ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล มาคส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8058121 สร้างโดย 223.24.165.187 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 77:
ปรัชญาของมากซ์ (ที่เฮเกล เรียกว่า [[วัตถุนิยมประวัติศาสตร์]]) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบ[[วิภาษวิธี]] ([[:en:dialectic|dialectic]]) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น '''thesis + antithesis → synthesis''' (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มากซ์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนว[[จิตนิยม]] ส่วนมากซ์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
 
ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกลนั้น มากซ์ได้รับอิทธิพลมาจาก [[ลุดวิก ฟอยเออร์บาค]] ([[:en:Ludwig Feuerbach|Ludwig Feuerbach]]) ในหนังสือ "The Essence of Christianity" ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่า[[พระเจ้า]]นั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของ[[ความเป็นมนุษย์]]นั่นเอง. มากซ์ยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามากซ์จะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มากซ์ยังเชื่อว่า[[อุดมการณ์]]ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
 
ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกลของมากซ์ คือ หนังสือที่เขียนโดย[[ฟรีดริช เองเงิลส์]] ชื่อว่า "The Condition of the Working Class in England in 1844" (สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844) หนังสือเล่มนี้ทำให้มากซ์มองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของ[[ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น]] และมองเป็นว่า[[ชนชั้นกรรมาชีพ]]สมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ