ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เกษแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เกษแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
คำว่า "ราชวงศ์พระร่วง" หรือแม้แต่คำว่า "พระร่วง" ไม่ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยเลยแม้แต่หลักเดียว จารึกปู่สบถหลานอีกเช่นกันเรียกกลุ่มพระมหากษัตริย์ผู้ครองสุโขทัยว่า "วงศสุกโขไทหรือสุโขไท" คำว่าพระร่วงมักเป็นชื่อที่อาณาจักรข้างเคียงภายนอกเรียกกลุ่มเจ้าของสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นทางล้านนา ล้านช้าง อยุธยา มอญ นครศรีธรรมราช ละโว้ และ เขมร โดยเรียกตามพระเกียรติคุณของกษัตริย์สุโขทัยที่ปรากฏทรงมีอานุภาพยิ่งใหญ่ที่สุด คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั่นเอง ฝ่ายล้านนาเรียกว่าพญาร่วง ฝ่ายอยุธยาเรียกว่าสมเด็จพระร่วงเจ้า ต่อมาชั้นหลังคำว่าพระร่วงได้กลายเป็นใช้เรียกกลุ่มเจ้าของสุโขทัยทั้งหมดในแบบครอบคลุมตามกาลเวลาที่ผู้คนได้เลือนความทรงจำไป โดยที่ความหมายในทางเฉพาะเจาะจงหมายถึงบุคคลพระองค์ใดก็ยังคงอยู่ไปพร้อมกันในหลักฐานต่างๆที่ถูกบันทึกไว้
 
ในความทรงจำของผู้คนตั้งแต่ประมาณสมัยอยุธยาตอนกลางลงมาคำว่าพระร่วงเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าปรัมปราบอกเล่ากล่าวขานของชนในพื้นถิ่นหลายแห่งโดยเฉพาะในท้องที่จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และ พิษณุโลก เพราะบรรดาราชวงศ์ที่เคยปกครองอันเป็นกลุ่มบุคคลได้สูญหายสูญสลายตัวไปกับหมดอำนาจไปจากท้องที่อย่างสมบูรณ์แล้ว เหลือแต่เรื่องราวอันเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ความเลื่อมใสศรัทธา อิทธิฤทธิ์อภินิหาร ความน่ามหัศจรรย์ตามการเล่าของชาวบ้านกับความเชื่อความนับถือสืบทอดกันมาอยู่ในสถานที่ต่างๆเป็นจำนวนมากและเกาะกลุ่มอยู่แต่ในเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบนเท่านั้น หากที่ใด สิ่งอันใด มีคำว่าพระร่วงเข้าไปผูกหรือเกี่ยวข้อง ที่นั้นสิ่งนั้นย่อมมีความพิเศษเหนือความธรรมดาทั้งสิ้น
 
ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อเริ่มสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นแล้ว รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ราชบัณฑิตฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลรวบรวมเรื่องราวเก่าแก่ต่างๆแล้วประมวลไว้เรียกว่า "พระราชพงศาวดารเหนือ" อันเป็นเรื่องราวของกลุ่มเมืองเหนือที่หมายถึงราชอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื้อเรื่องที่รวบรวมได้ขณะนั้นเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงเกินกว่าครึ่งเป็นแบบมุขปาฐะยกเว้นบางเนื้อเรื่องที่พอจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง แต่ทำให้มองเห็นได้ว่าคนครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์รับทราบเป็นอย่างดีว่าก่อนหน้ากรุงศรีอยุธยาขึ้นไปมีกลุ่มคนที่เรียกว่าพระร่วงปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัยมาก่อน สมัยรัชกาลที่ 3 จึงหยิบยืมมาเป็นฉากสำคัญที่เท้าหลังกลับไปไกลในวรรณกรรมตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเรื่องนางนพมาศเป็นต้น ซึ่งตำรับนี้เป็นความรับรู้ตกทอดมาจากกรุงศรีอยุธยาอีกชั้นก่อนจะเพิ่มเรื่องราวร่วมสมัยรัชกาลที่ 3 ลงไปด้วย