ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 94:
แต่ละกลไกที่เสนอมาสำหรับวงโคจรสุดขั้วของเซดนานี้อาจทิ้งร่องรอยที่แตกต่างกันบนโครงสร้างและพลวัตของกลุ่มประชากรใด ๆ ที่กว้างกว่า ถ้าวัตถุพ้นดาวเนปจูนมีส่วนเกี่ยวข้อง วัตถุเหล่านี้ควรมีจุดที่ใกล้ที่สุดในบริเวณเดียวกัน (ประมาณ 80 AU) ถ้าเซดนาถูกจับจากระบบดาวเคราะห์อื่นที่หมุนรอบในทิศทางเดียวกันกับระบบสุริยะ ประชากรทั้งหมดก็จะต้องมีวงโคจรที่เอียงน้อย และมี[[กึ่งแกนเอก]]อยู่ในช่วง 100–500 AU ถ้ามันหมุนรอบในทิศทางตรงข้าม ประชากรสองกลุ่มจะเกิดขึ้น ได้แก่กลุ่มที่วงโคจรเอียงน้อยและเอียงมาก การรบกวนจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมาอาจทำให้เกิดความหลากหลายในทั้งจุดที่ใกล้ที่สุดและความเอียงของวงโคจร ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและมุมที่ดาวดวงนั้นเข้ามา<ref name="sisters"/>
 
การได้รับตัวอย่างที่ใหญ่กว่าของวัตถุเหล่านี้อาจช่วยให้ตัดสินใจว่าสถานการณ์แบบใดที่เป็นไปได้มากที่สุด<ref name="Schwamb"/> "ผมเรียกเซดนาว่าเป็นฟอสซิลแห่งระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม" กล่าวโดยบราวน์ในปี 2549 "ในที่สุด เมื่อฟอสซิลอื่น ๆ ถูกค้นพบ เซดนาจะช่วยบอกกับพวกเราถึงวิธีการเกิดของดวงอาทิตย์และจำนวนดาวที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ครั้งตอนเกิด"<ref name="fussman"/> การสำรวจโดยบราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเมแกน ชวามบ์ ในปี 2550–2551 ได้พยายามที่จะระบุตำแหน่งของวัตถุกลุ่มสมมติของเซดนาชิ้นอื่น ๆ แม้ว่าการสำรวจนั้นจะจับได้ถึงการเคลื่อนที่ที่ห่างออกไปถึง 1,000 AU และค้นพบดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง {{mpl|2007 OR|10}} แต่ก็ไม่พบวัตถุเซดนอยด์ใหม่เลย<ref name="Schwamb" /> แบบจำลองต่อมาที่รวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ เข้าด้วยแล้วเสนอว่าอาจมีวัตถุขนาดเท่าเซดนาอยู่ประมาณ 40 ชิ้นในบริเวณนั้น โดยวัตถุที่มีความส่องสว่างที่สุดอาจประมาณความส่องสว่างของอีริส (–1.0)<ref name="Schwamb"/>
 
ในปี พ.ศ. 2557 นักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบ {{mpl|2012 VP|113}}<ref name="Trujillo2014"/> วัตถุขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของเซดนาในวงโคจรกว่า 4,200 ปีคล้ายกับวงโคจรของเซดนา และมีจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ภายในระยะของเซดนาที่ประมาณ 80 AU<ref name="jpldata 2012 VP113"/> ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่ามันอาจจะเป็นหลักฐานของดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน<ref name="Physorg"/>