ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเถี่ยว จิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
唐吉訶德的侍從 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงรับช่วงต่อสงคราม[[อานัมสยามยุทธ|อานามสยามยุทธ]]มาจากรัชสมัยของพระราชบิดาพระจักรพรรดิมิญหมั่ง เวียดนามเข้าครอบครองอาณาจักรกัมพูชาไว้ตั้งแต่ปี[[ค.ศ. 1834]] โดยตั้งนักองค์มี ขึ้นเป็นกษัตรีองค์มีเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของราชสำนักเวียดนามในการปกครองกัมพูชา ผนวกกัมพูชาเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของเวียดนามมีชื่อว่า เจิ๊นเต็ย (Trấn Tây, 鎮西) และมีเจืองมิญสาง (Trương Minh Giảng, 張明講) หรือที่รู้จักในพงศาวดารไทยว่า องเตียนกุน เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิมีอำนาจเหนือกัมพูชา นโยบายการกลืนชาติของพระจักรพรรดิมิญหมั่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเขมร ชาวเขมรถูกบังคับให้นับถือ[[ลัทธิขงจื๊อ|ลัทธิขงจื้อ]]และแต่งกายแบบเวียดนาม ในค.ศ. 1841 พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงปลดกษัตรีองค์มีออกจากราชบัลลังก์เขมร ทำให้อาณาจักรเขมรปราศจากเจ้าปกครอง บรรดาขุนนางเขมรต่างตั้งตนเป็นอิสระ
 
หลังจากที่พระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จสวรรคต ชาวกัมพูชาก่อการกบฎต่อต้านการปกครองของเวียดนาม สังหารข้าราชการชาวเวียดนามไปจำนวนมาก องเตียนกุนเจืองมิญสางจึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการนำกษัตรีองค์มีกลับมาครองกัมพูชาอีกครั้ง แต่ทว่าไม่ทันการฝ่ายกองทัพและฝ่ายการปกครองของเวียดนามไม่อาจตั้งอยู่ในกัมพูชาได้อีกต่อไป ในค.ศ. 1841 เจืองมิญสางจึงนำกองทัพเวียดนามพร้อมทั้งนักองค์มีล่าถอยกลับมายังเมืองโจฏก หรือ เจิวด๊ก (Châu Đốc) ในเวียดนามภาคใต้ เจืองมิญสางเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ไม่อาจรักษากัมพูชาไว้ได้ จึงกระทำการ[[อัตวินิบาตกรรม]]ดื่มยาพิษเสียชีวิตไปในที่สุด ในโอกาสนี้ [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ยกทัพฝ่ายสยามเข้าครองนคร[[อุดรมีชัย|อุดงมีชัย]]และนคร[[พนมเปญ]]ได้อย่างรวดเร็ว [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระบรมราชโองการให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์]] ทรงเป็นแม่ทัพเรือนำทัพเรือสยามเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศ และโปรดฯให้เจ้าพระยายมราชพร้อมทั้ง[[นักองค์ด้วง]]นำทัพบกยกไปทางเมืองโจฏก พระจักรพรรดิเถี่ยวจิมีพระราชโองการให้ เหงียนจิเฟือง (Nguyễn Tri Phương, 阮知方) ยกทัพจากเมืองไซ่ง่อนเข้าช่วยเหลือและป้องกันเองบันทายมาศจากการโจมตีของทัพเรือสยาม ฝ่ายทัพเรือสยามเมื่อทราบว่าฝ่ายเวียดนามกำลังจะยกทัพใหญ่มาช่วยเมืองบันทายมาศ และลมมรสุมไม่เอื้ออำนวย จึงยกทัพเรือถอยออกจากเมืองบันทายมาศ<ref>{{cite book|chapter-url=http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%92-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD|chapter=๑๘๒. หนังสือบอกจมื่นไวยวรนารถถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องถอยทัพเรือ |title=พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓|author=เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)}}</ref> เหงียนจิเฟืองเมื่อเห็นว่าทัพเรือสยามยกกลับไปแล้ว จึงยกทัพเข้าโจมตีทัพสยามของเจ้าพระยายมราชและนักองค์ด้วงที่เมืองโจฏกแตกพ่ายไป
 
ใน[[ค.ศ. 1845]] กองทัพฝ่ายเวียดนามยกทัพมายึดเมืองพนมเปญจากสยามกลับไปได้สำเร็จอีกครั้ง และยกทัพเข้ารุกรานเมืองอุดงมีชัย แต่ยังไม่ทันที่กองทัพจะถึงเมืองอุดง เจ้าพระยาบดินทรเดชานำทัพสยามเข้าโจมตีทัพเวียดนามอย่างไม่ทันรู้ตัวจนแตกพ่ายไป<ref>{{cite book|chapter-url=http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%94-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9B|chapter= ๒๑๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาตีทัพญวนแตกถอยไป |title=พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓|author=เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)}}</ref> ฝ่ายเวียดนามจึงตั้งมั่นอยู่ที่นครพนมเปญ เมื่อสงครามระหว่างเวียดนามและสยามดำเนินมาเป็นเวลาสิบกว่าปีอย่างไม่ประสบผล ทั้งฝ่ายต่างคุมเชิงกันไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้ สูญเสียกำลังคนและทรัพยากร การเจรจาจึงเริ่มขึ้นด้วยการราชสำนักเวียดนามมีพระราชสาสน์ไปถึงนักองค์ด้วงว่า หากยอมสวามิภักดิ์ต่อเมืองเว้จะมอบเชื้อพระวงศ์เขมรที่เคยถูกจับไปเป็นองค์ประกันที่เมืองเว้กลับคืนให่แก่นักองค์ด้วง<ref>{{cite book|chapter-url=http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%98-%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5|chapter= ๒๑๘. ญวนพูดกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทางไมตรี |title=พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓|author=เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)}}</ref> ทางฝ่ายสยามส่งราชฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังเมืองเว้ใน[[ค.ศ. 1846]] แม้ว่าทางราชสำนักเวียดนามจะต้อนรับฑูตสยามอย่างเย็นชาและพระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงไม่ตรัสปราศรัยกับคณะฑูตสยามแต่ประการใดเลยก็ตาม<ref>{{cite book|chapter-url=http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%93%E0%B9%91-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1|chapter=๒๓๑. ราชทูตที่ไปเมืองเว้เฝ้าเจ้าเวียดนาม |title=พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓|author=เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)}}</ref>
 
==== การรุกรานของฝรั่งเศส ====
บรรทัด 48:
 
==== ปลายรัชสมัย ====
ในค.ศ. 1846 พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงแต่งตั้งให้นักองค์ด้วงเป็น กาวเมียนโกว๊กเวือง (Cao Miên Quốc vương , 高棉國王) หรือ "กษัตริย์แห่งเขมร" พร้อมทั้งพระราชทานตราตั้งและเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประกอบยศต่างๆ<ref>{{cite book|chapter-url=http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%93%E0%B9%92-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87|chapter=๒๓๒. เจ้าเวียดนามให้พระองค์ด้วงเป็นเกามันกวัดเวือง|title=พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓|author=เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)}}</ref> ในฐานะเจ้าประเทศราชของอาณาจักรดั่ยเหวิยด ส่งบรรณาการให้แก่ทั้งราชสำนักเวียดนามเมืองเว้และฝ่ายสยามกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งเหนืออาณาจักรกัมพูชาระหว่างเวียดนามและสยามที่ยืดเยื้อกินเวลามากกว่าสิบปี
 
ในรัชกาลของพระจักรพรรดิเถี่ยวจินั้นไม่มีการแต่งตั้งท้ายตื๋อ หรือ เจ้าชายรัชทายาท ตามหลักการของลัทธิขงจื้อ ซึ่งให้ความสำคัญแก่บุตรชายคนโตมากที่สุด ทำให้เป็นที่คาดการณ์ว่า พระโอรสองค์โตของจักรพรรดิเถี่ยวจิคือ เจ้าชายอันเฟิงกง (An Phong công, 安豐公) เหงียนฟุกห่งบ๋าว (Nguyễn Phúc Hồng Bảo, 阮福洪保) จะได้ครองราชสมบัติต่อจากพระชนกาธิราช แต่ทว่าหลังจากที่พระจักรพรรดิเถี่ยวจิเสด็จสวรรคตเมื่อค.ศ. 1847 นั้น เมื่อเปิดพระราชโองการออกดูปรากฎว่า พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงยกราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์รองคือ เจ้าชายฟุกตวีกง (Phúc Tuy công, 福隆公) เหงียนฟุกห่งเหญิ่ม (Nguyễn Phúc Hồng Nhậm, 阮福洪任) จักรพรรดิเถี่ยวจิโปรดพระโอรสองค์รองเจ้าชายฟุกตวีกงเหงียนฟุกห่งเหญิ่มมากกว่า เนื่องเจ้าชายเหงียนฟุกห่งเหญิ่มทรงมีนโยบายต่อต้านการขยายอำนาจของชาติตะวันตก<ref>Bunbury, Turtle. '''1847: A Chronicle of Genius, Generosity & Savagery'''. Gill & Macmillan Ltd, 23 ก.ย. 2559.</ref> เจ้าชายเหงียนฟุกห่งเหญิ่มจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระจักรพรรดิเถี่ยวจิ เป็น [[จักรพรรดิตึ ดึ๊ก|พระจักรพรรดิตึ ดึ๊ก]] (Tự Đức, 嗣德)