ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลแม่กา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Preechajaihan (คุย | ส่วนร่วม)
Preechajaihan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
 
== ประวัติ ==
ตำบลแม่กามีลำห้วยแม่กาและน้ำแม่ต๋ำ ซึ่งไหลมาบรรจบกันที่หมู่บ้านแม่กาหลวง ห่างจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 500 เมตร ก่อตั้งได้ประมาณ 60 ปี แต่เดิมแล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารกร้างไม่มีผู้คนมาอาศัยอยู่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาพันธุ์ บริเวณนี้จึงเป็นทางผ่านของบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้าบรรทุกเกวียนมาขายจากจังหวัดพะเยาเพื่อไปขายยังจังหวัดลำปาง พ่อค้าเหล่านี้จะเห็นภูมิศาสตร์ที่จะสามารถตั้งรกรากทำการเกษตรฯ ไร่นา ได้ ต่อมามีประชาชนย้ายเข้ามาอาศัยจนจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงทำการตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น ประชากรส่วนใหญ่จะอพยพมาจากอำเภองาว จังหวัดลำปาง เนื่องจากมีชายแดนที่ใกล้กัน โดยหมู่บ้านที่ทำการจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแรกของตำบล คือ “บ้านแม่กาหลวง” เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีแม่น้ำไหลผ่านล้อมรอบมาแต่เดิมจึงเรียกกันว่า “บ้านแม่กาน้ำล้อม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแม่กาหลวง ต่อมาจำนวนประชากรหนาแน่นขึ้นพร้อมกับมีหลายหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ขึ้นมาอีกหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านแม่กาโทกหวาก บ้านแม่กาห้วยเคียน บ้านแม่กาไร่ บ้านแม่กานาไร่เดียว บ้านแม่กาหัวทุ่ง บ้านแม่กาหม้อแกงทอง และบ้านแม่กาท่าข้าม และได้รวมบ้านแม่ต๋ำบุญโยงเข้าเป็นหมู่บ้านโดยตั้งชื่อเป็น “ตำบลแม่กา” สาเหตุที่เรียกว่าตำบลแม่กา มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยก่อนชาวบ้านที่อพยพมาไม่มากนัก แต่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน คือ ได้มีพ่อค้าเกวียนเดินทางผ่านมาแวะพักผ่อนที่ใต้ต้นตะเคียนใหญ่ใกล้ลำห้วย ขณะกำลังทานอาหารกลางวัน พ่อค้าเอาหม้อแกงไปตักน้ำที่ลำห้วย พอตกกลางคืน ก็เกิดอาถรรพ์มีเสือมาคาบเอาพ่อค้าคนที่ไปตักน้ำที่ลำห้วยกิน และถ้าส่วนใหญ่ถ้าหมู่บ้านใด มีอีการ้องรอบ ๆ หมู่บ้านก็จะมีคนในหมู่บ้านตาย 1 คน เป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแม่กา” และด้วยอาถรรพ์ของลำห้วยจึงตั้งชื่อห้วยว่า “ห้วยแม่กา” ปัจจุบันห้วยแม่กาจะมีน้ำไหลตลอดปีจนถึงปัจจุบัน
 
== ภูมิศาสตร์ ==