ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
ศูนย์กลางหรือราชสำนักของราชวงศ์พระร่วงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยมเป็นแกนกลางก่อนแผ่ขยายอำนาจออกไปได้ทุกทิศทาง ที่ตั้งราชสำนักพระราชวังหลวงตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางเมืองสุโขทัยอันมีรากฐานอาคารปรากฏอยู่คนในครั้งเก่าเรียกสืบมาว่าเนินปราสาทพระร่วง ศิลาจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง ครั้งรัชกาลพระเจ้าลือไทยก็ได้ระบุว่าในสุโขทัยมี "ราชมณเฑียร" คือ ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มีสุพรรณปราสาท เหมปราสาท คือ เรือนยอดมีชั้นทำด้วยทองหรือประดับด้วยทองตั้งอยู่ นอกจากราชสำนักในเมืองสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วงยังสร้างพระราชวังที่ประทับไว้ในเมืองใหญ่สำคัญทั้งทิศเหนือและทิศใต้ ทิศเหนือมีพระราชวังในเมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมตรงบริเวณน้ำตกใหญ่กลางแม่น้ำที่เรียกว่าแก่งหลวง ทิศใต้มีพระราชวังในเมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่ใกล้ประตูสะพานโคมจุดตั้งต้นถนนพระร่วงที่จะขึ้นมายังสุโขทัยเรียกว่าพระราชวังสระมน
 
แบบแผนในราชสำนักราชวงศ์พระร่วงไม่เหลือหลักฐานที่เป็นบันทึกตกทอดมาให้ทราบถึงในปัจจุบันแต่มีเค้ารอยบางอย่างปรากฏอยู่ในวรรณกรรมที่เรียกว่าไตรภูมิพระร่วงบ้าง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์บ้าง สุภาษิตพระร่วงบ้าง ศิลาจารึกบางหลักบ้าง กฏมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมทั้งแบบแผนตำราพิธีพระราชพิธีครั้งกรุงเก่ากรุงรัตนโกสินทร์ กับ แบบการปฏิบัติของคนที่ตกทอดกันมาถึงปัจจุบัน
 
ราชวงศ์พระร่วงยุคเอกราชในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับราชวงศ์ของอาณาจักรต่างๆรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์ภูกามยาวของอาณาจักรพะเยา ราชวงศ์ลาวกาวของอาณาจักรน่าน ราชวงศ์ชวาเชียงทองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาว ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชของอาณาจักรตามพรลิงก์ เป็นต้น ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการทูต การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และ ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร