ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 14:
ขุนวิจิตรมาตรา ยังมีผลงานการแต่ง เพลงประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ขุนวิจิตรมาตราจะรับหน้าที่ในการประพันธ์คำร้องมากกว่า บทเพลงหลายเพลงที่ท่านแต่ง มักได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องแม้ ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะออกจากโรงไปแล้ว อาทิ เพลง "บัวบังใบ" และ เพลง "ขึ้นพลับพลา" จากภาพยนตร์เรื่องหลงทาง (2475) เพลง "ลาทีกล้วยไม้" จากภาพยนตร์เรื่อง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476) เพลง "กุหลาบในมือเธอ" จากภาพยนตร์เรื่อง เลือดทหารไทย (2477) เพลง "บวงสรวง" จากภาพยนตร์เรื่อง เมืองแม่หม้าย (2470) เพลง "เธอใกล้หรือไกล" จากภาพยนตร์เรื่อง เพลงหวานใจ (2480) เป็นต้น
 
ในปี [[พ.ศ. 2485]] ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพาขึ้น สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้น ในอุตสาหกรรม ทุกระดับไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์น้อยลงไป ภาพยนตร์ที่สร้างออกฉายส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด ซึ่งหนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่น ในปีนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนวิจิตรมาตรามีหน้าที่ใน การประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยท่านได้ผูกเอาเรื่องราว ของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ อันสอดคล้องกับนโยบาย การบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น นอกจากประพันธ์บทแล้ว ท่านยังได้ประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]]เป็นผู้ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และเป็นเพลงที่ท่านแต่งยังคง[[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ยกย่องว่า เป็น[[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
 
ภายหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เป็นยุคที่[[ภาพยนตร์ไทย]] มีลักษณะเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร และการพากย์แทน ภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตรมาตรฐานเสียงในฟิล์ม ในช่วงนี้ ขุนวิจิตรมาตรา ก็ยุติการสร้างภาพยนตร์ลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามท่านก็มิอาจตัดขาด จากภาพยนตร์ ได้นานนัก ก็ต้องวนกลับมาทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2495]] เรื่อง "ทะเลรัก" ซึ่งอำนวยการสร้างโดย นาย [[เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์]] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2496 ท่านได้สร้าง ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องชื่อ " วารุณี " ซึ่งท่านดัดแปลง มาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ท่านได้ ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ ประสพความสำเร็จพอสมควร แต่ท่านก็ไม่สร้าง ภาพยนตร์ต่ออีกเลยเป็นเวลา 16 ปี