โรงพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโลก]</ref> นอกจากนี้ยังให้บริการรักษาพยาบาลแบบไม่รู้ผู้ป่วยค้างคือค้างคืน มี 2 แห่ง คือ สมิติเวชสุวรรณภูมิ คลินิกเวชกรรม และสมิติเวชดอนเมือง คลินิกเวชกรรม<ref name="รายงานประจำปี 2560"/>
 
บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในนาม บริษัท สุขุมวิท เวชกิจ จำกัด โดย[[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เป็นผู้ตั้งชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มีความหมายว่า "ที่รวมแห่งแพทย์" บริษัทจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]]เมื่อปี 2532 และเมื่อ 11 พฤษภาคม 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สมิติเวช จำกัด จากนั้นแปรเปลี่ยนมาเป็นบริษัทมหาชนเมื่อ 25 เมษายน 2536 ในปี 2536 นี้เองที่ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งที่สอง ที่ชื่อ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 โรงพยาบาลสมิติเวชแห่งแรก เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท<ref name="รายงานประจำปี 2560">[http://www.set.or.th/dat/annual//A0190T17.zip รายงานประจำปี 2560 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)]</ref>