ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เตียวจูล่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎วิดีโอเกม: จูล่งเป็นต้นแบบให้ตัวละครในเกม LOL คือ xin zhao และมีสกิน warring kingdoms ที่อ้างอิงจากจูล่ง
Yosakrai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45:
ในจดหมายเหตุชีวประวัติจูล่งของเฉินโซ่ว ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊ก มีข้อแตกต่างกับเรื่องราวของจูล่งในนิยายบางจุด เช่น ในประวัติศาสตร์นั้นจูล่งไม่เคยเป็นทหารของอ้วนเสี้ยว แต่อยู่กับกองซุนจ้านมาแต่แรก และจูล่งก็เข้ามาอยู่ในกองทัพของเล่าปี่หลังจากได้พบกับเล่าปี่ครั้งแรก แต่ยังเป็นเพียงทหารชั้นผู้น้อย จูล่งช่วยเหลืออาเต๊าที่ทุ่งเตียงปันจริง แต่ไม่ได้เกิดเหตุการณ์ที่เขาช่วยแย่งอาเต๊ากลับมาจากซุนฮูหยิน<ref>Jame Peirce. San Guo Zhi Officer Biography: Zhao Yun (Zilong). http://kongming.net/novel/sgz/zhaoyun.php.</ref>
 
จูล่งมีบุตรชาย 2 คน ซึ่งปรากฏตัวออกมาในตอนที่มาแจ้งข่าวแก่ขงเบ้งว่าจูล่งถึงแก่ความตายแล้วก็ไม่ปรากฏบทบาทใดๆอีก นอกจากกล่าวว่าบุตรคนโตคือเตียวต๋งได้รับตำแหน่งของจูล่งต่อมา ส่วนบุตรคนรองคือเตียวกองได้เป็นแม่ทัพคอยติดตามเกียงอุยออกศึก และไม่ได้มีการกล่าวถึงแน่ชัดว่าจูล่งมีบุตรตั้งแต่เมื่อใด (แต่อย่างไรก็ตาม ตัวละครอื่นๆในสามก๊กก็แทบไม่มีบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ แม้กระทั่งเล่าปี่เอง ในจดหมายเหตุชีวประวัติชีซีก็ยังมีจุดที่แสดงว่าเล่าปี่เคยมีบุตรมาก่อนอาเต๊าหลายคน แต่นิยายไม่ได้กล่าวถึงเลย)
 
เกี่ยวกับภรรยาของจูล่ง เหตุที่ได้รับความสนใจกันมากนอกเหนือจากเพราะบทบาทของบุตรชายทั้งสองคนซึ่งออกมาหลังจากจูล่งสิ้นแล้ว อาจเพราะมีนิยายสามก๊กในฉบับของ Zhou Dahuang ซึ่งมีชื่อว่า Fan Sanguo Yanyi (反三國演義)ซึ่งเป็นการเสริมเติมฉบับของหลอก้วนจง และแต่งให้ปรากฏบทบาทของภรรยาจูล่ง นั่นคือ ม้าหยุนลู่ (Ma Yunlu) บุตรีของม้าเท้งและเป็นน้องสาวของม้าเฉียว ซึ่งมีความเก่งกล้าสามารถในการรบไม่แพ้พ่อและพี่ชาย โดยกล่าวว่าด้วยความเก่งกล้าและห้าวหาญในการรบและขี่ม้าของเธอทำให้บิดารู้สึกกังวลว่าเธอจะไม่อาจหาสามีที่คู่ควรได้จนกระทั่งอายุ 22 ปี เธอจึงได้พบกับจูล่ง แล้วจึงแต่งงานกันโดยมีเล่าปี่เป็นพยานและขงเบ้งกับหวดเจ้งเป็นพ่อสื่อให้ จากนั้นเธอก็ช่วยเหลือสามีทำงานรับใช้เล่าปี่และจ๊กก๊กอย่างเต็มกำลัง<ref>ยศไกร ส. ตันสกุล, จดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับเฉินโซ่ว, กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2556</ref>
 
สำหรับตำแหน่งทางทหาร ในบันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่าจูล่งมีตำแหน่งทางทหารต่ำสุดในบรรดา [[ห้าทหารเสือ|ห้าขุนพลทหารเสือ]]ของจ๊กก๊ก ซึ่งเป็นการยกย่องให้เกียรติอย่างสูง ได้แก่ กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียว ฮองตง จูล่ง จูล่ง
จูล่งตัวจริงในประวัติศาสตร์มีตำแหน่งทางทหารยศต่ำสุดในบรรดา 5 ทหารเสือ ซึ่ง 5 ทหารเสือประกอบไปด้วย กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียว ฮองตง จูล่ง และ จูล่งมีฝีมือที่ดีที่สุดใน 5 ทหารเสือของเล่าปี่ โดยจูล่งควบตำแหน่งองครักษ์ของเล่าเสี้ยนด้วย ซึ่งตำแหน่งทางทหารของจูล่งหลังจากได้รับการยกย่องเป็น 5 ทหารเสือคือ General Guardian of Distant (นายพลผู้พิทักษ์ดินแดน) ภายหลังจากขงเบ้งยกทัพบุกภาคเหนือ ตำแหน่งของจูล่งขณะนั้นและเป็นตำแหน่งสูงสุดขณะมีชีวิตคือ Marquis of Shunping และได้เลื่อนยศขึ้นอีกหลังจากสิ้นไปแล้ว เป็น Lord of Shunping<ref>ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์). สามก๊กฉบับวณิพก: จูล่ง-สุภาพบุรุษจากเสียงสาน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพ: ดอกหญ้า, 2543. หน้า 1, 8</ref> ซึ่งมีบันทึกว่าระหว่างเล่าปี่มีชีวิตอยู่มีเพียงหวดเจ้งคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอวยยศย้อนหลัง ส่วนจูล่งกว่าจะได้รับการอวยยศก็คือปี ค.ศ.261 (ในนิยายกล่าวว่าเล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้หลังจากจูล่งสิ้นในปีนั้น)
 
แต่เฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ได้ให้การยกย่องจูล่งและฮองตงไว้สูงสุด เหนือกว่ากวนอู เตียวหุย และม้าเฉียว โดยวิจารณ์ไว้ในท้ายชีวประวัติของทั้งห้าคนซึ่งรวมไว้ในบรรพเดียวกัน โดยชี้ว่า ขุนพลทั้งห้ามีความโดดเด่น เปี่ยมด้วยความสามารถและชื่อเสียงอันเกรียงไกร แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนี้ <blockquote>'''''"กวนอูและเตียวหุยมีความห้าวหาญ มุทะลุ ทรงพลัง เป็นที่หวาดเกรงของทหารข้าศึก และเป็นที่เลื่องลือว่าพวกเขาทั้งสองสามารถสู้ศึกได้นับหมื่น แต่อย่างไรเสีย กวนอูนั้นมีความแข็งแกร้าวและหยิ่งทระนงในตัวเองมากเกินไป ส่วนเตียวหุยนั้นใจร้อนและปราศความเมตตาปราณี ผลสุดท้ายพวกเขาจึงต้องพบจุดจบ ส่วนม้าเฉียวนั้นโดนวิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่าได้ทรยศต่อญาติพี่น้องและเผ่าพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งยังปราศจากซึ่งความกล้าหาญโดยแท้จริง"''''' </blockquote><blockquote>'''''"สำหรับจูล่งและฮองตงนั้น บุคคลทั้งสองเปี่ยมด้วยความกล้าหาญและซื่อสัตย์ภักดี เป็นยอดขุนพลที่ดีของผู้เป็นนาย เปรียบประดุจเขี้ยวเล็บและฟันของสัตว์ร้าย พวกเขาทั้งสองจึงสมควรที่จะเปรียบเทียบได้กับขุนพลยุคโบราณที่ยิ่งใหญ่อย่างกวนหยินและแฮหัวหยินได้มิใช่หรอกหรือ"'''''<ref>ยศไกร ส.ตันสกุล. จดหมายเหตุสามก๊ก ตอน ยอดขุนพลจ๊กก๊ก, กรุงเทพฯ: ปราชญ์, 2558</ref> </blockquote>จูล่งยังควบตำแหน่งองครักษ์ของเล่าเสี้ยนด้วย โดยตำแหน่งทางทหารของจูล่งหลังจากได้รับการยกย่องเป็นห้าทหารเสือคือ General Guardian of Distant (นายพลผู้พิทักษ์ดินแดน) ภายหลังจากขงเบ้งยกทัพบุกภาคเหนือ ตำแหน่งของจูล่งขณะนั้นและเป็นตำแหน่งสูงสุดขณะมีชีวิตคือ Marquis of Shunping และได้เลื่อนยศขึ้นอีกหลังจากสิ้นไปแล้ว เป็น Lord of Shunping<ref>ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์). สามก๊กฉบับวณิพก: จูล่ง-สุภาพบุรุษจากเสียงสาน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพ: ดอกหญ้า, 2543. หน้า 1, 8</ref> แล้วยังมีบันทึกเพิ่มเติมว่า ในระหว่างเล่าปี่มีชีวิตอยู่มีเพียงหวดเจ้งคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอวยยศย้อนหลัง ส่วนจูล่งกว่าจะได้รับการอวยยศก็คือปี ค.ศ.261 ส่วนในนิยายได้กล่าวว่าเล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้หลังจากจูล่งสิ้นในปีนั้น<ref name=":0">ยศไกร ส.ตันสกุล. สารพันคำถาม เรื่องจริงหรือเสริมแต่งใน จดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับเฉินโซ่ว, กรุงเทพฯ: สยามความรู้, 2560</ref>
ในจดหมายเหตุสามก๊ก ระบุว่าในปีเจียนอันที่ 24 หลังจากเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็น ฮั่นจงอ๋องแล้วก็ตั้ง กวนอูเป็นแม่ทัพหน้า เตียวหุยเป็นแม่ทัพขวา ม้าเฉียวเป็นแม่ทัพซ้าย และฮองตงเป็นแม่ทัพหลัง ไม่ปรากฏชื่อของจูล่งเลย ภายหลังเมื่อมีการอวยยศย้อนหลังนั้น เล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้เพียง กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียวและฮองตงเท่านั้น จนกระทั่งเกียงอุยเข้ามาทักท้วงว่าจูล่งมีผลงานมากมายรวมถึงช่วยเล่าเสี้ยนตอนเป็นทารกออกมาจากกองทัพโจโฉ จึงควรอวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย เล่าเสี้ยนจึงได้มีการอวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย
 
ในจดหมายเหตุสามก๊ก ระบุว่าในปีเจียนอันที่ 24 หลังจากเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็น ฮั่นจงอ๋องแล้วก็ตั้ง กวนอูเป็นแม่ทัพหน้า เตียวหุยเป็นแม่ทัพขวา ม้าเฉียวเป็นแม่ทัพซ้าย และฮองตงเป็นแม่ทัพหลัง ไม่ปรากฏชื่อของจูล่งเลย ภายหลังเมื่อมีการอวยยศย้อนหลังนั้น เล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้เพียง กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียวและฮองตงเท่านั้น จนกระทั่งเกียงอุยเข้ามาทักท้วงว่าจูล่งมีผลงานมากมายรวมถึงช่วยเล่าเสี้ยนตอนเป็นทารกออกมาจากกองทัพโจโฉ จึงควรอวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย เล่าเสี้ยนจึงได้มีการอวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย<ref name=":0" />
 
== รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยจูล่ง ==
เส้น 64 ⟶ 66:
 
=== ภาพยนตร์ ===
* จูล่งเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน [[สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร]] กำกับโดย [[แดเนียล ลี]] และ [[สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ]] กำกับโดย[[จอห์น วู]]
** จูล่งเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร รับบทแสดงนำโดย[[หลิวเต๋อหัว]] โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของจูล่งตั้งแต่สมัครเป็นทหารจนถึงศึกครั้งสุดท้ายกับวุยก๊ก ในแต่เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ดัดแปลงเรื่องราวของจูล่งไปอย่างมากจนผิดเพี้ยนไปทั้งจากภาพเดิมมากในนิยายและในประวัติศาสตร์ ทำให้ถูกวิจารณ์กันมาก แต่ก็นับถือว่าเป็นภาพยนตร์สามก๊กเรื่องแรกที่นำจูล่งมาเป็นตัวเอกของเรื่อง
** ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ จูล่งรับบท[[ฮูจุน]] โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ จูล่งปรากฏตัวครั้งแรกในศึกทุ่งเตียงปัน โดยเป็นผู้ช่วยนำพา[[อาเต๊า]]บุตรของเล่าปี่ฝ่าทัพของโจโฉ และได้มีบทบาทในการรบอีกหลายครั้ง ในสงครามระหว่างฝ่ายโจโฉและฝ่ายพันธมิตรเล่าปี่ซุนกวน ทั้งสงครามภาคพื้นดินและสงครามประชิดค่ายโจโฉ
 
=== ละครโทรทัศน์ ===
เส้น 75 ⟶ 77:
 
===การ์ตูน===
* จูล่ง (ถูกดัดแปลงเรื่องราวให้เป็นตัวละครนำในชื่อ เหลี่ยวหยวนหว่อ) เป็นตัวละครตัวสำคัญพระเอกร่วมกับสุมาอี้ ในการ์ตูนเรื่อง [[หงสาจอมราชันย์]] ผลงานการ์ตูนชื่อดังของเฉินเหมา
* ในการ์ตูน ''[[สามก๊ก มหาสนุก]]'' ผลงานการ์ตูนสามก๊กของ[[สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์]] ได้มีการกล่าวถึงจูล่งด้วยเช่นกัน