ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรแฟรงก์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49:
กษัตริย์เมรอวินเจียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ[[โคลวิสที่ 1|โคลวิส]]ที่ขึ้นครองบัลลังก์ในราวปี ค.ศ. 482 พระองค์ถูกบีบตั้งแต่ช่วงต้นรัชสมัยให้ต่อสู้กับผู้นำชาวแฟรงก์คู่แข่งที่ถูกพระองค์สังหารอย่างโหดเหี้ยม เศษสุดท้ายของ[[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]]ถูกพิชิตในปี ค.ศ. 486 เมื่อโคลวิสปราบซีอากริอุสที่เคยปกครอง[[กอล]]ตอนเหนือ พื้นที่ส่วนนั้นของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ถูกเรียกว่า[[เนอุสเตรีย]] (ดินแดนใหม่) ตรงข้ามกับ[[ออสตราเชีย]] (ดินแดนตะวันออก) ที่เป็นอาณาเขตใจกลางดั้งเดิมของชาวแฟรงก์ ทว่าการพิชิตของโคลวิสไปไกลกว่านั้นมาก พระองค์โจมตีและปราบสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิก[[อาเลมันนิ]]ในราวปี ค.ศ. 496 เพิ่มอาณาเขตขนาดใหญ่ให้กับอาณาจักรของตน อิทธิพลจากพระราชินีชาวเบอร์กันเดียน [[โคลทิลดา]] โน้มน้าวพระองค์ให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์หลังทำสมรภูมิกับชาวอาเลมันนิ การตัดสินใจเข้าร่วมศาสนจักรคาทอลิกแทนที่จะเป็นนิกายอาเรียนของศาสนาคริสต์เหมือนกับชนชาวเจอร์มานิกคนอื่น ๆ มีความสำคัญต่อโคลวิสอย่างมาก เนื่องจากทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชากรในราชอาณาจักรเพื่อนบ้านที่มองว่าชาวอาเรียนเป็นพวกนอกรีต
 
ทว่าการต่อสู้กับชาวอาเลอมันนิไม่จบลงจนถึงปี ค.ศ. 502 เมื่ออาณาเขตทั้งหมดของพวกเขาถูกพิชิตโดยชาวแฟรงก์ ยกเว้นพื้นที่เล็กๆเล็ก ๆ ที่ได้รับการคุ้มกันจาก[[ชาวออสโตรกอท|ชาวออสโทรกอธ]] ก่อนหน้านั้น[[แคว้นเบรอตาญ|บริตทานี]]ถูกบีบให้สวามิภักดิ์แม้พวกเขาจะได้เอกราชที่สำคัญมาก็ตาม การพิชิตครั้งสุดท้ายของโคลวิสคือ[[แคว้นอากีแตน|อากีแตน]]ที่ได้มาจาก[[ชาววิซิกอท|ชาววิซิกอธ]]ในปี ค.ศ. 507 การแทรกแซงจากชาวออสโทรกอธขัดขวางไม่ให้พิชิตราชอาณาจักรของชาววิซิกอธได้อย่างสมบูรณ์ การสู้รบยังส่งผลให้โคลวิสได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลโรมันโดยจักรพรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งยิ่งเพิ่มความเกรียงไกรให้กับราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์และทำให้การอ้างสิทธิ์ในการเป็นทายาทของจักรวรรดิโรมันของพวกเขาได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น
 
เมื่อโคลวิสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 511 ราชอาณาจักรถูกแบ่งให้กับพระโอรสทั้งสี่ของพระองค์ รูปแบบดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นซ้ำในช่วงศตวรรษต่อมาและทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์เป็นหนึ่งเดียวกันเพียงช่วงสั้นๆสั้น ๆ ทว่ากษัตริย์เมรอวินเจียนชอบการรบราฆ่าฟันและหลายคนสิ้นพระชนม์ก่อนที่จะมีพระโอรสจึงทำให้ราชอาณาจักรไม่แตกออกจากกันอย่างถาวร แต่ผลที่ตามมาหลังการแบ่งคือกษัตริย์เมรอวินเจียนเริ่มต่อสู้กันเองมากกว่าจะต่อสู้กับศัตรูภายนอก ยกเว้นช่วงปี ค.ศ. 531 – 537 ที่ราชอาณาจักรแฟรงก์พิชิตอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลได้อีกครั้ง ราชอาณาจักรของ[[ชาวธูรินเจียน]]ถูกทำลายและส่วนหนึ่งถูกพิชิตในปี ค.ศ. 531 ราชอาณาจักรของ[[ชาวเบอร์กันเดียน]]ถูกพิชิตในปี ค.ศ. 532 – 534 และผลของการทำสงครามกับชาวออสโทรกอธของจักรพรรดิโรมันตะวันออกทำให้ชาวออสโทรกอธถูกบีบให้ยกส่วนที่เหลืออยู่ของอาเลมันนิกับ[[พรอว็องส์|โพรวองซ์]]ให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 536 – 537 แลกกับการเป็นกลางของชาวแฟรงก์ ในเวลาเดียวกัน[[รัฐบาวาเรีย|บาวาเรีย]]ถูกบีบให้ยอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของชาวแฟรงก์และราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์สร้างความแข็งแกร่งในการควบคุมอากีแตนได้มากขึ้น
 
=== การตกต่ำของชาวเมรอวินเจียนและขึ้นมาของชาวการอแลงเฌียง ===
 
การแบ่งราชอาณาจักรที่ดำเนินต่อไปในหมู่ชาวเมรอวินเจียนส่งผลให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แตกออกเป็นสามส่วน [[นูเอสเตรีย]]ทางตะวันตก, [[ออสตราเชีย]]ทางตะวันออก และ[[เบอร์กันดี]]ทางใต้ พื้นที่รอบนอกอย่าง[[แคว้นเบรอตาญ|บริตทาเนีย]], [[แคว้นอากีแตน|อากีแตน]], [[อาเลมันนิ]], [[ธูรินเจีย]] และ[[รัฐบาวาเรีย|บาวาเรีย]]มักพยายามกอบกู้เอกราชและการต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างชาวเมรอวินเจียนทำให้พวกเขามีโอกาสทำแบบนั้นได้มากขึ้น ชาวธูรินเจียนได้รับเอกราชหลังการสิ้นพระชนม์ของ[[ดาโกแบร์ต์ที่ 1]] ในปี ค.ศ. 639 อากีแตนปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของเมริวินเจียนหลังการฆาตกรรม[[ชิลเดริกที่ 2]] ในปี ค.ศ. 675 รัฐที่เป็นเอกราชอยู่แล้วอย่างบริตทานีกับบาวาเรียปลดปล่อยตนเองจากชาวแฟรงก์ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 สุดท้ายอาเลมันนิหาทางจนได้เอกราชมาในปี ค.ศ. 709 – 712 การพิชิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันเทียบไม่ได้กับส่วนที่สูญเสียไป พื้นที่เล็กๆเล็ก ๆ ใน[[เทือกเขาแอลป์]]ถูกพิชิตมาจาก[[ลอมบาร์ด|ชาวลอมบาร์ด]]ในปี ค.ศ. 575 และ[[จังหวัดฟรีสลันด์|ฟรีสแลนด์]]ตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 689 แต่[[ฟรีเซียน|ชาวฟรีเชียน]]ก็ทำเหมือนกับพื้นที่ที่อยู่รอบนอกแห่งอื่นๆอื่น ๆ พยายามกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาหลายครั้ง
 
กษัตริย์เมรอวินเจียนไม่ได้เสียแค่อาณาเขตในช่วงยุคนี้ อำนาจของพวกเขาในพื้นที่ที่เหลืออยู่ของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ก็ถูกลดลงเช่นกัน เป็นผลมาจากการมีกษัตริย์ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ ตำแหน่ง[[สมุหราชมณเฑียร]]ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลราชอาณาจักรจนกว่าพวกเขาจะถึงวัยที่สมควร แต่เมื่อมันกลายเป็นตำแหน่งถาวรและสืบทอดทางสายเลือด ผู้ครองตำแหน่งเหล่านี้ก็กลายเป็นผู้ปกครองที่แท้จริงของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แม้แต่ในตอนที่มีกษัตริย์เป็นผู้ใหญ่ ในสมรภูมิที่เตอร์ตรีในปี ค.ศ. 687 สมุหราชมณเฑียรแห่งนูเอสเตรียกับเบอร์กันดีถูกปราบโดยผู้ที่มีตำแหน่งเดียวกันในออสตราเชีย [[เปแปงแห่งเฮริสตัน]]ที่ภายหลังปกครองราชอาณาจักรแฟรงก์ทั้งหมด
บรรทัด 63:
=== จักรวรรดิการอแลงเฌียง ===
 
เปแปงผู้ตัวเตี้ยสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 768 และทิ้งราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งที่สุดของยุโรปตะวันตกไว้ให้พระโอรสสองคน [[ชาร์เลอมาญ]]กับแกร์โลมอง แกร์โลมองสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 771 และชาร์เลอมาญใช้แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ของราชอาณาจักรที่เป็นหนึ่งเดียวกันขยายอาณาเขตออกไปทุกทิศทุกทาง เมื่อชาวลอมบอร์ดคุกคามพระสันตะปาปาอีกครั้ง ชาร์เลอมาญบุกอิตาลีและตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ของชาวลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 774 ทว่าราชรัฐชั้นเจ้าชายเบเนเวนโตของชาวลอมบาร์ดในอิตาลียอมรับการเป็นใหญ่เหนือกว่าของชาร์เลอมาญเพียงช่วงสั้นๆสั้น ๆ แตกต่างกับการพิชิตอาณาจักรของชาวลอมบาร์ดที่ทำได้อย่างรวดเร็ว การปราบ[[ชาวแซกซัน|ชาวแซ็กซัน]]ทางตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 772 – 804) นั้นยาวนานและนองเลือก เพื่อทำลายความคิดที่จะต่อต้านของชาวแซ็กซัน ชาร์เลอมาญสังหารหมู่พวกเขาเป็นพัน ๆ คนและเนรเทศชาวแซ็กซันออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวแฟรงก์กับ[[ชาวสลาฟ]]เข้ามาแทนที่ แคว้นจึงสงบลงในท้ายที่สุด บาวาเรียที่มักเป็นข้าราชบริพารที่ไว้ใจไม่ได้ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 788 หลังดยุคของรัฐสมคบคิดกับชาวลอมบาร์ดและชาวอาวาร์ จักรวรรดิของชาวอาวาร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในฮังการีถูกบดขยี้ในปี ค.ศ. 791 – 796 ทำให้พื้นที่ของชาวสลาฟในยุโรปกลางยอมรับความเป็นใหญ่เหนือกว่าของชาร์เลอมาญ ฟรีสแลนด์ตะวันออกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 784 – 785 และบริตทานียอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 799 การสู้รบกับชาวอาหรับไม่ค่อยประสบความสำเร็จแต่ชาร์เลอมาญก็หาทางขยายอิทธิพลไปจนถึง[[แม่น้ำเอโบร]]ได้ในปี ค.ศ. 812 แม้ชาวอาหรับจะเอาคืนด้วยการยึดเกาะบาเลียริกในปี ค.ศ. 798
 
การพิชิตของชาร์เลอมาญนั้นใหญ่มากจนผู้คนมองว่าพระองค์ได้ฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกกลับคืนมา หลังจากนั้นชาร์เลอมาญได้รับการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโดยพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 แต่ธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรกันในหมู่พระโอรสของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวคงอยู่เพียงชั่วคราว ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ยังเป็นรัฐศักดินาร่วมกับการทำสงครามหาผลประโยช์ด้วยการปล้นประเทศเพื่อนบ้าน เมือราชอาณาจักรขยายอาณาเขตออกไป การปล้นหาผลประโยชน์ก็ลดลงพอ ๆ กับความจงรักภักดีของขุนนางในยามที่มองไม่เห็นโอกาสที่จะได้รางวัลมากมายจากการรับใช้ จึงทำให้จักรวรรดิของชาวแฟรงก์หลังการสิ้นพระชนม์ของชาร์เลอมาญในปี ค.ศ. 814 พังครืนภายใต้แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก จนทำให้แตกออกเป็นรัฐศักดินาเล็ก ๆ จำนวนมากมาย