ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาทมิฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ ไมตรี ก้อนมะณี (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย OctraBot
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
หลักฐานเริ่มแรกของภาษทมิฬมีอายุราว พ.ศ. 243 ภาษานี้พบในอินเดียในฐานะภาษาที่มีวรรณกรรมมากในยุคสันคัม (พ.ศ. 243 - 843) เป็นภาษาที่พบในจารึกมากที่สุดในเอเชียใต้ โดยพบถึง 30,000 ชิ้น วรรณกรรมภาษาทมิฬในยุคสันคัมเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วย การเก็บรักษาวรรณกรรมในอินเดียมี 2 แบบคือ เขียนลงบนใบลานหรือท่องจำแบบมุขปาฐะ นักวิชาการของภาษาทมิฬแบ่งภาษาออกเป็นสามยุคคือ ภาษาทมิฬโบราณ ภาษาทมิฬยุคกลาง ภาษาทมิฬยุคใหม่
=== ภาษาทมิฬโบราณ ===
จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจาก[[อักษรพราหมี]]<ref>{{Harvnb|Mahadevan|2003|pp=90–95}}</ref> ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่วกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 - 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง
 
ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่
 
=== ภาษาทมิฬยุคกลาง ===
ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือ[[รามายณะ]]ภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็น[[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต]] มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา