ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 67:
ทรูจีโลและเพื่อนร่วมงานยังวางค่าสูงสุดขององค์ประกอบพื้นผิวของเซดนาอยู่ที่มีเทนแข็ง 60% และน้ำแข็ง 70%<ref name="Trujillo2005"/> การมีอยู่ของมีเทนแข็งยังช่วยสนับสนุนถึงการมีอยู่ของโทลีนบนผิวเซดนา เนื่องด้วยโทลีนเหล่านี้เกิดจากการฉายรังสีของมีเทน<ref name="Emery2007"/> บารุชชีและเพื่อนร่วมงานของเขาเปรียบเทียบสเปกตรัมของเซดนากับ[[ไทรทัน (ดาวบริวาร)|ไทรทัน]] และตรวจพบแถบดูดซึมอย่างอ่อนของมีเทนและไนโตรเจนแข็ง จากการสังเกตเหล่านี้ พวกเขาจึงเสนอองค์ประกอบผิวดาวเป็น[[โทลีน]]ชนิดไทรทัน 24% [[คาร์บอนอสัณฐาน]] 7% [[ไนโตรเจนแข็ง]] 10% [[เมทานอล]] 26% และ[[มีเทน]] 33%<ref name="Triton"/> การตรวจพบมีเทนและน้ำแข็งถูกยืนยันในปี พ.ศ. 2549 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์<ref name="Emery2007"/> การมีอยู่ของไนโตรเจนบนผิวดาวเสนอว่าเซดนาอาจมีชั้นบรรยากาศบาง ๆ แม้เพียงระยะเวลาสั้น ระหว่าง 200 ปีใกล้กับจุดใกล้ที่สุด อุณหภูมิสูงสุดบนเซดนาควรเกิน 35.6 เคลวิน (-237.6 องศาเซลเซียส) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างไนโตรเจนแข็งระยะแอลฟากับระยะบีตาบนไทรทัน ที่ 38 เคลวิน [[ความดันไอ]]ของ N<sub>2</sub> อาจอยู่ที่ 14 ไมโครบาร์ (1.4 ปาสกาล)<ref name="Triton"/> [[ความชันสเปกตรัม]]สีแดงเข้มของเซดนาแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของสารประกอบอินทรีย์จำนวนมากบนผิวดาว และแถบการดูดกลืนมีเทนจาง ๆ ชี้ว่ามีเทนบนผิวดาวนั้นมีอายุมาก สิ่งนี้หมายความว่าเซดนานั้นหนาวเกินกว่าที่มีเทนจะระเหยไปจากผิวดาวและตกกลับมาในรูปของหิมะ ซึ่งเกิดขึ้นบนไทรทันและอาจจะบนดาวพลูโตด้วย<ref name="Emery2007"/>
 
แบบจำลองของความร้อนภายในดาวด้วย[[การสลายตัวกัมมันตรังสี]]เสนอว่าเซดนาอาจมีน้ำเป็น[[มหาสมุทร]]เป็นน้ำเหลวอยู่ใต้ผิวดาว<ref name="Hussman2006"/>
 
== ต้นกำเนิด ==