ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวฮั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 157:
 
ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ [[เทศกาลตรุษจีน]] 春節 [[เทศกาลหยวนเซียว]] 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 [[เทศกาลไหว้พระจันทร์]] 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น
 
ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) [[ภาษากวางตุ้ง]] (粵語) [[ภาษาแคะ]] (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語)
 
== การกระจายตัวของประชากร ==
[[ไฟล์:Ethnolinguistic map of China 1983.jpg|thumb|แผนที่ของกลุ่มภาษาในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน (ชาวฮั่นสีน้ำตาล)]]
[[ไฟล์:汉族比例(2000年).png|thumb|แผนที่แสดงการอยู่อาศัยในจีนแผ่นดินใหญ่ (บริเวณที่มีสีน้ำเงินเข้มคือบริเวณที่ชาวฮั่นอยู่อาศัยเยอะและหนาแน่นที่สุด)]]
=== จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและมาเก๊า ===
ชาวฮั่นเกือบทั้งหมด มากกว่า 1,200 ล้านคน อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณภายใต้เขตอำนาจรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งชาวฮั่นคิดเป็น 92% ของจำนวนประชากร ภายในสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ในทุกๆมณฑล, เทศบาลนครและเขตปกครองตนเอง ยกเว้นในเขตปกครองตนเองซินเจียง (41% ในปี 2000) และทิเบต (6% ในปี 2000) ชาวฮั่นยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ในเขตบริหารพิเศษทั้งสองอีกด้วย ประมาณ 95% ของประชากรฮ่องกง และประมาณ 96% ของประชากรมาเก๊า ในประเทศจีน ชาวฮั่น จะเรียกตนเองว่า ชาวฮั่น ส่วนคำว่า จีน หรือ จ๊งกว๋อ นั่นเป็นชื่อของดินแดน หรือ ประเทศ ดังจะสังเกตได้จากบทเพลงและตำราต่างๆ จะเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น ทั้งสิ้น
 
=== ไต้หวัน ===
[[File:艋舺龍山寺 臺北市 直轄市定古蹟寺廟 Venation 2.JPG|thumb|ชาวจีนฮั่นในไต้หวันขณะไหว้พระที่[[วัดหลงซาน|วัดเม่งเจียหลงซาน]]ในกรุง[[ไทเป]]]]
 
ชาวฮั่นมากกว่า 22 ล้านคนอยู่ในไต้หวัน ชาวฮั่นเริ่มอพยพจากมณฑลชายฝั่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ไปไต้หวันในศตวรรษที่ 17 ในตอนแรกพวกผู้อพยพเหล่านี้เลือกที่จะตั้งถิ่นฐานในทำเลที่คล้ายคลึงกับพื้นที่ที่จากมาในจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่ว่าพวกเขาจะมาถึงทางเหนือหรือทางใต้ของไต้หวัน ผู้อพยพชาวฮกโล่ในฉวนโจวตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่ง และพวกที่มาจากจางโจวมีแนวโน้วที่จะรวมกลุ่มกันบนที่ราบเข้าไปในแผ่นดิน ในขณะที่ผู้อพยพชาวฮากกาอาศัยบริเวณเนินเขา การกระทบทั่งกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้เหนือดินแดน,น้ำและความแตกต่างทางวัฒนธรรมนำไปสู่การย้ายที่ใหม่ในบางชุมชน ในขณะที่เวลาผ่านไปการแต่งงานและการผสมกลมกลืนก็เกิดขึ้นในหลายระดับ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้นำโดยเฉินชุนเชงแห่งแผนกจิตวิทยาของโรงพยาบาลเกาสงอ้างการศึกษา DNA ของชาวไต้หวันเปิดเผยประชากรหลายเปอร์เซนต์มีสายเลือดผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวพื้นเมือง
 
เส้น 182 ⟶ 183:
=== ประวัติศาสตร์จักรวรรดิ ===
[[ไฟล์:Qin Shi Huang statue.jpg|thumb|200px|อนุสาวรีย์หินอ่อนของของฉินสื่อหวงตั้งอยู่ใกล้กับหลุมฝังพระศพ]]
[[File:China.Terracotta statues007.jpg|thumb|upright|รูปปั้นหญิงและชายชาวฮั่น ศิลปะกระเบื้องเซรามิกจากยุค[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก]]]]
 
ยุคของสงครามรณรัฐสิ้นสุดลงด้วยการรวมประเทศจีนโดยราชวงศ์ฉินหลังจากเอาชนะรัฐอริอื่นๆทั้งหมด ผู้นำฉินสื่อหวงประกาศตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกตำแหน่งที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่แต่ได้เป็นแบบอย่างไปอีกสองพันปีข้างหน้า พระองค์สถาปนารัฐรวมศูนย์อำนาจขึ้นใหม่แทนระบบศักดินาเก่า สร้างระเบียบแบบแผนมากมายของจักรวรรดิจีน และรวมประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมโดยประกาศมาตรฐานหน่วยชั่งตวงวัด,ตัวอักษรและเงินตราเป็นหนึ่งเดียว
 
เส้น 194 ⟶ 197:
ในปี 1368 ผู้ต่อต้านชาวฮั่นขับไล่พวกมองโกลออกไป หลังจากขัดแย้งกันเองภายในพักหนึ่งก็ได้สถาปนาราชวงศ์หมิง (1368–1644)การตั้งถิ่นฐานของชาวฮั่นในภูมิภาครอบนอกยังคงดำเนินต่อไปในระหว่างช่วงเวลานี้ โดยมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้รับผู้อพยพเป็นจำนวนมาก
 
[[File:Boxer queue.JPG|thumb|ในยุคหลังปี ค.ศ. 1644 [[ชาวแมนจู]]ได้เข้าครองแผ่นดินจีนและตั้ง[[ราชวงศ์ชิง]]ขึ้น ชาวฮั่นถูกบังคับให้โกนผมด้านหน้าและไว้หางเปียด้านหลังตามแบบชาวแมนจู]]
ในปี 1644 ปักกิ่งถูกยึดครองโดยกบฏชาวนานำโดย Li Zicheng และจักรพรรดิหมิงองค์สุดท้ายปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง พวกแมนจู (ราชวงศ์ชิง) ให้การสนับสนุนนายพลของราชวงศ์หมิงอู๋ซานกุ้ยและยึดกรุงปักกิ่งไว้ กองทัพหมิงที่เหลืออยู่นำโดยโคซิงกาจึงหนีไปไต้หวันที่ซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขายอมจำนนต่อกองทัพชิงในปี 1683 เกาะไต้หวันที่ผู้อยู่อาศัยแต่เดิมส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองที่ไม่ใช่ฮั่นถูกทำให้กลายเป็นฮั่นโดยผู้อพยพจำนวนมากประกอบกับการผสมกลมกลืนไปด้วยในช่วงเวลานี้ แม้ว่าจะมีความพยายามจากพวกแมนจูในการขัดขวางก็ตาม เนื่องจากพวกแมจูพบความยากลำบากในการควบคุมดูแลเกาะแห่งนี้ ในขณะเดียวกันพวกแมนจูก็ห้ามไม่ให้ชาวฮั่นอพยพไปแมนจูเรีย เพราะพวกแมนจูเห็นว่าเป็นฐานที่มั่นของราชวงศ์ ในปี 1681 พวกแมนจูจึงสั่งให้ก่อสร้างคูน้ำและทำนบเพื่อห้ามชาวฮั่นไม่ให้ตั้งถิ่นฐานเลยออกไปจากเขตนี้ ราชวงศ์ชิงเริ่มเข้าครอบครองแผ่นดินพร้อมชาวจีนฮั่นในภายหลังภายใต้กฎของราชวงศ์ การเคลื่อนย้ายชาวฮั่นครั้งนี้ไปแมนจูเรียถูกเรียกว่า Chuang Guandong (ในระหว่างราชวงศ์ก่อนๆการตั้งถิ่นฐานของชาวฮั่นในแมนจูเรียอยู่ทางตอนใต้เป็นหลัก ที่ซึ่งตอนนี้เป็นมณฑลเหลียวหนิง อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างและหลังจากปลายราชวงศ์ชิงชาวฮั่นได้ตั้งถิ่นฐานและกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เกือบทั้งหมดของแมนจูเรีย)
 
เส้น 210 ⟶ 214:
 
=== ภาษา ===
[[ไฟล์:Map of sinitic languages full-th.svg|alt=|thumb|295x295px|แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มชาวฮั่นที่พูดสำเนียงภาษาจีนท้องถิ่นต่าง ๆ ใน[[ประเทศจีน]]]]
ชาวจีนพูดภาษาหลากหลายแบบ หนึ่งในชื่อของกลุ่มภาษานั้นคือ "ฮั่นอวี่" หมายถึงภาษาฮั่น (อวี่ แปลว่า ภาษา) ในทำนองเดียวกันอักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาเรียกว่า"ฮั่นจื่อ"หรืออักษรฮั่น (จื่อ แปลว่าตัวหนังสือ)ในขณะที่มีภาษาถิ่นอยู่มากมายแต่ภาษาเขียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมาก ความเป็นเอกภาพนี้ต้องยกให้ราชวงศ์ฉินซึ่งได้สร้างมาตรฐานให้กับรูปแบบการเขียนอันหลากหลายของจีนในยุคนั้น เป็นเวลานับพันๆปีภาษาเขียนโบราณ(Classical Chinese)ถูกใช้เป็นรูปแบบการเขียนมาตรฐานในหมู่ปัญญาชนซึ่งใช้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์ซึ่งอาจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับภาษาพูดอันหลากหลาย
 
เส้น 215 ⟶ 220:
 
ต้นทศวรรษที่ 1950 อักษรฮั่นตัวย่อถูกรับเข้ามาใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่และต่อมาในสิงคโปร์ ในขณะที่ชุมชนชาวจีนอื่นๆในฮ่องกง, มาเก๊า, สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และจีนโพ้นทะเล ยังใช้อักษรฮั่นตัวเต็มต่อไป ในขณะเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ระหว่างชุดอักษรทั้งคู่ ซึ่งไม่สามารถเข้าใจกันได้อยู่เป็นจำนวนมาก
 
===การแบ่งภาษาตามท้องถิ่น===
ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) [[ภาษากวางตุ้ง]] (粵語) [[ภาษาแคะ]] (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語)
 
=== ชื่อเรียก ===
เส้น 222 ⟶ 230:
 
=== การแต่งกาย ===
[[File:Traditional chinese wedding 002.jpg|250px|thumb|พิธีแต่งงานแบบชาวฮั่น]]
ทุกวันนี้ชาวฮั่นทั่วไปสวมใส่เสื้อผ้าตามแบบตะวันตก ส่วนน้อยสวมใส่เสื้อผ้าแบบชาวฮั่นดั้งเดิมเป็นประจำ อย่างไรก็ตามชุดแบบจีนสงวนไว้สำหรับ เครื่องแต่งกายในศาสนาและพิธีการ ตัวอย่างเช่น พระในลัทธิเต๋าสวมใส่ชุดเดียวกับบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชุดพิธีการในญี่ปุ่นอย่างเช่นพระในลัทธิชินโตเหมือนมากกับชุดพิธีการในจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ในปัจจุบันชุดจีนแบบดั้งเดิมที่นิยมมากที่สุดสวมใส่โดยหญิงสาวมากมายในโอกาสสำคัญๆ เช่น งานแต่งงานและงานปีใหม่เรียกว่ากี่เพ้า อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายเหล่านี้ไม่ใช่มาจากชาวฮั่นแต่มาจากการดัดแปลงชุดแต่งกายของชาวแมนจู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปกครองประเทศจีนระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
<center>
 
<gallery mode="nolines" widths="190" heights="150">
Image:Jili1.jpg|การประกอบพิธีโบราณแบบชาวฮั่น
Image:Jili7.jpg|บรรดาหญิงสาวชาวฮั่นทำความเคารพซึ่งกัน
Image:Hanfu daopao.jpg|ชายชาวฮั่นแต่งกายตามประเพณี
</gallery>
</center>
=== ที่อยู่อาศัย ===
บ้านแบบฮั่นแตกต่างจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ชาวฮั่นในปักกิ่งอาศัยรวมกันทั้งครอบครัวในบ้านหลังใหญ่ที่มีลักษณะสี่เหลี่ยม บ้านแบบนี้เรียกว่า 四合院 บ้านเหล่านี้มีสี่ห้องทางด้านหน้าได้แก่ ห้องรับแขก, ครัว, ห้องน้ำ และส่วนของคนรับใช้ ข้ามจากประตูคู่บานใหญ่คือส่วนสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัว ส่วนนี้ประกอบด้วยสามห้อง ห้องกลางสำหรับสักการะแผ่นจารึก 4 แผ่นได้แก่ สวรรค์, โลกมนุษย์, บรรพบุรุษ และอาจารย์ มีสองห้องที่อยู่ติดทางด้านซ้ายและขวาเป็นห้องนอนสำหรับปู่ย่าตายาย ส่วนด้านตะวันออกของบ้านสำหรับลูกชายคนโตกับครอบครัว ในขณะที่ด้านตะวันตกสำหรับลูกชายคนรองกับครอบครัว แต่ละด้านมีเฉลียงบางบ้านมีห้องรับแสงแดดสร้างจากผ้ามีโครงเป็นไม้หรือไม้ไผ่ ทุกๆด้านของบ้านสร้างอยู่ล้อมรอบลานบ้านตรงกลางสำหรับเล่าเรียน,ออกกำลังกายหรือชมวิวธรรมชาติ