ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระเบนค้างคาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
V.patipon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
V.patipon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น [[หอย]], [[กุ้ง]], [[กั้ง]], [[ปู]] บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณ[[ปากแม่น้ำ]]ที่เป็น[[น้ำกร่อย]]ได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร
 
ในปี ค.ศ. 2010 มีงานวิจัย<ref name=":0" />ว่าด้วยเรื่องการแบ่งชื่อสายพันธุ์ใหม่จากสายพันธุ์เดิม ''Aetobatus Narinari'' เนื่องจากมีในงานวิจับวิจัยพบความแตกต่างอย่างที่ชัดเจนของตัวอย่างที่พบในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก พบการกระจายพันธุ์ ''Aetobatus Narinari'' ในบริเวณ[[มหาสมุทรแอตแลนติก]] สายพันธุ์ ''Aetobatus Laticeps'' ในบริเวณตะวันออกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] และ ''Aetobatus Ocellatus'' ในบริเวณตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] และ [[มหาสมุทรอินเดีย]] รวมถึงบริเวณ [[อ่าวไทย]] และ [[ทะเลอันดามัน]] ของประเทศไทย
 
ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมี[[ถุงไข่แดง]]ติดตัวมาด้วย