ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์ซ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 134:
 
== กำเนิดแคว้นจินกับอวสานของซ่งเหนือ ==
ในเวลาเดียวกัน สถานการณ์ทางภาคเหนือก็วุ่นวายไม่ต่างกัน ราชสำนักเหลียวเกิดการแตกแยกภายใน ระบบการปกครองล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง กลุ่มชนเผ่าทางเหนือที่เคยถูกกดขี่บีบคั้นต่างลุกฮือขึ้นก่อหวอด ชนเผ่าหนี่ว์เจิน ทางภาคอีสานเริ่มมีกำลังแกร่งกล้าขึ้น ปี พ.ศ. 1658 [[อากู่ต่า]] ผู้นำ[[ชนเผ่าหนี่ว์เจิน]] สถาปนา[[แคว้นต้าจิน]]หรือกิม ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ใน[[มณฑลเฮหลงเจียง]]) ทรงพระนาม [[จินไท่จู่]] จากนั้นกรีฑาทัพบุกแคว้นเหลียว ฝ่ายซ่งเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะยึดดินแดน 16 เมืองที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำสัญญาร่วมมือกับแคว้นจินบุกเหลียว โดยซ่งจะส่งบรรณาการที่เคยให้กับเหลียวมามอบให้แคว้นจินแทน เพื่อแลกกับดินแดน 16 เมือง (ปักกิ่ง ต้าถง) ที่สูญเสียไปกลับคืนมา ซ่งกับจินทำสัญญาร่วมมือกันบุกเหลียว ซ่งรับหน้าที่บุกเมืองเยียนจิง (ปักกิ่ง) และต้าถง ขณะที่จินนำทัพรุกคืบกลืนดินแดนเหลียวที่เหลือ ถงก้วน นำทัพซ่งบุกเมืองเยียนจิงสองครั้งแต่ต้องพ่ายแพ้กลับมาทั้งสองหน สุดท้ายปล่อยให้ทัพจินเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดเมืองไว้ได้โดยง่าย ราชสำนักซ่งต้องรับปาก“รับปาก “ไถ่เมืองคืน” ด้วยภาษีรายปีที่เก็บได้จากท้องถิ่นเป็นเงินก้อนโต สถานการณ์คราวนี้เป็นเหตุให้ทัพจินเล็งเห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังฝ่ายซ่ง ดังนั้น เมื่อทัพจินล้มล้างเหลียวเป็นผลสำเร็จ ก็เบนเข็มมุ่งมายังซ่งเหนือเป็นลำดับต่อไปปี 1125 หลังจากหวันเหยียนเซิ่นขึ้นครองราชย์เป็นจินไท่จง สืบต่อจากจินไท่จู่ผู้เป็นพี่ชายแล้ว ก็นำทัพกวาดล้างแคว้นเหลียวเป็นผลสำเร็จ ทัพจินอ้างเหตุรุกไล่ติดตามตัวนายทัพเหลียว นำทัพล่วงเข้ามาในแดนซ่ง แยกย้ายบุกแดนไท่หยวนและเยียนจิง (ปักกิ่ง) แม่ทัพรักษาเมืองเยียนจิงยอมสวามิภักดิ์ทัพจิน นำทางเคลื่อนทัพรุกประชิดเมืองหลวงไคฟงซ่งฮุยจงเมื่อได้ทราบข่าวทัพจินเคลื่อนลงใต้ รีบสละบัลลังก์ให้กับรัชทายาทส่วนตัวเองหลบหนีลงใต้ ซ่งชินจง เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกประชุมเสนาบดีคิดหาหนทางแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ กลุ่มขุนนางใหญ่สนับสนุนให้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลี้ภัย ทว่าหลี่กัง อาสาทำหน้าที่รักษาเมืองอย่างแข็งขัน หัวเมืองรอบนอกเมื่อทราบข่าวทัพจินก็รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังต่อต้านการรุกรานจากภายนอก ทัพจินเมื่อไม่สามารถเอาชัยได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เริ่มขาดแคลนเสบียง ในเวลาเดียวกัน ซ่งชินจงแอบทำสัญญาสงบศึกกับทัพจิน โดยยินยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล อีกทั้งส่งมอบดินแดนสามเมืองให้เป็นการชดเชย ฝ่ายจินจึงยอมถอนทัพกลับภาคเหนือ ภายหลังวิกฤตหลี่กังถูกปลดจากตำแหน่ง ราชสำนักซ่งแม้ว่ารับปากส่งมอบเมืองไท่หยวน จงซานและเหอเจียงให้กับแคว้นจิน แต่ราษฎรในท้องถิ่นต่างพากันต่อต้านทัพจินอย่างไม่คิดชีวิต ทัพจินไม่อาจเข้าครอบครองทั้งสามเมืองได้ จึงส่งกองกำลังบุกลงใต้มาอีกครั้ง แต่คราวนี้ ชาวเมืองไท่หยวนที่ยืนหยัดต่อสู้เป็นเวลานาน เกิดขาดแคลนเสบียง จึงต้องเสียเมืองในที่สุด ทัพจินรุกประชิดเมืองไคฟงอีกครั้ง ราชสำนักซ่งเหนือจัดส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกแต่ไม่เป็นผล ทัพจินบุกเข้าเมืองไคฟงกวาดต้อน ซ่งเว่ยจง ซ่งชินจง และเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นเชลย อีกทั้งปล้นสะดมทรัพย์สินในท้องพระคลังไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย
ในสมัย[[ราชวงศ์ซ่งเหนือ]] แม้มีการศึกสงครามประปรายเป็นระยะ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังมีความสงบสุขอยู่บ้าง ดังนั้น วิทยาการความรู้ การผลิต ยังคงมีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้ นอกจากนี้ ความจำเป็นของการศึกสงคราม ราชสำนักซ่งยังได้มีการผลิตดินปืนขึ้นเพื่อใช้ในการรบเป็นครั้งแรกในด้านศิลปะและวรรณคดี ก็มีอัจฉริยะที่โดดเด่นปรากฏขึ้นไม่น้อย บทกวี ในสมัยซ่งได้รับการยอมรับว่า มีความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากระบบการสอบจอหงวนทำให้กลุ่มปัญญาชนได้รับอิสระในการพัฒนาตนเองขึ้นมา อาทิ หวังอันสือ ฟ่านจ้งเยียน ซือหม่ากวง เป็นต้น อีกทั้งยังได้ฝากผลงานภาพวาดฝีมือเยี่ยมไว้มากมายที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ได้แก่ฝีมือของ ซ่งฮุยจง กษัตริย์องค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ นับแต่ ราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกอันยาวนานของจีนในลักษณะนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลังจากซ่งเหนือถูกล้มล้างโดยราชวงศ์จิน ได้เปิดกระแสการรุกรานจากชนเผ่านอกด่านเข้าครอบครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา
 
== ราชวงศ์ซ่งใต้ (พ.ศ. 1670 – พ.ศ. 1822) ==