ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ส่วนขุนวิจิตรมาตรา หลังจากกำกับภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" แล้วก็ได้ ร่วมงานกับ[[บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]]มาโดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งภาพยนตร์ข่าวสารคดี และภาพยนตร์บันเทิงคดีอาทิเช่น ภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี (2475) ภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ [[สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]] (2475) ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ ประเภทข่าวสารคดี ส่วนภาพยนตร์บันเทิงคดีที่โดดเด่น อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" (2476) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีการย้อมสีเป็นบางฉากเรื่องแรกของไทย ต่อมาภาพยนตร์เรื่อง "เลือดทหารไทย" (2477) ภาพยนตร์ที่แสดงแสนยานุภาพ ของ[[กองทัพไทย]] ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จาก[[กระทรวงกลาโหม]]ให้สร้าง หรือภาพยนตร์เรื่อง "เพลงหวานใจ" (2480) ภาพยนตร์เพลงที่ลงทุนสูง เป็นประวัติการณ์ของศรีกรุง โดยเฉพาะการเนรมิตฉาก ประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง
 
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์
ขุนวิจิตรมาตรา ยังมีผลงานการแต่ง เพลงประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ขุนวิจิตรมาตราจะรับหน้าที่ในการประพันธ์คำร้องมากกว่า บทเพลงหลายเพลงที่ท่านแต่ง มักได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องแม้ ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะออกจากโรงไปแล้ว อาทิ เพลง "บัวบังใบ" และ เพลง "ขึ้นพลับพลา" จากภาพยนตร์เรื่องหลงทาง (2475) เพลง "ลาทีกล้วยไม้" จากภาพยนตร์เรื่อง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476) เพลง "กุหลาบในมือเธอ" จากภาพยนตร์เรื่อง เลือดทหารไทย (2477) เพลง "บวงสรวง" จากภาพยนตร์เรื่อง เมืองแม่หม้าย (2470) เพลง "เธอใกล้หรือไกล" จากภาพยนตร์เรื่อง เพลงหวานใจ (2480) เป็นต้น
 
ในปี [[พ.ศ. 2485]] ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพาขึ้น สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้น ในอุตสาหกรรม ทุกระดับไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์น้อยลงไป ภาพยนตร์ที่สร้างออกฉายส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด ซึ่งหนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่น ในปีนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนวิจิตรมาตรามีหน้าที่ใน การประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยท่านได้ผูกเอาเรื่องราว ของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ อันสอดคล้องกับนโยบาย การบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น นอกจากประพันธ์บทแล้ว ท่านยังได้ประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]]เป็นผู้ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และเป็นเพลงที่[[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ยกย่องว่า เป็น[[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 37:
 
=== บทเพลง ===
ขุนวิจิตรมาตรา ยังมีผลงานการแต่ง เพลงประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ขุนวิจิตรมาตราจะรับหน้าที่ในการประพันธ์คำร้องมากกว่า บทเพลงหลายเพลงที่ท่านแต่ง มักได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องแม้ ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะออกจากโรงไปแล้ว อาทิ เพลง "บัวบังใบ" และ เพลง "ขึ้นพลับพลา" จากภาพยนตร์เรื่องหลงทาง (2475) เพลง "ลาทีกล้วยไม้" จากภาพยนตร์เรื่อง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476) เพลง "กุหลาบในมือเธอ" จากภาพยนตร์เรื่อง เลือดทหารไทย (2477) เพลง "บวงสรวง" จากภาพยนตร์เรื่อง เมืองแม่หม้าย (2470) เพลง "เธอใกล้หรือไกล" จากภาพยนตร์เรื่อง เพลงหวานใจ (2480) เป็นต้น
* เพลงบวงสรวง (จากภาพยนตร์เรื่อง "เมืองแม่หม้าย" - พ.ศ. 2470)
* เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) (จากภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" - พ.ศ. 2474)