ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองอุตรดิตถ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
== ประวัติ ==
=== ที่มาของชื่ออุตรดิตถ์ ===
'''อำเภอเมืองอุตรดิตถ์''' เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนสมัยโบราณ มีชื่อที่ใช้เรียกดั้งเดิมจากท่าน้ำ 3 ท่าน้ำที่เป็นท่าน้ำประวัติศาสตร์ของอุตรดิตถ์ คือ ท่าโพธิ์ ท่าเสา และท่าอิฐ สันนิษฐานว่า ชื่อท่าโพธิ์ เนื่องจากมีต้นโพธิ์มากในบริเวณนั้น และมีคลองไหลผ่าน จึงเรียกคลองนั้นว่า คลองบางโพธิ์ (เพี้ยนมาเป็นบางโพ) ชื่อของคลองโพธิ์นี้เป็นชื่อที่ทำให้เกิดบริเวณที่เรียกว่า ปากน้ำโพธิ์ใน [[จังหวัดนครสวรรค์]] บริเวณท่าโพธิ์ ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดท่าถนน วัดคลองโพธิ์ และตลาดคลองโพ หรือก็คือตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน ท่าเสา มาจากคำว่า เซา เป็นภาษาเหนือ แปลว่า เหนื่อย ส่วนท่าอิฐ (ท่าอิด) เป็นภาษาเหนือ คำว่า อิด แปลว่า เหนื่อย เนื่องจากการเดินทางมาค้าขายที่ท่าอิดทางเรือ และทางบกของจังหวัดภาคเหนือและภาคกลางสมัยโบราณ กว่าจะถึงก็เหนื่อย ความหมายของท่าอิฐและท่าเสาในอีกความเห็นหนึ่งนั้น พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมศิลปากร กล่าวไว้ในหนังสือของท่านคัดค้านการสันนิษฐานความหมายตามภาษาคำเมืองดัง กล่าว โดยกล่าวว่า คำว่าท่าอิฐและท่าเสานั้นเป็นคำในภาษาไทยกลาง เพราะคนท่าอิฐและท่าเสาเป็นกลุ่มชนสุโขทัยดั้งเดิมที่ใช้กลุ่มภาษาไทยกลุ่ม เมืองในแคว้นสุโขทัย เช่นเดียวกับชาวสุโขทัย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และเช่นเดียวกับกลุ่มคนในตำบลทุ่งยั้ง บ้านพระฝาง เมืองพิชัย บ้านแก่ง และบ้านคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นกลุ่มคนแคว้นสุโขทัยเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์เช่นเดียวกัน โดยคำว่าท่าเสานั้น มีความหมายโดยตรงเกี่ยวข้องกับการล่องซุงหมอนไม้ในสมัยโบราณเช่นเดียวกับ ชื่อนามหมู่บ้านหมอนไม้ (หมอนไม้ซุง) ซึ่งอยู่ทางใต้ของบ้านท่าอิฐ
ท่าอิดเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าใน ภาคเหนือ เป็นท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือ และภาคกลางรวมถึงเชียงตุงเชียงแสนหัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนาสิบสองจุไทย เดิมท่าอิดอยู่ในความปกครองของขอมตลอดจน ถึงสมัยสุโขทัย ขอมหมดอำนาจ ท่าอิดจึงเป็นเมืองท่าขึ้นอยู่กับเมืองทุ่งยั้ง อันเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย สมัยต่อมาแคว้นน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้ามาตลอดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อที่ใช้เรียกในระยะเวลาต่อมาว่า บางโพธิ์ท่าอิฐ น่าจะเป็นชื่อที่ได้รับการเรียกขึ้นมาในภายหลัง ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ท่าอิฐมีความเจริญขึ้นมากที่สุดใน 3 ท่าน้ำ รัชกาลที่ 4 (ไม่ชัดเจนว่ารัชกาลที่ 4 หรือ 5 เป็นผู้พระราชทานชื่ออุตรดิตถ์ แต่หากยึดตามพ.ศ.ที่พระราชทานตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)จึงทรงพระราชทานชื่อเมืองให้ใหม่ว่า "[[อุตรดิตถ์]]" แปลว่า ท่าน้ำทางภาคเหนือ หรือท่าน้ำทางทิศเหนือ เนื่องจากเป็นท่าน้ำของไทยที่ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ เพราะเหนืออุตรดิตถ์ขึ้นไปในสมัยนั้นเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ( [[อาณาจักรล้านนา]])