ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีอ้างอิง ไม่เป็นสารานกรม
บรรทัด 11:
| titles =
| many king = 9 พระองค์
| interval = [[พ.ศ. 1792]] - [[พ.ศ. 1981]] (189 ปี)
| founder = [[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]]
| final ruler = [[พระมหาธรรมราชาที่ 4]]
บรรทัด 22:
| cadet branches =
}}
'''ราชวงศ์พระร่วง''' เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ ณ ราช[[อาณาจักรสุโขทัย อันเป็นอาณาจักรไทยโบราณที่เคย]]ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเมย แม่น้ำป่าสัก และ แม่น้ำโขง เป็นที่รู้จักไปอย่างกว้างขวางในหมู่ชนกลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในทุกแว่นแคว้น ปรากฏชื่อเสียงออกไปยังอาณาจักรข้างเคียงกับอาณาจักรมหาอำนาจที่อยู่ไกลออกไปทั่วทุกทิศว่าเป็นราชวงศ์ที่สามารถทำให้ชนชาวไทยมีหลักฐานอย่างมั่นคง มีความเจริญในทุกด้านพ้นจากความเป็นอนารยชนกลายเป็นอารยชนที่มีวัฒนธรรมและอารยธรรมอย่างสูง
 
ราชวงศ์พระร่วงยุครุ่งเรืองเป็นราชวงศ์ที่ถือว่ามีความมั่นคงในอำนาจการปกครองราชวงศ์หนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะเป็นราชวงศ์เดียวที่ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยตลอดเกือบสองร้อยปีโดยไม่ขาดสาย มีอำนาจควบคุมเชื่อมโยงบ้านเมืองในเครือข่ายระดับภูมิภาคได้อย่างกว้างขวางจากแม่น้ำโขงจรดถึงอ่าวมะตะบันชายทะเลมหาสมุทรอินเดีย เป็นราชวงศ์ที่มีความมั่งคั่งเป็นที่ประจักษ์เพราะสามารถรวบรวมทรัพยากรจากเครือข่ายต่างๆมาสร้างสรรค์เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมได้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล มีความประณีตละเอียดอ่อนงดงามที่สุดอยู่ในระดับต้นๆของโลก เป็นที่กล่าวขานยกย่องเลื่องลือกันโดยทั่วไป
 
ศูนย์กลางหรือราชสำนักของราชวงศ์พระร่วงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยมเป็นแกนกลางก่อนแผ่ขยายอำนาจออกไปทุกทิศทาง ที่ตั้งราชสำนักพระราชวังหลวงตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางเมืองสุโขทัยอันมีรากฐานอาคารปรากฏอยู่คนในครั้งเก่าเรียกสืบมาว่าเนินปราสาทพระร่วง ศิลาจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง ครั้งรัชกาลพระเจ้าลือไทยก็ได้ระบุว่าในสุโขทัยมี "ราชมณเฑียร" คือ ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มีสุพรรณปราสาท เหมปราสาท คือ เรือนยอดมีชั้นทำด้วยทองหรือประดับด้วยทองตั้งอยู่ นอกจากราชสำนักในเมืองสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วงยังสร้างพระราชวังที่ประทับไว้ในเมืองใหญ่สำคัญทั้งทิศเหนือและทิศใต้ ทิศเหนือมีพระราชวังในเมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมตรงบริเวณน้ำตกใหญ่กลางแม่น้ำที่เรียกว่าแก่งหลวง ทิศใต้มีพระราชวังในเมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่ใกล้ประตูสะพานโคมจุดตั้งต้นถนนพระร่วงที่จะขึ้นมายังสุโขทัยเรียกว่าพระราชวังสระมน
 
แบบแผนในราชสำนักราชวงศ์พระร่วงไม่เหลือหลักฐานที่เป็นบันทึกตกทอดมาให้ทราบถึงในปัจจุบันแต่มีเค้ารอยบางอย่างปรากฏอยู่ในวรรณกรรมที่เรียกว่าไตรภูมิพระร่วงบ้าง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์บ้าง สุภาษิตพระร่วงบ้าง ศิลาจารึกบางหลักบ้าง กฏมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมทั้งเค้ารอยจารีตในแบบแผนตำราพิธีพระราชพิธีครั้งกรุงเก่า กรุงรัตนโกสินทร์ กับ แบบการปฏิบัติบางอย่างของคนที่ยังตกทอดกันมา บุคคลในราชสำนักราชวงศ์พระร่วงศิลาจารึกสมัยสุโขทัยเรียกกลุ่มคนดังกล่าวว่า "ลูกเจ้าลูกขุน" บ้าง "ชาวแม่ชาวเจ้า" บ้าง เทียบได้กับฝ่ายหน้าและฝ่ายในของราชสำนัก โดยมี "พ่อขุน/พญา/พระญา/พระบาทกมรเดง/พ่ออยู่หัว" ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด และเข้าใจว่าคงจะมีตำแหน่งลำดับชั้นต่างๆอยู่ในราชสำนักของสุโขทัยดังปรากฏตำแหน่งพระราชชนนีว่าศรีธรรมราชมาตา ตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีว่าศรีจุฬาลักษณ์ เป็นต้น
 
ราชวงศ์พระร่วงยุคเอกราชในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับราชวงศ์ของอาณาจักรต่างๆรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์ภูกามยาวของรัฐพะเยา ราชวงศ์ลาวกาวของรัฐน่าน ราชวงศ์ชวาเชียงทองของรัฐชวาล้านช้างร่มขาว ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชของอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการทูต การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และ ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร เน้นผูกสัมพันธ์กับเครือรัฐไทด้วยกันในแคว้นต่างๆ
 
ต่อมาภายหลังเมื่อราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงอันเป็นผลจากการเติบโตและคุกคามของราชอาณาจักรศรีอยุธยาที่อยู่ทางตอนใต้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ราชวงศ์พระร่วงก็ได้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติผ่านการแต่งงานระหว่างราชวงศ์ทั้งกับราชวงศ์อู่ทอง (ละโว้) ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในระยะแรก และ ระยะต่อมาได้สัมพันธ์กับราชวงศ์สุพรรณภูมิอย่างชนิดแน่นแฟ้นใกล้ชิดหลายรัชกาลติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งยังผลให้ราชอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับอยุธยาในนาม "ราชอาณาจักรสยามหรือสยามประเทศ" (Kingdom of Siam) โดยเบื้องต้นราชวงศ์พระร่วงยังคงมีอำนาจอยู่พอสมควรปกครองกรุงสยามฝ่ายเหนือซึ่งอยุธยาเรียกว่าราชธานีฝ่ายเหนืออยู่ ณ เมืองพิษณุโลก องค์รัชทายาทแห่งกรุงศรีอยุธยาครั้งราชวงศ์สุพรรณภูมิก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ล้วนเคยครองอยู่เมืองเหนือกับมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแทบทั้งสิ้น ซึ่งราชสำนักเมืองเหนือที่พิษณุโลกถูกยุบลดความสำคัญลงไปเมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (เจ้าฟ้าสองแคว) และ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จลงไปสถาปนาราชวงศ์สุโขทัยปกครองกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแต่เพียงแห่งเดียวในต้นพุทธศตวรรษที่ 22
 
สำหรับสัญลักษณ์และอนุสรณ์สถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์พระร่วงซึ่งสืบทอดมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ คือ รูปเคารพพระร่วงพระลือ ประดิษฐานอยู่ที่กุฏิ์พระร่วงพระลือ ณ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง หรือ วัดพระมหาธาตุเมืองสวรรคโลกเดิม หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร (วัดพระปรางค์) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในปัจจุบันนี้
 
ปัจจุบันรูปเคารพที่ตั้งอยู่คู่กันนั้นได้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ รูปพระร่วงพระลือแต่ครั้งสมัยสุโขทัยตามประวัติที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆกล่าวว่าแกะจากงาช้างเผือกงาดำเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างยาวนาน ก่อนถูกอัญเชิญออกเอาขึ้นหลังช้างไปยังเมืองพิษณุโลกในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคราวเมืองสวรรคโลกแพ้สงคราม จากนั้นรูปพระร่วงพระลือแกะจากงาช้างเผือกงาดำซึ่งนับเป็นรุ่นที่ 1 ก็ได้หายสาปสูญไปในประวัติศาสตร์
 
หลังจากนั้นปรากฏว่าความเคารพศรัทธาของชาวเมืองสวรรคโลกยังไม่หมดไป ได้มีการสร้างรูปเคารพพระร่วงพระลือขึ้นใหม่เมื่อสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นครั้งที่ 2 หล่อด้วยสำริด ทำเป็นพระพุทธรูปสวมมงกุฏประทับยืนคู่ขนาดเล็กสององค์ลดหลั่นแบบพระพุทธรูปฉลองพระองค์สำหรับอุทิศแด่พระมหากษัตริย์เพราะไทยโบราณยังไม่รู้จักการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ระลึกแบบคนจริงกระทำเป็นพระพุทธรูปแทน เข้าใจว่าชาวเมืองครั้งนั้นทำตามแบบของเดิมที่ถูกอัญเชิญเอาไป รูปพระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 นี้ ได้ประดิษฐานมาอย่างยาวนานที่วัดพระปรางค์หลายร้อยปี จนถึงยุคปัจจุบันครึ่งหลัง 2400 ที่ทางราชการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญเอาเข้าไปไว้ในศาลากลางและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรับต่อมา พระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 ของวัดพระปรางค์ทุกวันนี้จึงไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย โดยไม่ได้กลับคืนยังสถานที่เดิมอีก ทางราชการให้เหตุผลขอยืมเพื่อนำไปจัดแสดง แต่ยืมโดยไม่คืน ซึ่งก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะได้กลับคืนมาเก็บรักษาไว้ที่เดิมดังเก่าอยู่ตลอดเวลาของคนในพื้นที่ดั้งเดิม
 
เมื่อทางการนำรูปพระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 ขอยืมไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงโดยไม่คืนแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองประชาชนจำนวนมากได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินสิ่งของมีค่าของตนมาหล่อรูปพระร่วงพระลือขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 3 เมื่อหลังกึ่งพุทธกาล พ.ศ. 2500 แล้วไม่นานนัก ครั้งนี้หล่อสูงใหญ่กว่าเดิมประทับยืนเป็นคู่เสมอเท่ากัน กับปรากฏว่าความศรัทธาประชาชนในพื้นที่ยิ่งทวีคูณทั้งพวงมาลัยดอกไม้ว่าวดาบตุ๊กตาช้างม้านางรำและแผ่นทองที่ปิดหุ้มรูปเคารพทั้งสองพอกพูนหนาแน่นเป็นอย่างมาก มีมหรสพสมโภชแก้บนทั้งหนังลิเกอยู่ไม่ขาด สมโภชบวงสรวงทุกเดือน 6 ก่อนเริ่มทำไร่ไถนา เป็นที่บูชาของผู้คนมาก แต่ในที่สุดเมื่อราวต้นทศวรรษ 2540 รูปพระร่วงพระลือถูกคนร้ายลักลอบเข้าไปตัดเหลือแต่พระบาทเป็นที่กล่าวขวัญสาปแช่งของชาวบ้านชาวเมืองเป็นอย่างมากเพราะเท่ากับทำลายศูนย์รวมจิตใจและที่พึ่งทางจิตวิญญาณอย่างสำคัญ ต่อมาจึงมีการสร้างรูปพระร่วงพระลือเป็นครั้งที่ 4 ที่อยู่ในศาลพระร่วงพระลือทุกวันนี้แต่ความศรัทธากลับลดลงเงียบหายอย่างเห็นได้ชัดไม่เท่ากับครั้งรุ่นที่ 3 ก่อนหน้า
 
== ประวัติ ==