ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประกันภัยยานพาหนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead ย้ายหน้า ประกันภัยรถยนต์ ไปยัง ประกันภัยยานพาหนะ: ใช้คำว่ายานพาหนะเพื่อครอบคลุม มิใช่รถยนต์อย่างเดียว
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ประกันภัยยานพาหนะ''' หรือ'''ประกันภัยรถยนต์''' คือ[[การประกันภัย]]สำหรับ[[รถยนต์]] [[รถบรรทุก]] [[รถจักรยานยนต์]] และยานพาหนะอื่น ๆ บนท้องถนน การใช้หลัก ๆ คือการใช้เงินเพื่อคุ้มกันความเสียหายหรือการบาดเจ็บทางกายที่เกิดจากการชนกันบนท้องถนน และเพื่อป้องกันความรับผิดที่อาจเกิดจากเหตุดังกล่าวได้ การประกันรถยนต์อาจเสนอการคุ้มกันด้วยเงินเพิ่มเติมในกรณียานพาหนะถูกโจรกรรม และความเสียหายที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากอุบัติเหตุ เช่น [[การทำลายทรัพย์สิน|การถูกขีดข่วน]] อากาศหรือ[[ภัยธรรมชาติ]] และคุ้มกันความเสียหายจากการชนวัตถุที่อยู่นิ่ง ในแต่ละประเทศอาจมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับประกันภัยแตกต่างกันไป
{{มุมมองสากล}}
{{ต้นฉบับ}}
 
== ประกันภัยรถยนต์ ==
'''ประกันภัยรถยนต์''' คือ การประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ ในที่นี้รวมถึงรถโดยสารส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก การประกันรถยนต์ เกิดขึ้นหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]ในหลายเมืองใหญ่ ในช่วงนั้นการขับรถยนต์ค่อนข้างมีอันตราย ในตอนนั้นยังไม่มีการบังคับประกันรถยนต์ นั่นหมายถึงผู้ประสบภัยรถยนต์มักไม่ค่อยได้รับการชดเชยจากอุบัติเหตุ และผู้ขับมักได้รับพิจารณาว่าต้องจ่ายค่าเสียหายต่อรถยนต์รับทรัพย์สิน การบังคับประกันภัยรถยนต์ มีการใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักร จากพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ค.ศ. 1930<ref>http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1988/52/contents</ref>
 
=== เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย ===
ในประเทศไทยแบ่งการประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ '''ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และ'''[[ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ]]''' (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3 หรือชั้น 3+ ) โดยทั้งสองกรมธรรม์จะให้การคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
 
[[ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance|ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance)]]
พ.ร.บ. รถใช้คุ้มครองการรักษาพยาบาลคนที่เกิดอุบัติเหตุจากรถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนเจ็บจะได้รับการรักษาแน่นอน และเป็นส่วนที่เราต้องแสดงเอกสารเมื่อเวลาไปต่อทะเบียนรถ เพราะเป็นการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกรมธรรม์ที่บังคับโดยกฎหมายกล่าวคือรถยนต์ทุกคัน ไม่ว่าจะเป็น รถใหม่ป้ายแดง หรือรถเก่านาน 10 ปี จะต้องมีกรมธรรม์ดังกล่าว โดยในประเทศไทยเรียกกันสั้น ๆ ว่า พรบ.รถยนต์ ซึ่งบังคับให้รถทุกคันจะต้องลงทะเบียน และต่อในทุกๆ ปี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะถูกจับดำเนินคดีตามกฏที่ได้ระบุไว้ใน พรบ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
 
====== หากเกิดเหตุ พ.ร.บ. รถ ช่วยค่าเสียหายเบื้องต้น ======
 
* ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก เจ้าของกรมธรรม์จะได้รับ ภายใน 7 วัน คนละ 30,000 บาทในกรณีบาดเจ็บ และคนละ 35,000 บาทในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์
* กรณีได้รับบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท
* กรณีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ จะได้รับเงินค่าทำศพคนละ 35,000 บาท
* แต่ถ้ารักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตก็จะได้รับค่าชดเชย คนละไม่เกิน 65,000 บาท
 
====== เอกสารที่ต้องใช้เบิกเคลม พ.ร.บ. ======
 
* ใบแจ้งความ (บันทึกประวัน) ที่สถานีตำรวจไว้เป็นหลักฐาน
* ใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
* สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ประสบเหตุ หรือใบมรณะบัตร
* สำเนาบัตรประชนชนของทายาท
 
====== ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถ ผิดกฎหมาย ======
ผู้ขับขี่มีความผิดตามกฎหมายจราจรและโดนค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท
 
==== ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) ====
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย สำหรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ได้แก่ ประกันที่ผู้ขับรถจะต้องซื้อต้องทำการต่อทุกปี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า ประกันรถชั้น 1 ประกันรถชั้น 2+ ประกันรถชั้น 3 หรือประกันรถชั้น 3+ ในส่วนความคุ้มครองนี้ คุณสามารถซื้อเพิ่มเติมได้จากพ.ร.บ. ภาคบังคับ
 
====== ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย ======
ประกันชั้น 1
 
เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
 
* คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
* คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
* คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
* คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
 
'''ประกันชั้น 2+''' '''หรือประกันชั้น 2 พลัส'''
 
ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
 
* คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
* คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
* คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
 
'''ประกันชั้น 3+ หรือประกันชั้น 3 พลัส'''
 
ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
 
* คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
* คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
* คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
 
'''ประกันชั้น 3'''
 
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
 
* คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
* คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
 
== อ้างอิง ==