ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
 
ในปี [[พ.ศ. 2485]] ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพาขึ้น สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้น ในอุตสาหกรรม ทุกระดับไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์น้อยลงไป ภาพยนตร์ที่สร้างออกฉายส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด ซึ่งหนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่น ในปีนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนวิจิตรมาตรามีหน้าที่ใน การประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยท่านได้ผูกเอาเรื่องราว ของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ อันสอดคล้องกับนโยบาย การบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น นอกจากประพันธ์บทแล้ว ท่านยังได้ประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]]เป็นผู้ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และเป็นเพลงที่[[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ยกย่องว่า เป็น[[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
 
ภายหลังจาก
 
 
ในยุคที่[[ภาพยนตร์ไทย]] ใช้เป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร และการพากย์แทน ภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตรมาตรฐานเสียงในฟิล์ม ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ขุนวิจิตรมาตรา ก็ยุติการสร้างภาพยนตร์ลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามท่านก็มิอาจตัดขาด จากภาพยนตร์ ได้นานนัก ก็ต้องวนกลับมาทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2495]] เรื่อง "ทะเลรัก" ซึ่งอำนวยการสร้างโดย นาย [[เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์]] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2496 ท่านได้สร้าง ภาพยนตร์มาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ท่านได้ ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 เรื่อง " วารุณี " ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ ประสพความสำเร็จพอสมควร แต่ท่านก็ไม่สร้าง ภาพยนตร์ต่ออีกเลยเป็นเวลา 16 ปี