ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูเธอร์ แวนดรอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 42:
 
===ศิลปินเดี่ยวและการประสบความสำเร็จ===
สังกัดอิปิค เรคคอร์ดส์ เซ็นสัญญากับ ลูเธอร์ แวนดรอส ในปี ค.ศ.1981 ซิงเกิลแรกและอัลบั้มชุดแรกชื่อ Never Too Much ทั้งสองชุดแวนดรอสรับเป็นโปรดิวเซอร์ เมื่อออกจำหน่ายอัลบั้มขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อบปี้ ส่วนในชาร์ทซิงเกิลติดอันดับ Top 20 ในอาร์แอนด์บีชาร์ต ลูเธอร์ แวนดรอส เริ่มเป็นที่รู้จักของแฟนเพลง ได้รับเชิญให้ไปเป็นศิลปินเปิดวงให้กับ[[โรเบอต้า แฟลค]] ร้องเพลง A House Is Not A Home ของประพันธ์โดยนักประพันธ์ชื่อดัง [[เบิร์ต บัคคาราค]] กับ [[ฮัล เดวิด]] นักวิจารณ์เพลงหลายคนบอกว่าเพลงนี้ที่แวนดรอสถ่ายทอดอารมณ์ ความโดดเดี่ยวได้ดีกว่าศิลปินคนอื่นที่นำไปคัฟเวอร์ จากนั้นลูเธอร์ แวนดรอส ออกอัลบั้มอย่างต่อเนื่องชุด Forever For Always, For Love (1982) ชุด Busy Body(1983) และยังเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับ[[ดิออน วอร์วิค]] ในซิงเกิล How Many Time Can We Say goodbye (1983) ที่รวมถึงแวนดรอสร้องได้ร่วมดูเอตกับดิออน วอร์วิคในเพลงนี้ด้วย จากนั้นตามด้วยอัลบั้มชุด I Fell In Love (1985) กับ Give Me The Reason (1986) ทั้งสองชุดได้รับความนิยมในอังกฤษเกินคาด ซิงเกิลฮิตที่ออกตามมา อาทิ I Really Didn't Mean It กับ Stop To love ได้รับความนิยมติดอันดับ TOP 30 ในอังกฤษ ส่วนอัลบั้ม Give Me The Reason ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[[รางวัลแกรมมี่]] ลูเธอร์ แวนดรอส กลายเป็นศิลปินยอดนิยมฉายาว่า "THE PAVAROTTI OF POP"
 
ปี ค.ศ. 1982 เมื่อความนิยมในตัวอารีธา แฟรงกลิน เริ่มถดถอย ไคลว์ เดวิส โปรดิวเซอร์ชื่อดังซึ่งเป็นคนเซ็นสัญญากับอารีธา แฟรงกลิน เมื่อย้ายมาอยู่สังกัด Arista ติดต่อให้ลูเธอร์ แวนดรอส มาเป็นโปรดิวเซอร์และช่วยเขียนเพลงให้กับอารีธา แฟรงกลิน เมื่อแวนดรอสได้รับการทาบทามให้มาช่วยศิลปินในดวงใจได้ทำเพลง "Jump To It" ซึ่งก็ติดชาร์ท Top 10 ในอเมริกา เมื่ออารีธา แฟรงกลิน ร้องเพลงนี้เปิดตัวในรายการโทรทัศน์ Saturday Night Live บรรดาแฟนๆ ต่างชื่นชอบคืนความนิยมกลับมาอีกครั้ง
 
ค.ศ. 1988 ลูเธอร์ แวนดรอส ได้ออกอัลบั้มชุด Any Loveค.ศ. (1988) มาได้รับความนิยมจริงๆมีเพลงดังติดอันดับ จากแฟนๆ6 ในอเมริกาเมื่อออกซิงเกิลชาร์ทซิงเกิ้ลอย่าง Here And Now ในปี ค.ศ. 1989 ได้รับความนิยมขึ้นถึงอันดับ 6 ในป็อปชาร์ต ขณะเดียวกันแวนดรอสเกิดปัญหาด้านสุขภาพ น้ำหนักตัวขึ้นลงระหว่าง 190 กับ 340 ปอนด์ อีกทั้งมีโรคเบาหวานเข้าแทรก สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจในการปรากฏตัวต่อแฟนๆ ปี ค.ศ. 1989 คอนเสิร์ตที่สนามกีฬาเวมเบลย์ ในอังกฤษ กับ[[เมดิสันสแควร์การ์เดน]]ในนิวยอร์ก บัตรจำหน่ายหมดทั้ง 4 รอบ จากนั้นออกอัลบั้มรวมฮิต The Best Of Luther Vandross...The Best Of Love มียอดขายดีขนาดได้รับรางวัลแพลตินั่มสองแผ่น ส่วนซิงเกิลที่ออกตามมาได้รับความนิยมติด TOP 10 อาทิ Power Of Love / Lovepower (# 4), Don't Want To Be A Fool (# 9) รวมทั้ง The Best Things In Life Are Free(# 10) ที่ร้องกับ[[เจเน็ต แจ็กสัน‎]] ส่วนอัลบั้มชุด Power Of Love ได้รับรางวัลแกรมมี่สองรางวัล ช่วงนี้ลูเธอร์ แวนดรอส มีปัญหากับบริษัทโซนี่มิวสิก ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอิปิคเรคคอร์ดส์ เริ่มจากปี ค.ศ. 1991 ที่แวนดรอสขอปลีกตัวออกแต่ยังติดสัญญา ขณะเดียวกันยังออกอัลบั้มกับอิปิค ที่ประสบความสำเร็จอีกชุดคือชุด Songs (1994) เป็นงานเพลงคัฟเวอร์ทั้งอัลบั้ม อัลบั้มขึ้นถึงอันดับหนึ่งในอังกฤษ อันดับห้าในอเมริกา แถมซิงเกิล Endless Love ที่ร้องดูเอตกับ[[มารายห์ แครี]] ได้รับความนิยมขึ้นถึงอันดับ 3 ทั้งในอเมริกาและอังกฤษ
 
หลังจากสิ้นสุดกับสัญญากับโซนี่มิวสิกในปีกในปี ค.ศ. 1998 ลูเธอร์สัญญากับโซนี่มิวสิลูเธอร์ ได้สิ้นสุดลง แวนดรอส ได้เซ็นสัญญาเข้าอยู่กับสังกัดเวอร์จินเรคคอร์ดส์ ออกอัลบั้มอยู่ชุดหนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง แวนดรอสจึงย้ายมาอยู่กับสังกัด J Records ที่มี[[ไคลว์ เดวิส ]]เป็นเจ้าของ ออกอัลบั้มชุด Luther Vandross (2001) ขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อบปี้ ถัดมาในปี ค.ศ. 2002 ลูเธอร์ แวนดรอส กลับมาทัวร์อังกฤษอีกครั้ง บัตรการแสดงขายหมดตามเคย
 
===ป่วยและการจากไป===