ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอกันตัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JamikornJalong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ในปี [[พ.ศ. 2434]] ทางการได้ยุบเมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง ต่อมามีประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) แบ่งท้องที่การปกครองเป็น[[อำเภอ]] จังหวัดตรังมี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอบางรัก อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอสิเกา และอำเภอปะเหลียน มีตำบลรวม 109 ตำบล
 
ต่อมา [[พ.ศ. 2444]] พระยารัษฎาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล[[มณฑลภูเก็ต]] มีผู้ว่าราชการเมืองตรังต่อจากพระยารัษฎาฯ 5 คน พอถึง [[พ.ศ. 24582457]] สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (สิน เทพหัสดินฯ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทรราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ฯ) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่าเมืองที่กันตังอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม เนื่องจากตอน[[สงครามโลก]]ครั้งที่ 1 เรือดำน้ำเรือลาดตระเวนของเยอรมันชื่อเอ็มเด็น(SMS ''Emden)'' ได้ลอยลำยิงถล่มปีนัง หากมีสงครามเกิดขึ้นอีก เมืองตรังอาจจะถูกยิงเช่นปีนัง รวมทั้งพื้นที่ลุ่ม และมีโรคระบาด หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จฯ เมืองตรัง พ.ศ. 2458 แล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองไปตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายไปเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2458]]
 
ปัจจุบันกันตังยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยมีการส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเทียบเรือกันตังโดยใช้เรือลากจูง ให้บริการระหว่างเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็น[[ยางพารา]]และไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าเทกองประเภทแร่[[ยิปซัม]]และ[[ถ่านหิน]]