ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Fahsaimekloi (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|ดูที่=พระร่วง}}
{{issues|ปรับภาษา=yes|เพิ่มอ้างอิง=yes}}
{{ถูกต้องแม่นยำ}}
{{Royal house
| surname = ราชวงศ์จักรี
| estate = อาณาจักรสุโขทัย
| coat of arms = [[ไฟล์:Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.png|100px|ตราแผ่นดินในสมัยสุโขทัย|link=]]
| country = [[ราชอาณาจักรไทย]]
| captions =
| parent house =
| titles =
| many king = 9 พระองค์
| interval = พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 (189 ปี)
| founder = [[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]]
| final ruler = [[พระมหาธรรมราชาที่ 4]]
| prev_gen = ราชวงศ์แรกของไทย{{อ้างอิง}}
| next_gen =
| founding year = [[พ.ศ. 1792]]
| dissolution =
| deposition =
| nationality = {{ธง|ไทย}} [[ไทย]]{{อ้างอิง}}
| cadet branches =
}}
'''ราชวงศ์พระร่วง''' เป็นราชวงศ์ที่ปกครอง[[อาณาจักรสุโขทัย]]ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเมย แม่น้ำป่าสัก และ แม่น้ำโขง
 
== ประวัติ ==
ราชวงศ์พระร่วง กลุ่มเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ไทยที่มีอำนาจอยู่ในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 ศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์พระร่วงตั้งอยู่ ณ เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยอันเป็นนครหลวงคู่หรือราชธานีแฝดซึ่งศิลาจารึกสมัยสุโขทัยมักเรียกพร้อมกันเสมอว่าศรีสัชนาลัยสุโขทัย บางหลักเช่นศิลาจารึกหลักที่ 2 กล่าวอย่างชัดเจนลงไปว่านครสองอัน ซึ่งถือเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองของราชอาณาจักรสุโขทัยและเป็นราชสำนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์
เส้น 15 ⟶ 40:
 
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2376 เมื่อเจ้าฟ้าพระวชิรญาณหรือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งยังทรงผนวช เสด็จธุดงค์ขึ้นไปยังเมืองเหนือถึงยังอดีตราชธานีเดิมที่สวรรคโลกเก่าและสุโขทัยเก่าซึ่งตัวเมืองหลวงมีสภาพกลายเป็นป่าปกคลุมกับมีหมู่บ้านชุมนุมชนอาศัยอยู่ด้วยไม่มากนัก เสด็จไปพบหลักฐานสำคัญที่ยังคงเป็นที่เคารพในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชนในพื้นที่ คือ พระแท่นขดานหินที่เรียกว่ามนังศิลาบาตรและหลักศิลาจารึกตัวอักษรโบราณอยู่ใจกลางบริเวณดงตาล ซึ่งโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงไปไว้ยังพระนคร ณ วัดราชาธิวาส ศูนย์กลางสำนักธรรมยุตินิกายที่พระองค์ประทับอยู่ เนื่องจากเจ้าฟ้าพระวชิรญาณทรงได้รับวิธีคิดและการศึกษาเลียนอย่างชาวตะวันตกที่มักนิยมค้นคว้าในเรื่องต่างๆ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ศึกษาถ่ายทอดเรื่องราวจากตัวอักษรโบราณที่ทรงนำมาจากสุโขทัยออกมา จึงเริ่มทำให้ทราบว่ากลุ่มราชวงศ์พระร่วงที่เคยครองอยู่ที่สุโขทัยมีพระนามอย่างใดบ้าง จารึกหลักแรกนี้หรือต่อมาเรียกว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นางเสือง พ่อขุนบาลเมือง และที่สำคัญคือพ่อขุนรามคำแหง ผู้โปรดฯให้กระทำหลักศิลาจารึกดังกล่าวขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของสุโขทัยอย่างมากมาย ได้มีการค้นพบศิลาจารึกต่างๆอีกหลายหลักซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้การปรากฏรับทราบเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงแบบในทางวิชาการค่อยๆแจ่มชัดขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อมีการผนวกนับรวมสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดรัฐไทยที่ชัดเจนเป็นแห่งแรก ราชวงศ์พระร่วงจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชวงศ์ไทยราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปรากฏการสืบสายราชสันตติวงศ์อย่างเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องในห้วงระยะเวลาถึง 200 ปี จาก พ.ศ. 1781 ไปจนถึง พ.ศ. 1981
 
อนุสรณ์ของราชวงศ์พระร่วงที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ ณศาลพระร่วงพระลือภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพพระร่วงพระลือ ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดสุโขทัยให้ความเคารพนับถือบูชามาอย่างช้านานแล้ว
 
== รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ==